Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article Photo

industry
company
a - e
f - l
m - r
s - z
ก - ง
จ - ฌ
ญ - ฑ
ฒ - ถ
ท - ป
ผ - ภ
ม - ว
ศ - ฮ
0 - 9

people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ9  
ผู้จัดการรายวัน2  
Total 11  

Listed Company
Manager Lists
 
Company > องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน - ปรส.


นิตยสารผู้จัดการ (1 - 9 of 9 items)
กรรมเก่า ว่ากันว่าเรื่องร้ายๆ มักจะมาตอนที่ไม่ทันตั้งตัว วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ ก็คงอยู่ในข่ายนี้ด้วยเหมือนกัน เพราะระหว่างที่ผู้คนในสังคมต่างเฝ้ารอการตรวจสอบและดำเนินคดีกับอดีตผู้มีอำนาจและผู้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลชุดก่อนชนิดตาแทบไม่กะพริบ อยู่ๆ กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ก็ไปขุดเอาเรื่องราวขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เมื่อเกือบ 10 ปีก่อนมาสะสาง โดยการออกหมายเรียกวิชรัตน์ ในฐานะอดีตเลขาธิการ ปรส.มารับทราบข้อกล่าวหาชนิดที่ไม่มีเค้าลางมาก่อน เปรียบเหมือนฟ้าผ่ากลางแดดยังไงยังงั้น(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550)
ปรส. ในท่ามกลางข่าวโจมตี ปรส.ที่หนักหน่วงขึ้นทุกวันนั้น มีความซับซ้อนของข้อมูลหลายชั้นที่ผู้อ่านต้องใช้วิจารณญาณอย่างมากเพื่อหาคำตอบให้ตัวเอง จุดยืนของปรส.ก็อย่างหนึ่ง และจุดยืนของผู้กล่าวหาวิจารณ์ก็เป็นแบบหนึ่ง คำตอบหลายอันไม่ได้อยู่ในเอกสารการอธิบายของปรส.และมีอีกหลายอันที่ปรส.ไม่อยากพูดถึง รวมทั้งคำวิจารณ์หลายอันปรส.ก็ไม่จำเป็นต้อง(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542)
ดร.มนตรี เจนวิทย์การ "ชินแล้วกับการถูกโจมตี" สืบเนื่องจากผลการประมูลพอร์ต สินเชื่อของ 56 สถาบันการเงินรอบแรก เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ปีที่ผ่านมา ทำให้ ปรส.ในสายตาของประชาชนยิ่งมีภาพลักษณ์เลวร้ายมากขึ้น แต่เวลา 1 เดือนที่ผ่านไป ดูเหมือนจะทำให้ปรส.ตั้งหลักได้ และพยายามที่จะออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ ให้มากขึ้นกว่าเดิม(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542)
ให้ปรส.พูด ดร.มนตรี เจนวิทย์การ รักษาการเลขาธิการ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการรายเดือน" ก่อนที่ จะมีการเปิดเนื้อใน ปรส.และตามมาด้วยการชี้แจงข้อเท็จจริงของ ปรส. หลังจากที่โดนสื่อมวลชนและหลายๆ ฝ่าย โจมตีวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของปรส.กันอย่างมาก ทั้งนี้ผู้ที่มีใจเป็นธรรมก็ควรฟังความรอบข้าง เพื่อใช้วิจารณญาณได้อย่างถูกต้อง(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542)
เมื่ออมเรศ ยอมรับ "ผมพลาดเอง" งานของปรส.ก็ล้มเหลว อมเรศ ศิลาอ่อน มักมีท่าที และคำพูดที่แข็งกร้าวแสดงถึงความ เชื่อมั่นในการกระทำของตนเองมากที่สุดมาโดยตลอด นับตั้งแต่การเข้ามาทำงานเพื่อชาติด้วยการรับตำแหน่ง ประธานกรรมการ องค์การ เพื่อการปฎิรูประบบสถาบันการเงินหรือปรส. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระเพื่อดำเนินการขายสินทรัพย์ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทั้ง 56 แห่งที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ นำเงินที่ได้ไปใช้หนี้ให้เจ้าหนี้ของกิจการเหล่านี้(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2542)
ประมูลครั้งแรก ปรส.ยังขายไม่ได้อีกเพียบ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2541ที่ผ่านมานั้น ปรส.ได้นำเอาอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดมาจาก 56 ไฟแนนซ์เน่าออกมาประมูลขายเป็นครั้งแรก รวมทั้งสิ้น 319 รายการ มูลค่าตามราคาเริ่มต้นประมาณ 3,800 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาเริ่มต้นที่ยอมรับว่าต่ำมาก เพื่อจูงใจให้มีผู้เข้าร่วมประมูล ในขณะเดียวกันมูลค่าทางบัญชีทรัพย์สินพวกนี้ ปรส.เคยให้ข่าวไว้ว่าประมาณ 10,000 ล้านบาท ในขณะที่ราคากลางถูกประเมินไว้ที่ประมาณ 3-4 พันล้านบาท(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2541)
LEHMAN BROTHERS เลแมน บราเดอร์ส ว่าด้วยเรื่องปรส. ปริศนาที่ยังคาใจ จากที่ไม่มีใครสนใจอยากจะรู้จัก แต่มาวันนี้ชื่อของเลแมน บราเดอร์ส กลายเป็นที่กล่าวขวัญถึงนับจากวันที่ชนะการประมูลพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก ปรส. เพราะอีกภาคหนึ่งสวมหัวโขนเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วย งานแห่งนี้ คำถามทั้งหลายจึงพรั่งพรูออกมาถึงความโปร่งใสในการใช้ข้อมูลภายในและลามไปถึง ปรส. เกี่ยวกับการเปิดเผยรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมประมูลในพอร์ตนั้น และยิ่งเหมือนเป็นการตอกย้ำเมื่อเลแมนยืนยัน เข้าร่วมประมูลสินทรัพย์หลัก ปรส. 4.6 แสนล้านบาท คำเฉลยที่ยังไม่กระจ่างชัดได้กลายเป็นปริศนาคาใจของคนไทยจนถึงบัดนี้ (นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2541)
สินเชื่อที่อยู่อาศัย 24,000 ล้านบาท ปรส.ประมูลขายกลุ่มเดียว วันเดียว วันวันที่ 30 กรกฎาคม 2541 ปรส. จะปิดรับซองประมูลสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งประกอบไปด้วยสัญญาสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงิน 53 แห่ง จำนวน 17,620 สัญญาโดย จัดจำหน่ายเพียงกลุ่มเดียว มียอดลูกหนี้คงค้าง ประมาณ 24,400 ล้าน บาท ซึ่งเป็นยอดที่ได้รับการบันทึกสิ้นสุดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2541(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2541)
ปรส.โชว์ฝีมือ ตรงแนว IMF การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติเศรษฐกิจไทย ก้าวล่วงมาสู่ช่วงที่สามของกระบวนการคือการขายทรัพย์สิน ผลงานของ ปรส. หรือคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2541)

Page: 1





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us