In the name of Mother
ในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่ง หากสามารถเป็นแม่ที่ดีได้สำเร็จ ก็ถือได้ว่าคนคนนั้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ชีวิตของ "พรพรรณ ก่อนันทเกียรติ" หรือ "คุณม่อน" มีชีวิตเหมือน Drama
จากกำเนิดเป็นลูกสาวเจ้าสัว ถาวร พรประภา และเป็นภรรยาดำริห์ ก่อนันทเกียรติ
กับแม่ของลูก 4 คน
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546)
จุดตายของยูนิคอร์ด ยุคดำริห์
การสิ้นชีวิตของดำริห์ ก่อนันทเกียรติ คือจุดจบของการเริ่มต้นใหม่ ของบริษัทยูนิคอร์ด
ซึ่งทิ้งไว้เพียงตำนานอันยิ่งใหญ่ของการเทกโอเวอร์ บริษัททูน่ากระป๋องยักษ์ใหญ่อย่างบริษัทบัมเบิ้ล
บี ซีฟู้ดส์ ได้สำเร็จเมื่อปี 2532
ยูนิคอร์ดเป็นหนึ่งในห้าบริษัทที่เข้าร่วมประมูลช่วงชิงความเป็นเจ้าของ บริษัทบัมเบิ้ล
บี โดยพิชิตคู่แข่งยักษ์ใหญ่อย่างมิตซูบิชิจากญี่ปุ่นซึ่งพร้อมกว่าทุกด้าน
ด้วยราคา 269 ล้านเหรียญสหรัฐ
(บทความจาก อ่านวิกฤตเพื่อโอกาสใหม่. หนังสือเล่มโครงการ Manager Classic ตุลาคม 2544)
โอกาสรอด 'ยูนิคอร์ด' เมื่อ ดำริห์ ก่อนันทเกียรติ รับผิดชอบด้วยชีวิต
หลังการตายของดำริห์ หลายคนอาจเข้าใจว่า อนาคตของยูนิคอร์ด ยิ่งดูมืดมนหนักขึ้น
แต่ในทางตรงข้ามน่าจะเป็นการฉุดให้สถานการณ์ที่เข้าตาจนกลับมีหนทางอีกครั้ง
ดำริห์หวังเพียงแค่นี้เพื่อให้ยูนิคอร์ดอาณาจักรที่สร้างมาด้วยมือตนเองยังพอมีทางออกอยู่บ้าง
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
กำจร สถิรกุล " พอพลาดก็มีแต่คนทับถม"
" ดำริห์เป็นนักสุ้และมองการณ์ไกล การไปซื้อบัมเบิ้ลบี ก็เพือ่สร้างฐานการตลาดของยูนิคิร์ด เขาพยายามหาคนมาช่วยอย่างผมนี่ ดำริห์เขาไปเชิญด้วยตัวเองที่บ้าน แต่ทีนี้พอมีปัญหาแทนที่รัฐบาล หรือสถาบันการเงินในประเทศเราจะช่วยดูแลเหมือนประเทศเกาหลีที่ช่วยกันยึดพื้นที่ ก็มีเดียงใบประกาศเกียรติคุณปลอบใจเฉย ๆ พอเขาพลาดก็ไม่มีใครช่วยและมีแต่ทับถมๆ
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
ชาตรี โสภณพนิช "แบงก์ไม่เคยคาดคั้นเลยว่าจะต้องให้มาชำระเงิน"
"ผมรู้จักกับดำริห์มา 20 กว่าปีแล้ว ซ่งพ่อผมกับพ่อเขาก็รู้จักกันมาก่อน เรื่องที่กิดขึนนี้ผมเสียใจมาก ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นน่าจะค่อย ๆ แก้ไขไป ไม่น่าจะเอาชีวิตตัวเองเข้าไปแลกเพระาโดยปกติดำริห์เขาเป็นคนกล้าหาญและสู้งานนะ" นี่คือ คำกล่าวของชาตรี โสสภณพนิช
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
สุพจน์ ทรัพย์ทวีชัยกุล "ผมอยากให้รัฐบาลช่วยภาคเอกชน"
สำหรับสุพจน์ ทรัพย์ทวีชัยกุล อดีตผู้จัดการใหญ่ของเบทาโกที่เห็นดำริห์ตั้งแต่สมัยหิ้วกระเป๋าเรียนอยู่ที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และเมื่อจบปริญญาตรีเกียรติยมจากคณะวิศวกรรม จุฬาฯก็เข้ามาฝึกงานทำงานกับเขากว่าสิบปี ที่บริษัทเบทาโกร ซึ่งบิดาดำริห์ผู้ถืหุ้นใหญ่ร่วมก่อตั้งกิจการตั้งแต่ปี 2510
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
ดำริห์ ก่อนนันทเกียรติ ในสายตาของขุนทอง ลอเสรีวานิช
ผมพบดำริห์ ก่อนันทเกียรติ เป็นครั้งแรกเมื่อเกือบ ๆ 6 ปีที่แล้ว ตอนนั้นบริษัทยูนิคอร์ดซึ่งยังไม่ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
เพิ่งเข้าซื้อบัมเบิ้ลบี ซีฟู้ดส์ มาไว่ในครอบครองได้ใหม่ ๆ และยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากเท่าไรนัก
รู้กันเพียงว่าเป็นผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
" ดำริห์" ยอมยกธงขาว อนาคตยูนิคอร์ตจะดีขึ้น?
การปรากฏเป็นข่าว เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พร้อมด้วยการชี้แจงจากยูนิคอร์ด
ถึงการคลี่คลายวิกฤต ด้วยการปลดเปลื้องหนี้สินที่ก่อขึ้นจากผลกำดำเนินงานภายใต้บับเบิ้ลบี
ซีฟู้ดส์ ที่ทำให้คิดไปว่ายูนิคอร์ด จะสามารถฟื้นสถานการณ์จากที่เลวร้ายมากมาก
กลับมาหายใจโล่งอกและมีอนาคตได้อีก
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2538)
"ตำนานยูนิคอร์ด"
ยูนิคอร์ดในยุคแรก ๆ นั้นไม่ได้เริ่มต้นด้วยปลาทูน่ากระป๋อง แต่เป็นโรงงานทำสับปะรดกระป๋อง ตามความถนัดของกมลและเกียรติ เอี่ยมสกุลรัตน์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง โดยทั้งสองคนนี้มีโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋องอยู่ก่อนแล้วที่บ้านบึง ชลบุรี
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2536)
ยูนิคอร์ด กว่าจะถึงปลายทาง
ดำริห์ ก่อนันทเกียรติ ประธานผู้อำนวยการบริหารของยูนิคอร์ดและบัมเบิ้ล
บี เขาเริ่มต้นด้วยการมองเห็นความจำเป็นของการพึ่งตัวเองทางการตลาด แล้วตัดสินใจเดินหน้าด้วยทีมงานมือดี
การวางแผนอย่างรอบคอบและการเลือกที่ถูกต้อง จนความตั้งใจกลายเป็นจริง
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2533)