"นิตยา วิรัชพันธ์ ผู้เปิดฉาก "ไพรเวทแบงกิ้ง"
ด้วยกลยุทธ์ง่าย ๆ "นิตยา วิรัชพันธุ์" สามารถฉ้อโกงแบงก์กรุงเทพมาได้เป็นเงินถึง
266 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ เพียงแต่นิตยานั่งทำงานในส่วนที่ไม่ธรรมดา "ไพรเวทแบงกิ้ง"
เป็นธุรกิจที่เป็นหน้าเป็นตาของแบงก์กรุงเทพและเป็นการันตีแห่งความน่าเชื่อถือในตัวนิตยา
มาวันนี้นิตยาปิด "ธนาคารส่วนตัว" ของเธอพร้อมกับทำลายความน่าเชื่อถือของไพรเวทแบงกิ้งอย่างยับเยิน
นิตยาเป็นใคร เธอทำได้อย่างไร เงินหายไปไหน? ตั๋วบี/อีปลอมระบาดไปแค่ไหน?
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)
"ไพรเวท แบงกิ้ง ทำไมหละหลวมถึงขนาดนี้ ?"
"ทำไมนิตยาจึงโกงได้บ่อย ๆ เป็นปี แสดงว่าระบบการตรวจสอบไม่ชัดเจนทั้ง ๆ ที่เรื่องโกงนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2536 คือตั๋วบี/อีของลูกค้ารายหนึ่งเริ่มมีปัญหา แต่ลูกค้าซึ่งเป็นคุณยายรายนั้นไม่ไหวตัว เพราะยังได้รับดอกเบี้ยตามสัญญาทุกเดือนจนกระทั่งแกมารู้จากหนังสือพิมพ์เจอประกาศแจ้งจับ แกจึงมาร่วมแจ้งความด้วย นั่นแสดงว่าถ้าคุณนิตยาหมุนเงินได้ทันเรื่องก็ไม่แดงออกมาและเรื่องนี้อย่าให้คิดเลยว่าจะเสียหายมากมายกว่านี้สักแค่ไหน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)
"จินดา จรุงเจริญเวชช์ เมื่อนางสิงห์ต้องสะอื้น"
จินดา จรุงเจริญเวชช์หรือ "พี่เตี้ย" สำหรับน้อง ๆ ถือเป็นผู้หญิงที่ทำงานเก่งมาก ๆ อีกคนหนึ่ง เธออาจเป็นผู้หญิงเหล็กที่ทำงานราวผู้ชายอกสามศอก อยู่ระดับแถวหน้าของแบงก์กรุงเทพที่สามารถสร้างธุรกรรมแนวใหม่ที่ให้บริการคนรวยได้มาก ๆ จนกระทั่งสามารถระดมเงินฝากให้แบงก์ได้สูงที่สุดคนหนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)
"สุรพงษ์ ใจงาม เบื้องหลังแห่ง "ธนาคารส่วนตัว"
สุพงษ์ ใจงามมีความฝันที่จะสร้างเมืองขึ้นที่ปราณบุรี เมื่อผนึกกับวิธีระดมทุนแบบของนิตยา
วิรัชพันธุ์ โครงการจึงวิ่งฉิว แต่ความฝันต้องพังทลาย ปราณบุรีพร๊อพเพอร์ตี้ปิดเงียบมากกว่า
3 เดือน สุรพงษ์ตกเป็นจำเลยร่วมกับนิตยา จริงหรือเงินทั้งหมดมาอยู่ที่โครงการแห่งนี้
เขาอาจบริสุทธิ์และไม่เกี่ยวกับการกระทำของนิตยา เช่นเดียวกับที่แบงก์กรุงเทพไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เกิดขึ้น
แต่โครงการพันไร่ที่ปราณบุรีจะไปข้างหน้าต่ออย่างไร?
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)