ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์กฎหมายที่ยังเอื้อมไม่ถึง
เกือบ 2 ปีเต็มที่กฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 บังคับใช้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายในธุรกิจซอฟต์แวร์ฉุดรั้งให้ธุรกิจที่แทบหามูลค่าไม่ได้กลายเป็นธุรกิจที่ทำเม็ดเงินก้อนโต กลุ่มองค์กรซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ตบเท้าเข้าไทย เพิ่มพิทักษ์สิทธิ์แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลาเพียงแค่ช่วงสั้น ๆ เท่านั้น เมื่อตัวเลขซอฟต์แวร์ก๊อบปี้ไม่ลดลงร้านค้าซอฟแวร์เถื่อนบนห้างพันธุ์ทิพย์กยังมีขายกันดาษดื่น ไมโครซอฟท์ และผู้ค้าซอฟต์แวร์เริ่มออกอาการ หรือกฎหมายจะไม่ศักดิ์สิทธิ์เพียงพอ
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
ซอฟต์แวร์เกมชักธงรบ ไมโครซอฟท์ตีปีก
ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง ภายหลังจากกฎหมายลิขสิทธิ์ 2537 มีผลบังคับใช้
คือ การเข้ามาของกลุ่มแวเลียน พันธมิตรผู้ผลิตซอฟต์แวร์เกม
อย่างที่รู้ว่าตลาดซอฟต์แวร์เกมนั้นมีมูลค่ามหาศาลเพียงใด เรียกว่าแทบไม่มีพีซีเครื่องใดไม่มีซอฟต์แวร์เกมบรรจุอยู่ข้างใน
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
ไมโครซอฟท์ในศึกเน็ตเวิร์ก เลียนแบบ แล้วเข้าตีด้านหน้า
การปฏิวัติครั้งใหม่ในโลกคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยซัน ไมโครซิสเต็มส์ และเนตสเคป
ได้ทำให้เกิดการทำนายว่า ไมโครซอฟท์จะสูญเสียบัลลังก์ เนตสเคปจะแทนที่ไมโครซอฟท์
เครื่องลูกข่ายราคาถูกของซัน ไมโครซิสเต็มส์ จะกวาดเครื่องพีซีตกไปจากเวทีประวัติศาสตร์
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
ไมโครซอฟท์บนเส้นทางแห่งการปฏิวัติ
ไตรรัตน์ ใจสำราญ ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทลอจิก จำกัด ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายของ ซัน ไมโครวิสเต็มส์ กล่าวว่า "ถึงที่สุดไมโครซอฟท์ เขาก็จะต้องเดินตามแนวทางของซันเพราะถ้าเขาไม่เดินแนวทางนี้ เขาก็ตาย"
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
วินโดวส์ เอ็นที พิษสงจากวิทยาเขตไมโครซอฟท์
อเล็กซานเดอร์ร่ำไห้ เพราะไม่มีแผ่นดินให้พิชิตอีกต่อไปแล้ว คติเช่นนี้เชื่อว่า บิล เกตส์ ประธานไมโครซอฟท์ ถึงเคยได้ยิน ก็คงไม่อยากเก็บเอามาใส่ใจหรอก เพราะตลาดระบบเครือข่ายในองค์กร และอินเตอร์เน็ตกำลังเป็นเนื้อชิ้นใหญ่ที่ไมโครซอฟท์จะยอมให้หลุดมือไปไม่ได้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539)
ไมโครซอฟท์ ยุทธการยึดเรือรบสายอินทราเน็ต
แม้ไมโครซอฟท์ยังเป็นรองเนสเคปในเรื่องของอินเตอร์เน็ต เพราะการคาดการณ์ที่ผิดพลาด ปล่อยให้เนสเคปครองส่วนแบ่งตลาดเบราเซอร์ โปรแกรมช่วยในการดูข้อมูลในอินเตอร์เน็ตไปมากกว่า 80% แต่หลังจากรู้ว่าพลาดท่าไปแล้ว ไมโครซอฟท์ก็หันหัวเรือเข้าสู่เส้นทางของอภิมหาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้ทันทีไมโครซอฟท์ ประกาศว่า ภายในสิ้นปีนี้ ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ ทั้งหมดจะผูกติดอยู่กับอินเตอร์เน็ตทั้งหมด
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539)
"บิลล์ เกตต์ VS รัฐบาลสหรัฐฯ คู่ชกสมน้ำสมเนื้อ"
ใคร ๆ ก็รู้ดีว่าไมโครซอฟต์ของบิลลี่ เกตต์ คือบริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากการเป็นผู้ผลิตและเจ้าของระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า
MS-DOS และ WINDOW หัวใจของระบบปฏิบัติการในเครื่องคอมพิวเตอร์ กว่าล้านเครื่องทั่วโลก
แต่ความยิ่งใหญ่ของไมโครซอฟต์เปรียบเสมือนดาบ 2 คมที่พร้อมบาดมือเจ้าของได้ทุกเวลายามพลั้งเผลอ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2537)
"บิ๊กกรีน-บิลล์ เกตส์ บนเส้นทางอินโฟ-ไฮเวย์"
นับตั้งแต่บริษัทไอบีเอ็มเริ่มผลิตคอมพิวเตอร์เพื่อการพาณิชย์เป็นครั้งแรกในปี
ค.ศ. 1953 การพัฒนาตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ดำเนินสืบต่อมาเป็นลำดับ ทำให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
มีขนาดเล็กลง และราคาถูกลงไปเรื่อย ๆ คอมพิวเตอร์สามารถเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานได้
แม้กระทั่งงานด้านศิลปะ อย่างเช่นจิตรกรรม
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537)
"การปฏิวัติครั้งใหม่ในวงการคอมพิวเตอร์"
หลังจากถือกำเนิดขึ้น และผ่านการพัฒนามา 20 ปี ไมโครโปรเซสเซอร์ หรือ "คอมพิวเตอร์บนแผ่นชิพ"
ซึ่งเป็นแผ่นซิลิคอนขนาดพอๆ กับเล็บหัวแม่มือ ก็กำลังก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหม่ในวงการคอมพิวเตอร์
เพราะบัดนี้มันทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) มีกำลังทำงานพอๆ
กับเครื่องใหญ่ขนาดเมนเฟรมแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2536)
"ใครเป็นใครในโลกคอมพิวเตอร์แห่งอนาคต"
แม้ว่าตลาดสินค้าคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ในระบบดิจิตอลจะเพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน
ทว่า แนวโน้มการแข่งขันสนามธุรกิจแห่งนี้มีแต่จะเข้มข้นขึ้นทุกขณะ พร้อมกับที่ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ต่างมุ่งมั่นหาทางย่นย่อขนาดของสินค้าให้เล็กลงเพื่อความสะดวกในการใช้งาน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2535)