"บ้านสวนริมน้ำ" บทพิสูจน์ครั้งสำคัญของแปลนกรุ๊ป"
โครงการบ้านสวนริมคลอง เจ้าพระยา-บางปะอิน เป็นความท้าทายตลาดครั้งใหญ่อีกครั้งของแปลนกรุ๊ป
พร้อมๆ กับคำถามที่ว่าบ้านสวนซึ่งเป็นเอกลักษณ์และจุดขายของกลุ่มแปลนมาตลอดนั้นยังขายได้หรือไม่
? เมื่อวันที่ 29-30 มีนาคม 2540 ที่ผ่านมา แปลนกรุ๊ปได้จัดงาน "เยือนเรือนไม้ริมน้ำ
สังสรรค์ความฝันมีชีวิต" ขึ้นที่โครงการบ้านสวนริมคลองของเจ้าพระยา
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)
"แปลนกรุ๊ป การเดินทางบนความขัดแย้ง"
'แปลนกรุ๊ป' กำลังเติบใหญ่ การเกิดขึ้นของบ้านสวนริมคลองที่บางปะอิน เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของแปลน
แต่ขณะเดียวกันแปลนก็ตั้งคำถามกับตัวเองมากยิ่งขึ้น ระหว่างความเป็น 'นักกิจกรรม'
กับ 'นักธุรกิจ' ยังเดินไปด้วยกันได้หรือไม่? บ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของแปลนยังขายได้หรือ
ลูกค้าในอุดมคติของแปลนมีมากมายขนาดไหน สถาปนิกของแปลนถูกคำว่า "ตลาด"
กดดันมากน้อยเพียงใด คนรุ่นใหม่ของแปลนจะเผชิญความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเหล่านี้อย่างไร?
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539)
"ตำนานของคน 7 คน กับ "แปลน" ที่เปลี่ยนไปแล้ว"
ประวัติศาสตร์ทางการเมืองเมื่อช่วงปี 2516 ก่อให้เกิดผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแปลนกรุ๊ป บริษัทที่มีวัตถุประสงค์ให้ธุรกิจของตนดำเนินไปพร้อม ๆ กับการทำกิจกรรมเพื่อสังคม 7 ผู้เริ่มก่อตั้งประกอบไปด้วยวิฑูรย์ วิระพรสวรรค์ ครองศักดิ์ จุฬามรกต ธีรพล นิยม อำพล กีรติบำรุงพงศ์ เดชา สุทธินนท์ สันติพงษ์ ธรรมธำรง และพิมาย วิระพรสวรรค์
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539)
"ไปปลูกกล้วยในสวนของ 'ผู้ถือหุ้นใหญ่' กันเถอะ"
บทเพลงเพื่อชีวิต "คนสร้างบ้าน" ดังกระหึ่มขึ้นในองค์กรของแปลนมาตั้งแต่ประมาณปลายปี 2531 พร้อม ๆ กับการเกิดกิจกรรมค่ายอาสาสมัครขึ้น ภายใต้ชื่อโครงการ "แปลนอาสา" โครงการนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ภาคใต้ กิจกรรมค่ายที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นคือ การไปออกค่ายสร้างโรงเรียนวัดจันทร์ ที่อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปสร้างโรงเรียนวัดดอนกุฎี ที่อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539)
ธีรพล นิยม "แปลนกรุ๊ป" ธุรกิจคนหนุ่มที่ไม่หยุดนิ่ง
ธุรกิจสถาปนิกเดินหน้าด้วย "ไอเดีย" จุดเริ่มต้นไม่จำเป็นต้องมีเงินลงทุน
แปลนอาคิเตคเริ่มต้นด้วยมันสมองของคน 7 คนรวมกัน ค่อย ๆ สะสมทุนจากไม่มีเลย
จนถึงวันนี้ธุรกิจของพวกเขามีสินทรัพย์แล้วประมาณ 50 ล้านบาท ท่ามกลางการขยายธุรกิจออกไปหลายแขนงอันเกี่ยวข้องกับการออกแบบ
และสิ่งสวย ๆ งาม ๆ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2529)