"โอกาส" ที่เกิดขึ้นในวิกฤติ
พอดีกับสถานการณ์ไข้หวัดนกพ่นพิษ ทำเอาการส่งออกสะดุดจนเศรษฐกิจเริ่มซวนเซ
งานสัมมนา Owen G. Kenan ประจำปี 2547 ที่ถูกจัดขึ้นในหัวข้อ "อุตสาหกรรมอาหารไทย
: สิ่งท้าทายและโอกาสในตลาดโลก" เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
โดยสถาบันคีนันแห่งเอเชีย เป็นเจ้าภาพหลัก จึงได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจนเก้าอี้แทบไม่พอ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2547)
เกมที่เปลี่ยนแทบทุกวัน
21 เม.ย.
- ศาลล้มละลายกลางมีคำพิพากษาถอดบริษัทเอฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส (EPL) ออกจากการเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ
TPI เนื่องจากเห็นว่าไม่สามารถบริหารได้ตามแผน และได้แต่งตั้งประชัย เลี่ยวไพรัตน์
ผู้บริหารเดิมร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) เป็นผู้บริหารแผนชั่วคราว
ก่อนให้เจ้าหนี้ลงมติคัดเลือกผู้บริหารแผนรายใหม่ภายใน 30 วัน อย่างไรก็ตาม
EPL ยังเป็นผู้บริหารแผนของบริษัทในเครือ TPI อีก 6 แห่ง
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546)
บัณฑูร ล่ำซำ-สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
มีเรื่องราวของคนสองคนที่สมควรกล่าวถึง ในฐานะที่เป็น Role Model ของสังคมธุรกิจไทย
(รายละเอียด โปรดอ่านจากนิตยสารผู้จัดการฉบับที่แล้ว) ในฐานะที่มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างน่าสนใจ
ทั้งสองมีอายุไล่ เลี่ยกัน โดยบัณฑูร ล่ำซำ (2496) มีอายุมากกว่า สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
(2498) อยู่ 2 ปี ซึ่งถือ ว่าเป็นคนรุ่นเดียวกันในสังคมไทย แต่ทั้งสองกลับมีจุดเริ่มต้นในฐานะที่แตกต่างกันอย่างมาก
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2545)
"ผมจะ reform ประเทศ"
"ผมมองบทบาทของกระทรวงการคลังแตกต่างจากเดิม มีอยู่ 2 agenda agenda
เร่งด่วน คือ ให้กระทรวงการคลังเป็นกลไกที่ดึงเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากวิกฤติ
ฉะนั้น policy ใดๆ ที่ออกมาก็ตามต้องการอย่างเดียวคือ ดึงให้ขึ้นมาจากหลุม
agenda ที่ 2 นี่สำคัญกว่า คือใช้ fiscal policy ในการ reform ประเทศ ซึ่งไม่เคยมีใครสนใจมาก่อน
คือนโยบายการเงินโดยผ่านแบงก์ชาติ กับนโยบายการคลัง สามารถปฏิรูปประเทศได
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544)
ใคร...? เป็นใคร... ? 10+2+1 ที่ปรึกษาขุนคลัง
การตั้งที่ปรึกษาครั้งนี้ สะท้อนแนวคิดการบริหารกระทรวงการคลังที่แตกต่างไปจากเดิม
โดยให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือกับกระทรวงเศรษฐกิจทั้งหมด เพื่อประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจร่วมกัน อย่างเป็นระบบภายใต้ทิศทางเดียวกัน
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544)
ตลาดหุ้น จุดเริ่มต้นการบ่มเพาะ
ช่วงที่ตลาดหุ้นไทยเริ่มฟื้นตัวเมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ดร.สมคิดเป็น 1
ในนักวิชาการซึ่งเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาของนักลงทุน ในฐานะผู้บรรยายให้ความรู้พื้นฐานในการเล่นหุ้น
แต่วันนี้ภาพดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544)
ประสบการณ์ที่สหพัฒนฯ โลกของการค้านอกตำรา
ดร.สมคิดอธิบายเส้นทางเดินในชีวิตของเขาที่กว่าจะมาถึงจุดตรงที่นั่งอยู่ปัจจุบันกับทีมงาน
"ผู้จัดการ" ด้วยวิธีการทำมือชี้วกไปเวียนมาพร้อมกับบอกว่าเหมือนเดินบนเขาวงกต
กว่าจะถึงจุดหมายปลายทางไม่ง่ายเลย ไม่ได้เดินเป็นเส้นตรงเหมือนบางคนที่เพียบพร้อมด้วย
ทรัพย์ศฤงคาร แต่ก็ใช่ว่าจะเสียเวลาหรือเปล่าประโยชน์ ตรงกันข้ามกลับทำให้เขาได้เรียนรู้โลกของเศรษฐกิจและธุรกิจตลอดจนผู้คนใน
มิติที่หลากหลายชนิดยากที่บางคนจะมีโอกาส ดีเช่นเขา ซึ่งกลายเป็นทรัพย์สินที่ประเมินค่า
ไม่ได้ที่ติดตัวเขา กล่าวได้ว่าเขาเป็นขุนคลังคนหนึ่งที่รู้เรื่องธุรกิจอย่างทะลุปรุโปร่งทีเดียว
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544)
หนังสือและความคิด ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
หากถือว่าไมเคิล อี.พอร์เตอร์ คือ ปรมาจารย์ ด้านการวางกลยุทธ์สมัยใหม่ในโลกตะวันตก
ก็ต้องถือว่า ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็น Potential Strategic Guru (กูรู)
แห่งโลกตะวันออกคนหนึ่ง อย่างไม่เคอะเขิน
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544)
อนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ ผู้หญิงของรัฐมนตรีคลัง
"หลังบ้าน" ของรัฐมนตรีคลังคนนี้ เป็น "หญิงสาว" ที่ไม่เพียงแต่มีใบหน้าสวยงามมีน้ำเสียงไพเราะเสนาะหู
หากแต่ยังเป็นผู้หญิงที่เป็น "กุลสตรี" ทุกกระเบียดนิ้ว ปูมหลังชีวิตของเธอแตกต่างกับชายในดวงใจราวฟ้ากับดิน
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544)