Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article Profile Photo

industry
company
people
a - e
f - l
m - r
s - z
ก - ง
จ - ฌ
ญ - ฑ
ฒ - ถ
ท - ป
ผ - ภ
ม - ว
ศ - ฮ
0 - 9

internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ8  
Positioning1  
ผู้จัดการรายวัน39  
ผู้จัดการรายสัปดาห์8  
Total 48  

Listed Company
Manager Lists
 
People > ทนง พิทยะ


นิตยสารผู้จัดการ (1 - 8 of 8 items)
6 ปีที่ผ่านไป ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เป็นสองลูกหนี้ที่ดำรงบทบาทอย่างมีสีสันมาก ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546)
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เขาถือเป็นรัฐมนตรีคนใหม่ ของสังคมไทยอย่างแท้จริง ในประวัติศาสตร์กระทรวงการคลัง ซึ่งถือเป็นกระทรวงสำคัญนั้น มีรัฐมนตรีมานับสิบๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนแครต นักการเมือง และคนนอก ของพรรคการเมืองนั้น ล้วนมีภูมิหลังและบุคลิก แตกต่างจากรัฐมนตรีใหม่คนนี้(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544)
"IMF-วาระแห่งชาติ" = ความหวังของคนไทย" 5 สิงหาคม 2540 "วันกู้ชาติ" ด้วยการยอมรับเงื่อนไขของ IMF และการประกาศ วาระแห่งชาติของรัฐบาล เพื่อเยียวยาปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แต่กว่าจะถึงวันที่เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาดีดังเดิมนั้น ทั้งผู้ที่อยู่ในวงการสถาบันการเงิน ผู้ที่ประกอบการรวมทั้งประชาชนจะต้องแบกรับผลกระทบที่เกิดจากเงื่อนไขดังกล่าวในระยะสั้น แม้จะเป็นผลดีในระยะยาวก็ตาม(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
"หัวเลี้ยวหัวต่อสังคมเศรษฐกิจไทย" ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและวิกฤตการเงินอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเวลานี้เริ่มขยายวงกว้างไปสู่ประเทศ "เสือ" เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสกุลเงินซึ่งในช่วงกลางเดือน ก.ค. สี่สกุลเงินอาเซียนถูกโจมตีจากนักเก็งกำไรจนปั่นป่วนไปหมด นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลกมองว่ากรณีประเทศไทยเป็นเรื่องเฉพาะ และมีทางออกเรื่องนี้ได้ ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ไทยเองนั้น แม้ส่วนมากจะยังไม่มีสายตามองโลกในแง่ร้าย เพราะไม่เชื่อว่าภายใต้โครงสร้างสังคมเศรษฐกิจ การเมืองไทยปัจจุบันจะสามารถนำพาประเทศชาติฝ่าพ้นวิกฤติรอบนี้ได้(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
ยุทธการสาวไส้…ทนง VS วีรศักดิ์ งานนี้ทหารไทยมีแต่เสียกับเสีย ปี 2539 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโดยรวมของทั่วโลกย่ำแย่ที่สุดในรอบหลายปี กล่าวเฉพาะที่ประเทศไทยนั้นถือว่าได้รับผลกระทบมาไม่น้อยทีเดียว แถมมีปัจจัยภายในประเทศช่วยทับถมอีกแรงก็ดูจะไปกันใหญ่ นอกจากวงการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงแล้ว วงการเงิน-ธนาคารก็ดูจะไม่น้อยหน้าเช่นกันทั้งเรื่องผลประกอบการที่ลดลง, หนี้เสีย รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งและเรื่องภาพพจน์ของผู้บริหารระดับสูงหลายท่านทั้งจากภาครัฐและเอกชน(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2540)
แบงก์คุณภาพฝันที่เป็นจริงได้ของ "ธนาคารทหารไทย" ธนาคารทหารไทยสร้างแผนงาน 9 ปีเพื่อกรุยทางสู่แบงก์คุณภาพ เริ่มจากการสะสางองค์กร สร้างประสิทธิภาพของคนแล้วค่อยก้าวสู่การแข่งขันเพื่อชิงมาร์เก็ตแชร์ แผนงานผ่านไปแล้วครึ่งทาง แบงก์ทหารไทยมีคุณภาพตามที่วาดหวังไว้หรือไม่ หรือมีอะไรผิดเพี้ยนไป ?!? ความมั่นอกมั่นใจของ ดร.ทนง เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามแผนงาน 9 ปี (2536-2544) ซึ่งเป็นหนทางสู่การเป็นแบงก์คุณภาพ นับถึงปัจจุบัน TMB เดินมาถึงครึ่งทางแล้ว(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2540)
กว่าจะได้จุดยืน "คุณภาพ" ยุทธศาสตร์การเป็นแบงก์คุณภาพของธนาคารทหารไทยเกิดขึ้นพร้อมกับการเข้ามาของผู้บริหารใหม่ที่มีนามว่า ดร.ทะนง พิทยะ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสาขาบริหารธุรกิจและเป็นลูกหม้อเก่าของ TMB มาก่อน เขาก้าวเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ในเดือนตุลาคม ปี 2535 แทน ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ที่ลาออกไปรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2540)
"ชินวัตรปะทะล็อกซเล่ย์ ใครจะแข็งกว่ากัน" การเผชิญหน้าระหว่างชินวัตรกับล็อกซเล่ย์เกิดขึ้นอีกครั้งในโครงการโทรศัพท์ภูมิภาค 1 ล้านเลขหมาย การต่อสู้ครั้งนี้เป็นฉากพิสูจน์ความแข็งแกร่งทางการเงินระหว่างกลุ่มธุรกิจยักษ์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2535)

Page: 1





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us