อากร ฮุนตระกูล บั้นปลายชีวิตที่ไม่เครียด
การขายกิจการออกไปในปี 2537 ถือว่าเขาโชคดี เพราะทำให้ยังมีเงินสดเหลืออยู่ ไม่เหมือนนักธุรกิจคนอื่น ๆ ที่ต้องเข้ามาแบกรับภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอย่างล้นพ้นตัว เมื่อมีการปรับลดค่าเงินบาทในกลางปี 2540
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543)
อากร ฮุนตระกูลกับวันสบายๆ ที่บ้านท้องทราย
2538 หลังจากการฉลองครบรอบ 20 ปี โรงแรมอิมพีเรียล ถือว่าอากรประสบความสำเร็จอย่างสูง
กับการตัดสินใจขายโรงแรมอิมพีเรียล ให้กับเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อน้ำเมาของเมืองไทยไปก่อนหน้านั้น
เพราะมิเช่นนั้นแล้วเรื่องปวดหัวจากหนี้สินที่มีอยู่ในตอนนั้น ก็จะกลายเป็นปัญหาหนักขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ
ในเวลาที่เศรษฐกิจไม่ปรานีใครเช่นทุกวันนี้
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2541)
"อากร ฮุนตระกูล สุดยอดนักการเมือง"
เส้นทางการเมืองของอากร ฮุนตระกูล แห่งเครือโรงแรมอิมพีเรียล ยุติลงอย่างรวดเร็วเกินคาด
นับจากการได้รับเลือกเป็น ส.ส. เขต 1 ของกรุงเทพมหานคร เมื่อการเลือกตั้งเดือนกันยายนปีที่แล้ว
ก็เป็นเวลาเพียง 7 เดือนเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2536)
ความใหญ่ที่ไม่อันตราย
อากร ฮุนตระกูล เสาเอกของกลุ่มอิมพีเรียล ต้องการทำธุรกิจไปสู่ความเติบใหญ่ที่สุดในสิ้นทศวรรษนี้
เขาทำธุรกิจโรงแรมโดยไม่อาศัยเชนจากต่างประเทศเลย เขาบริหารอย่างไร จึงสามารถพิสูจน์ให้โลกยอมรับว่า
คนไทยก็ทำโรงแรมให้เติบใหญ่และมั่นคงได้
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2533)
"ผมไม่ต้องการเป็นห่วงโซ่ของต่างชาติ"
"อุตสากรรมโรงแรม เป็นธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีชั้นต่ำ คนไทยสามารถบริหารงานให้เติบโตและมั่นคงได้
คุณดูซิโรงแรมที่อยู่ในเชนต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไม่โต ขณะที่โรงแรมที่บริหารและดำเนินงานเองทุกอย่างโดยคนไทยโตเอา ๆ " อากรกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงข้อสังเกตของเขาในการมองธุรกิจโรงแรมที่กำลังเติบโตเป็นที่ต้องการลงทุนของนักลงทุนมากมากในขณะนี้
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2533)
2 ฉาก 2 อารมณ์ของพี่น้อง "ฮุนตระกูล"
ยิ้ม ฮุนตระกูล ประธานบริหารโรงแรมอิมพีเรียล และประมุขของตระกูล "ฮุนตระกูล"
เสียชีวิตลง ก่อนหน้าวันฉลองครบรอบ 16 ปีของโรงแรมอิมพีเรียลเพียงหนึ่งสัปดาห์
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532)