JAK-KA-JEE CLUB
เย็นวันหนึ่งลูกชายวัย (มหา) ซน ถือถุงเค้กเล็กๆ ของ S&P มายื่นให้แล้วบอกว่า "วันนี้ภามกับเพื่อนทุกคนในห้องได้เรียนแต่งหน้าเค้ก สนุกมากๆ" เป็นกลยุทธ์ด้านการตลาดอย่างหนึ่งของ S&P ที่ไม่ว่าผู้บริหารจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่ได้ทำให้ชื่อนี้เป็นที่รู้จักและสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับเด็กๆ ซึ่งก็สอดคล้องกับวิธีคิดในการเริ่มทำกิจการนี้เมื่อ 31 ปีก่อน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2547)
S&P ผนึกกำลังสร้าง Brand
บริษัทเอสแอนด์พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
เป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จมาตลอดระยะเวลา
28 ปี และกลายเป็นตัวแทนวัฒนธรรม
ด้านอาหารไทยที่เดินทางขยายสาขา
ไปต่างประเทศมานานนับ 10 ปี
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544)
ภัทรา ศิลาอ่อน พี่ใหญ่แห่ง S&P
ภัทรา (ไรวา) ศิลาอ่อน ศรีภรรยาของอมเรศ
ศิลาอ่อน อดีตกรรมการผู้จัดการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.)
ที่โด่งดัง มีตำนานความรักอันน่า ประทับใจว่า เจอกันเจ็ดวันขอ สามเดือนหมั้น
หกเดือนแต่ง แต่ครองคู่ยืนยาวมาจนถึง 32 ปีเข้าแล้ว โดยมีลูกชาย 3 คน คือ
วิฑูร กำธร และพรวิช
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544)
เอสแอนด์พี กับธุรกิจที่เลิกไม่ได้
ไม่เพียงเฉพาะธุรกิจภัตตาคาร อาหาร ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ แฟรนไชซิ่ง การลงทุนเปิดร้านอาหาร
ในต่างประเทศ ธุรกิจค้าส่ง ปลีก ของ บมจ.เอสแอนด์พี ซินดิเคท (S&P) เท่านั้นที่เปิดดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน
แต่เอสแอนด์พียังมีธุรกิจอีกอย่างหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
แม้ว่าจะไม่โด่งดังหรือทำรายได้ให้กับบริษัทมากนัก นั่นคือ ธุรกิจจัดเลี้ยงนอกสถานที่
หรือ Catering Service ที่บริษัทพร้อมจะให้บริการไม่ว่าจะเป็นลูกค้าต้องการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์
งานเลี้ยงสัมมนาต่างๆ
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542)
"ทายาท S&P "พรวิช ศิลาอ่อน" เติมเต็มประสบการณ์ด้วยงานราชการ"
กระแสการไหลย่าเข้าสู่ภาคราชการของคนในวัยทำงานนับวันจะมีมากขึ้น แต่ด้วยเหตุผลเพื่อความมั่นคง
และสวัสดิการต่าง ๆ ที่อาจจะไม่สามารถรับภาระในยามฉุกเฉิน อาทิ ค่ารักษาพยาบาลฟรีในโรงพยาบาลของรัฐเป็นต้น
แต่หากเป็นทายาทของเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ เช่น 'พรวิช ศิลาอ่อน' ทายาทของอมเรศและภัทรา
ศิลาอ่อน เจ้าของธุรกิจ ร้านอาหารชื่อดังอย่างเอสแอนด์พี ที่เข้ามาในวงการราชการ
เพียงเพื่อรับเงินเดือนตามวุฒิไม่กี่พันบาท ก็คงจะมีข้อสงสัยกันบ้างว่า เพราะอะไร
ทำไม
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
อาร์บี้ส์-แดรี่ควีน ต่อให้แฟรนไชส์ชื่อดังก็มีจุดจบ
ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่า แดรี่ควีนและอาร์บี้ส์ฟาสต์ฟูดประเภทเยอร์เกอร์ชื่อดังจากอเมริกามีประวัติศาสตร์และความเป็นมาหลายๆ อย่างที่คล้ายคลึงกัน เริ่มตั้งแต่มีการเปลี่ยนมือของเจ้าของแฟรนไชส์ในเมืองไทย
เพราะเจ้าของแรกไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน ที่สำคัญฟาสต์ฟูด 2 รายยังมีจุดจบที่เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน
นั่นคือการเลิกกิจการเมื่อปี 2537 ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538)
"ตลาดไอสครีมร้อนเพราะเอสแอนด์พี"
การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่ง หันมาสนใจการบริโภคสิ่งที่เคยถูกมองว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยตัวอย่างของร้านอาหารประเภทฟ้าสต์ฟู้ดจากตะวันตก ที่เข้ามาเปิดใหม่หรือขยายสาขาเพิ่มได้กลายเป็นดัชนีอย่างหนึ่งสำหรับคนไทย โดยเฉพาะในเมืองกรุงว่ากำลังอยู่ในช่วงพัฒนาแค่ไหน?
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2537)
S&P บนความสำเร็จ สิ่งที่พี่น้อง "ไรวา" มองเห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น !
"…ธุรกิจร้านอาหารดูจะเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ที่เรามักคุ้นกันอยู่ แต่การทำร้านอาหารให้รุ่งเรือง
ขยายสาขาไปทั่วบ้านทั่วเมือง จนไกลไปถึงต่างแดน อย่างเอสแอนด์พีนั้น คงไม่ใช่เรื่องที่หลับหูหลับตาทำกันได้ง่ายอย่างที่คิด พี่น้อง "ไรวา" เขาบริหารกันอย่างไรจึงประสบผลสำเร็จมากเช่นนี้…"
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2532)
สิ่งที่ "ไรวา" เหลืออยู่
สุริยน ไรวา นั้นโด่งดังและมีธุรกิจมากมายในขณะที่ลูก ๆ ของเขายังเล็กมาก
บางคนกำลังเรียนอยู่ต่างประเทศ โอกาสที่สุริยนจะเทรนลูก ๆ ขึ้นมารับช่วงต่อจากเขาแทบจะไม่มีเลย
ครั้นพวกเขาเริ่มโตพอที่จะช่วยทำธุรกิจ สุริยนก็เกิดตายกระทันหัน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2530)