Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article Profile Photo

industry
company
people
a - e
f - l
m - r
s - z
ก - ง
จ - ฌ
ญ - ฑ
ฒ - ถ
ท - ป
ผ - ภ
ม - ว
ศ - ฮ
0 - 9

internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ24  
Positioning8  
ผู้จัดการรายวัน32  
ผู้จัดการรายสัปดาห์7  
Total 64  

Listed Company
Manager Lists
 
People > เจริญ สิริวัฒนภักดี


นิตยสารผู้จัดการ (11 - 20 of 24 items)
เจริญ สิริวัฒนภักดี นักซื้อที่แท้จริง เจริญ ศรีสมบูรณานนท์ เปลี่ยนนามสกุลเป็น "สิริวัฒนภักดี " เมื่อปี 2530 เดิมชื่อจีนว่า "เคียกเม้ง แซ่โซว " เกิดเมื่อ 2 พฤษภาคม 2487 ที่ย่านทรงวาดซึ่งเตี่ยขายหอยทอดหาเลี้ยงลูก 11 คน เจริญใช้เวลา 8 ปีเรียนจบ ป.4 ที่โรงเรียนเผยอิง บุคลิกอ่อน น้อมถ่อมตน มีไหวพริบทางการค้า(บทความจาก เจ้าพ่อ. หนังสือเล่มโครงการ Manager Classic กรกฎาคม 2545)
เบื้องหลังเฟิร์ส แปซิฟิคขายเบอร์ลี่ฯ เกมจบที่เจริญ สิริวัฒนภักดี ตั้งแต่ต้นปี 2545 นี้ โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท เบอร์ลี่ ยุค เกอร์ (BJC) ได้เปลี่ยนแปลงสิ้นเชิงจากเดิมของกลุ่มเฟิร์ส แปซิฟิคไปเป็น ของบริษัท ที.ซี.ซี. ของเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจเหล้ากลุ่มสุราทิพย์และเบียร์ตราช้าง รวมถึงเจ้าของอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดราย หนึ่งของไทย ที่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจแบบผูกขาดด้วยทุนขนาดใหญ่(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2544)
เจริญ สิริวัฒนภักดี ตัวแทนธุรกิจเก่า เจริญ สิริวัฒนภักดี วัยเกือบ 60 ปี ถือกำเนิดในย่านการค้าเสี่ยงโชคเก่าแก่ของสังคมไทยย่านทรงวาด ด้วยการศึกษาขั้นต่ำ สุด แต่ประสบการณ์ในโมเดลธุรกิจเก่าแก่ของ ไทยที่โชกโชน เขาจึงกลายเป็นคนสุดท้ายที่มีโอกาสมากมาย(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544)
"จับตาเจริญ ในธุรกิจอสังหาฯ เขาจะรอดได้อย่างไร?" นักซื้อกิจการที่เป็นที่รู้จักหลายคนเช่น สุระ จันทร์ศรีชวาลา, ปิ่น จักกะพาก และวินัย พงศธร ทุกคนมีวิธีการซื้อกิจการที่ค่อนข้างพิลึกพิลั่นแตกต่างกัน และประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงเวลาหนึ่งที่จะประสบปัญหากลายเป็นกิ้งกือหกคะเมนในวันนี้(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
"วันนี้ยังไม่มีบทสรุปสำหรับคนชื่อ เจริญ" เจริญ สิริวัฒนภักดี หรือ "โซวเคียกเม้ง" เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของบุตรทั้งหมด 11 คนของโซวเลี่ยง แต้เซี่ยงเอ็ง เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2487จากอาตี๋ตัวน้อยที่มีเตี่ยกับอาม้าขายหอยทอดอยู่ในย่านทรงวาด ทำให้มีโอกาสได้เรียนแค่โรงเรียนเผยอิง จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และหลังจากนั้นก็ไม่พบว่าเขาจบการศึกษาระดับใดอีก นอกจากดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาบริหารการเกษตร(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
"จากเจ้าของโรงเหล้าถึงเจ้าของโรงแรม" เจริญ สิริวัฒนภักดี ใช้เวลาเพียง 3 ปี เป็นเจ้าของโรงแรมถึง 14 โครงการ โดยใช้วิธีการเทกโอเวอร์ การเข้าไปซื้อบริษัทนิวอิมพีเรียลโฮเต็ลของเจ้าสัวอากร ฮุนตระกูล เมื่อปี 2537 บริษัทเดียวนั้นทำให้เขาได้โรงแรมของบริษัทในเครือติดมาด้วยอีก 7 โรงแรมคือ โรงแรมอิมพีเรียลธารา ซอยสุขุมวิท 26 โรงแรมอิมพีเรียล อิมพาล่า สุขุมวิท 24 โรงแรมอิมพีเรียลบนถนนวิทยุ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์คในซอยสุขุมวิท 22 โรงแรมอิมพีเรียลสมุย โรงแรมอิมพีเรียล เรือและบ้าน โรงแรมอิมพีเรียล ธารา แม่ฮ่องสอน(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
คาร์ลสเบอร์กเขย่าบัลลังก์สิงห์ อุตสาหกรรมเบียร์ไทยกำลังขึ้นบทใหม่ เมื่อคาร์ลสเบอร์ก เบียร์จากเดนมาร์ก ที่จับมือกับเจ้าพ่อน้ำเมา เจริญ สิริวัฒนภักดี พร้อมแล้วที่จะลงนาม หลังจากเบียร์สิงห์เป็นเจ้าสังเวียนอยู่เพียงผู้เดียวมานานปี คาร์ลสเบอร์กจะไปถึงเป้าหมายขอส่วนแบ่งตลาด 30% ภายใน 5 ปีหรือไม่ และเบียร์สิงห์จะพิสูจน์ตัวเองได้ไหมว่า เมื่อปราศจากการคุ้มครองจากรัฐ ก็ยังยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตัวเอง(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2536)
ตระกูลภัทรประสิทธิ์ในธนาคารเอเชียกับเข้ามาของเจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นที่น่าสังเกตว่า รากฐานของผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารเอเชียนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่เป็นคนในวงการธุรกิจการค้าสุรา ซึ่งเป็นนักธุรกิจการเมืองที่ต้องติดเขี้ยวเล็บรอบตัว สำหรับการบริหารธุรกิจที่มีผลประโยชน์ก้อนมหาศาลให้อยู่รอด และมั่นคงในทุกสมัยผู้นำทางการเมืองแบบยุคเก่าที่เอาขวดเหล้าผูกไว้กับกระบอกปืน(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536)
"สวัสดิ์ กับน้องชายเจริญ 2 คู่ชู้ชื่น สวัสดิ์กับเจริญ สิริวัฒนภักดี ไม่ใช่คนแปลกหน้าต่อกัน ปี 2530 เจริญขายโรงเหล็กรีดซ้ำไพรมาลี อัลลายด์ สตีลให้สวัสดิ์ในราคาถูก ๆ 7 ล้านบาท เหตุที่เจริญขายโรงเหล็กเพราะกำลังปลุกปล้ำ กับธุรกิจโรงเหล้า(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532)
มือขวาของเจริญในแบงก์มหานคร เจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นคนใจกว้างต่อคนทั่วไป ที่สำคัญเขาเป็นคนมีสปิริตอย่างสูงต่อญาติในครอบครัวเอามากๆ เจริญยิ่งใหญ่ขนาดไหนในวงการค้าที่ดิจและธุรกิจอุตสาหกรรมสุราในเมืองไทยเป็นที่รู้ก้นได้(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532)

Page: 1 | 2 | 3





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us