พรเทพ พรประภา "ผมไม่เชื่อตึกแสด -ดำ มีอาถรรพ์"
"ผมเป็นพี่เขยของคุณดำริห์ แต่เขาไม่เคยปรับทุกข์กับผมเขาทำงานอยู่ชั้น
5 ผมอยู่บนชั้น 4 แต่คนละตึกกัน ใคร ๆ บอกว่าตึกแสด-ดำมีอาถรรพ์ ผมไม่ค่อยสนที่ว่าฮวงจุ้ยที่นั่นไม่ดี
ผมจะสร้างตึงสยามกลการสูง 10 ชั้น ที่ติดกับตึกยูนิคอร์ดอีก ผมจะทาสีนิสสันคือ
แดง ขาว นำเงิน แล้วลองดูสิว่า ถ้าผมล้มเมื่อไหร่ ค่อยเขียนถึงผม"
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
สยามยามาฮ่าจบแบบพี่น้อง ไม่เสียหายแต่ "เสียความรู้สึก"
ข่าวการประนีประนอมกันระหว่างกลุ่มเคพีเอ็นของเกษมและคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช กับพรเทพ พรประภา ผู้บริหารของสยามกลการในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่สยามยามาฮ่าเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2538 ซึ่งมีนายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ผลลัพธ์ก็คือ กลุ่มเคพีเอ็นยอมตกลงซื้อหุ้นในบริษัท สยามยามาฮ่า จำนวน 67.78% จากสยามกลการ และ 16.09% จากดร.ถาวร พรประภา ในราคาร1,217 ล้านบาท และ 289 ล้านบาท ตามลำดับ
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2538)
ยามาฮ่ากลัว "พรเทพ"ผู้ขายทุกอย่างที่ขวางหน้า ?
ทำไมยามาฮ่าไม่ต่อสัญญาความร่วมมือทางเทคนิคกับสยามยามาฮ่า ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยสยามกลการ
หรือพูดง่ายๆ ทำไมยามาฮ่า มอเตอร์ ไม่เลือกสยามกลการซึ่งเป็นคู่ค้าเก่าแก่กันมานานกว่า
30 ปี ดูเหมือนจะเป็นคำถามที่ทุกฝ่ายพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึง หรือหากจะตอบก็ตอบแบบเลี่ยงๆ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
"พรเทพ พรประภา คนสานฝัน (คนใหม่) ของถาวร"
พรเทพ พรประภา ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ แทนคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช
ที่เลื่อนชั้นขึ้นเป็นรองประธานกรรมการ บริษัทสยามกลการ ตามคำสั่งลงวันที่
4 ตุลาคม 2536 ลงนามโดยถาวร พรประภา ประธานกิติมศักดิ์ ผู้ก่อตั้งสยามกลการ
ดูเหมือนจะเป็นการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในบริษัทได้ดี
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2536)