Metropolitan Lifestyle Business
หลังจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2545 เสริมความแข็งแกร่งด้านเงินทุนให้มั่นคงแล้ว เมเจอร์ฯ เริ่มมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจจนวิชามีโอกาสมาพบกับนพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SF
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
Re-positioning
- การขยายธุรกิจเป็นโลว์คอสซีนีม่า
เรื่องนี้ผมตั้งคำถามมานานแล้ว ในอเมริการะบบโรงหนังไม่เหมือนกับเราตีตั๋วเป็นแบบไม่ระบุที่นั่ง (free seating) แต่เมืองไทยต้องระบุ (fixed seating) ผมก็มองว่า ถ้าเราไม่ต้องใช้คนขายตั๋ว 15 คน ลดเหลือ 10 คน แค่ 10 จุด เราลดได้ 50 คนแล้ว แล้ววันธรรมดาคนดูก็ไม่เต็ม ผู้บริโภคไม่ต้องการตั๋วระบุที่นั่งในวันธรรมดาหรอก เขาอยากเลือกที่นั่งได้ไปนั่งแล้วไม่ชอบก็เปลี่ยนได้ เราก็ถามตัวเองมาตลอดว่าทำไมไม่มีคนทำ นั่นคือโจทย์อันที่หนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
CRM ในความหมายของ Major
- เมเจอร์ฯ มีการเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างไรบ้าง
ผมไม่ชอบการทำรีเสิร์ชเป็นเรื่องเป็นราว ผมจะให้มาร์เก็ตติ้งผมทำมา แต่ละสาขาเก็บข้อมูลมาเอาแค่ 100 ตัวอย่างก็พอ ตั้งคำถามง่ายๆ เดือนหนึ่งดูหนังกี่ครั้ง มาดูที่นี่กี่ครั้ง เดินทางมาอย่างไร แล้วคุณก็เอามาดูก็จะเข้าใจว่าโพรไฟล์ลูกค้าคุณเป็นอย่างนี้ โบว์ลิ่งก็เหมือนกัน ถามดูว่าเป็นลูกค้าเก่าหรือลูกค้าใหม่ อันนี้ต่างกันนะ ถ้าเคยเล่นแล้วกลับมาเล่นอีก ใช้ได้ แต่ถ้าเป็นลูกค้าเก่าหมด เอ๊ะ ลูกค้าใหม่หายไปไหน ทำไมมีแต่ลูกค้าเก่า ต้องคิดอย่างนี้
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
The Lifestyle Setter
จากธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ที่พัฒนามาสู่การทำธุรกิจ โดยยึดไลฟ์สไตล์ของคนเป็นที่ตั้ง ณ วันนี้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้กลายเป็นกลุ่มธุรกิจ
ที่สามารถสร้างสรรค์วิถีชีวิตใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม สิ่งที่ต้องติดตามในอนาคต คือไลฟ์สไตล์ของคน อาจต้องเปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางธุรกิจของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ หรือไม่ !!!
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
CAWOW หุ้นน้องใหม่ในเครือ MAJOR
การรุกเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธุรกิจฟิตเนสของ MAJOR ดูผิวเผินอาจมองได้ว่าไม่ค่อยเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจดั้งเดิมสักเท่าไร แต่ในโมเดลที่กลุ่มนี้คิดขึ้นมาใหม่ ธุรกิจทั้ง 2 ดูจะมี synergy กันได้อย่างดีทีเดียว
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2547)
"โรงภาพยนตร์" สงครามที่กำลังร้อนระอุ
ในรอบ 102 ปี ของธุรกิจภาพยนตร์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยได้สร้างคนสำคัญที่มีส่วนสร้างยุคต่างๆ
ให้กับวงการมากมาย วันนี้วิชัยกับวิชา พูลวรลักษณ์ แห่งค่าย "อีจีวี"
และ "เมเจอร์ซินีเพล็กซ์" เป็นผู้สร้าง อีกยุคหนึ่งของธุรกิจภาพยนตร์
ด้วยแนวคิดของคนรุ่นใหม่ โดยที่ต่างคนต่างมุ่งมั่นในแนวทางที่มั่นใจและทุ่มทุนแข่งขันกันในทุกรูปแบบด้วยระบบ
เทคโนโลยีที่สุดยอด
รวมทั้งการตกแต่งโรงภาพยนตร์ด้วยรูปลักษณ์ใหม่ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542)
พิสูจน์ฝีมือ "วิชา พูลวรลักษณ์" ธุรกิจโรงหนังไฮเทคยังรุ่ง?
"พูลวรลักษณ์" กลายเป็นตระกูลธุรกิจที่เข้าครอบครองความเป็นผู้นำของกิจการโรงภาพยนตร์ยุคใหม่ในประเทศไทย
ธุรกิจบันเทิงสาขาหนึ่งที่ยังคงเดินหน้าเติบโตได้ เกือบจะเรียกได้ว่าสวนกระแสกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย
ขั้นตอนยาวนานของความสำเร็จนี้ง่ายดาย หรือยากเย็น บทพิสูจน์ฝีมือของทายาทจำเริญ
พูลวรลักษณ์ กำลังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงฐานอาณาจักรรุ่นพ่อว่าสร้างไว้มั่นคงเพียงใด
กับการสานต่อที่ต้องใช้มากกว่าเวลา ประสบการณ์ และฝีมือ
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2541)