"อดิศัย โพธารามิก ถึงเวลาต้องกลับสู่จุดเริ่มต้น"
อดิศัย โพธารามิกได้ชื่อว่ามีความพร้อมในยุทธภูมิธุรกิจสื่อสารมากที่สุดผู้หนึ่ง
ความเป็นดีลเมกเกอร์ชั้นเยี่ยม คือที่มาของโครงการโทรศัพท์ต่างจังหวัด 1.5
ล้านเลขหมายและทำให้จัสมินโตแบบก้าวกระโดดกลายเป็นหนึ่งในบิ๊กสื่อสาร แต่แล้วผลงานชิ้นโบแดงในอดีตกำลังกลายเป็นยาขม
การลงทุนที่มีอย่างต่อเนื่องทำให้อดิศัยตัดสินใจกลับสู่ยุทธศาสตร์เดิม เพื่อเดิมพันอนาคตอีกครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
"ไวท์กรุ๊ป" จุดตำนานของจัสมิน
ที่จริงแล้วจุดเริ่มต้นของบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ของอดิศัยที่ใช้ชีวิตการเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน ที่ชื่อสยามเทลเทค ในเครือไวท์กรุ๊ป
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
"ชาเลนเจอร์ ความสำราญบนฟากฟ้า"
ชาเลนเจอร์ เครื่องบินเจ็ทขนาด 19 ที่นั่ง ราคา 800 กว่าล้านบาท ที่อดิศัยซื้อมาครอบครองในนามส่วนตัว
ในช่วงที่จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล และทีทีแอนด์ทีเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ไม่นานและราคาหุ้นยังขึ้นดีอยู่
เครื่องบินลำนี้ นับเป็นผลิตผลมาจากกลยุทธ์ในการขยายไปทำธุรกิจต่างแดน
ซึ่งอดิศัยต้องบินไปบินมาเป็นประจำ
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
ติดโทร 4.1 ล้านเลขหมายเสร็จแค่จุดสตาร์ทของทีเอและทีทีแอนด์ที
แม้ว่าเทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือทีเอ และไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น
จำกัด หรือทีทีแอนด์ที จะสามารถส่งมอบโทรศัพท์จำนวน 4.1 ล้านเลขหมายได้ทันตามกำหนดที่
ทศท. ขีดเส้นตายเอาไว้ในวันที่ 30 กันยายน 2539 ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้หมายความว่า
ภารกิจของทั้งทีเอและทีทีแอนด์ทีจะสิ้นสุด แต่กลับเป็นเพียงแค่การเริ่มต้นเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539)
จัสมินรับเนื้อ ๆ ผลประโยชน์โตตามเงา TT&T
หลายคนเคยตั้งคำถามว่า ใครจะได้ประโยชน์สูงสุดจากโครงการโทรศัพท์ 1 ล้านเลขมายระหว่างผู้ถือหุ้นทั้งหมดนี้ แน่นอนว่าผู้ถือหุ้นทุกรายได้จะผลประโยชน์ในด้านรายได้จากส่วนแบ่ง ของการเป็นเจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์หลังจากแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนให้กับ ทศท. แล้ว รวมถึงธุรกิจบริการเสริมที่จะเกิดขึ้นจากโครงการโทรศัพท์
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539)