ปีเตอร์ กาญจนพาสน์
"ในเมืองไทยทุกวันนี้คุณพ่อผมรู้จักแค่ที่นี่เมืองทองธานี ธนาซิตี้ กับบ้าน เมื่อวันก่อนผมพาเขาไปที่ดิเอ็มโพเรียม เพิ่งไปมาครั้งแรกมั้ง ได้เสื้อมาตั้งหลายตัว ท่านสนุกมาก" ปีเตอร์ ลูกชายคนโต วัย 31 ปี ของอนันต์ กาญจนพาสน์ เล่าให้ฟังถึงพ่อของเขาด้วยน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความรักและผูกพัน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2547)
มงคล กาญจนพาสน์
ตลอด 20 ปีของนิตยสารผู้จัดการ ได้บันทึกประวัติศาสตร์ชีวิตธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลอย่าง
"อึ้ง จือ เม้ง" หรือ "มงคล กาญจนพาสน์" และลูกๆ ไว้ตลอดในแต่ละความเคลื่อนไหวที่สำคัญของเขา
นับจากครั้งแรกในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 2, 9 และ ฉบับที่ 21 เดือนพฤษภาคม
2528 ในเรื่องปก "ศึกชิงสำนักน่ำไฮ้"
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546)
"เมืองทองธานี" รอวันปิดฉาก?
ชื่อของอนันต์ กาญจนพาสน์ เป็นที่รู้จักของคนไทย
เมื่อประมาณ 15 ปีก่อนมานี้เอง ด้วยการเข้ามาสร้าง
อภิมหาอาณาจักรด้านที่อยู่อาศัยในเมืองทองธานี
ท่ามกลางข่าวลือที่กระหน่ำซ้ำเติมตลอดเวลาว่า คงไปไม่รอด และสักวันหนึ่งอาจจะถึงวันจบที่น่าหวาดเสียว
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2545)
เกมใหม่ของ อนันต์ กาญจนพาสน์
ในวันที่ 2 มิถุนายน 2545 นี้ อนันต์ กาญจนพาสน์ จะมีอายุครบ 61 ปีเต็ม เขาเป็นลูกชายคนโตของมงคล
กาญจนพาสน์ บุตรของชาวจีนโพ้นทะเล ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบมาดำรงชีพด้วยการซ่อมแว่นตาและนาฬิกา
ในย่านเยาวราช ตั้งแต่ปี 2483
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2545)
เพื่อบางกอกแลนด์ เขาทำได้ทุกอย่าง
เพื่อบางกอกแลนด์ อนันต์ กาญจนพาสน์ ทำได้ทุกอย่างนอกจากโครงการขายพื้นที่ที่ อยู่อาศัยในโครงการเมืองทองธานีบนถนนแจ้งวัฒนะ
ซึ่งเป็นภาระที่หนักหนาสาหัสของอนันต์ กาญจนพาสน์แล้วเขายังมีสปอร์ตคอมเพล็กซ์ที่ใช้แข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบ
ด้วยการระดมทุกกลยุทธ์ ทุกคอนเน็กชั่น ดึงหน่วยงานต่างๆ เข้ามาจัดงานในพื้นที่นี้ให้ได้เพื่อไม่ให้เป็นพื้นที่ร้างไปอีก
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2542)
ปีนี้อนันต์ยังโชคดี ปีหน้าวัดดวงใหม่
ปลายปีนี้ อนันต์ กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทบางกอกแลนด์ จำกัด
(มหาชน) ได้ปลดปล่อยภาระใหญ่ๆ ไปแล้ว 2 เรื่อง เรื่องแรกก็คือ โครงการเพื่อชาติ
คือสปอร์ตคอมเพล็กซ์นั้น ได้สร้างเสร็จและส่งมอบไปเรียบร้อยแล้วเมื่อกลางเดือนตุลาคม
2541 เรื่องที่ 2 ก็คือ ขายที่อยู่อาศัยได้ล็อตใหญ่ ในช่วงที่บริษัทกำลังขาดเงินทุนหมุนเวียนอย่างหนัก
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2541)
ตะวันขึ้นที่เมืองทองธานี
ปลายปี 2539 ที่ผ่านมา พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ปลัดกระทรวงกลาโหม นายทหารคนสนิทของพลเอกชวลิต
ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตกลงซื้ออาคารนิวดอนเมือง
ในโครงการเมืองทองธานี ของบริษัท บางกอกแลนด์ (บีแลนด์) บนถนนแจ้งวัฒนะ มูลค่าประมาณ
1,300 ล้านบาท เพื่อเป็นที่ทำการแห่งใหม่ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)
"อนันต์ทุ่มบริจาคที่ดินหลายพันล้านบาทเพื่อหวังสร้างเมือง"
สไตล์การทำงานแบบเจ้าบุญทุ่ม ที่ทุ่มบริจาคที่ดิน เพื่อดึงโครงการของภาครัฐเข้ามาในเมืองทองธานีแจ้งวัฒนะนั้น
เป็นกลยุทธ์ที่โดดเด่นของอนันต์ กาญจนพาสน์ มานาน ตัวอย่างที่มีให้เห็น เช่นการบริจาคที่ดินเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)
บางกอกแลนด์กับสมประสงค์กรุ๊ปต้องเร่งสร้างศรัทธาครั้งใหม่
ประสงค์ พานิชภักดี กรรมการผู้จัดการบริษัทสมประสงค์แลนด์จำกัด (มหาชน)
กับอนันต์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทบางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) มีอะไรที่เหมือน
ๆ กันหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่เกิดในไทย แต่ไปโตและใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ฮ่องกงเมื่อลอดลายมักรจากเกาะฮ่องกงมาลงทุนที่เมืองไทย
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
เทวัญ ทรัพย์แสนยากร "หนูลองยา" ของอนันต์ กาญจนพาสน์?
บอนด์สตรีท เป็นถนนสายหนึ่งในโครงการเมืองทองธานีแจ้งวัฒนะ ที่มีการออกแบบอบ่างเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยระบบไฟฟ้า
โทรศัพท์ที่ถูกฝังไว้ใต้ดินทั้งหมด และสร้างความร่มรื่นด้วยการปลูกต้นปาล์มสลับกับต้นเข็มบนเกาะกลางถนน
รวมทั้งการปลูกต้นประดู่ และพุ่มดอกแก้วเรียงรายไปตลอดทั้ง 2 ข้างทาง ซึ่งยาวประมาณ
3 กิโลเมตรนั้น ให้แลดูสวยงามน่าอยู่อาศัยยิ่งขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2539)