"ไอทีวี" จิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย? ของชินคอร์ป
ภาพของโรงงานเดลต้า 5 ซึ่งเป็นโรงงานหลังคาเดียว ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ
โดยมีขนาดพื้นที่สำหรับการผลิตประมาณ 72,300 ตารางเมตร ที่เกิดจากเงินลงทุนก่อสร้างประมาณ
1, 000 ล้านบาท ของบมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (DELTA) อาจเป็นเสมือนประจักษ์พยาน และสัญลักษณ์ ที่สำคัญประการหนึ่งของความสามารถในการฝ่าพ้น
วิกฤติ ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ในขณะที่บริษัทจำนวนไม่น้อยต้องประสบปัญหาอย่างหนักหน่วง
ภายหลังการปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเมื่อกลางปี 2540
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543)
Management
มืออาชีพยุคนี้ จุลกร สิงหโกวินทร์ และพรสนอง ตู้จินดา
ทั้งสองเป็นผู้จัดการใหญ่ธนาคารขนาดเล็กในเมืองไทยที่มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีมานี้ ความคิดและประสบการณ์ของเขากับ
ความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในอุตสาหกรรมการเงินไทยของทั้งสอง จึง
เป็นเรื่องร่วมสมัยที่น่าสนใจไม่น้อย ทีมงานบรรณาธิการ "ผู้จัดการ" กำลังทำ
งานสนทนาค้นคว้า และเขียนเรื่องของเขาทั้งสองเพื่อเตรียมนำมาเสนอในฉบับต่อไป
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542)
บุญคลี ปลั่งศิริ ผู้นำชินคอร์ปยุคใหม่
เขาเป็นอีกคนที่มีความขัดแย้งในตัวเอง
บุญคลี ปลั่งศิริ เป็นพ่อค้ารายย่อยในต่างจังหวัด หัวดี มีประสบการณ์ทำงานอยู่กับรัฐวิสาหกิจมายาวนานถึง
16 ปีเต็ม ขณะที่ทำงานในภาคธุรกิจเพียง 6 ปี แต่กลับประสบความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง
เป็นประธานกลุ่มธุรกิจดาวรุ่ง ที่มีสินทรัพย์มากกว่า 5 หมื่นล้านบาท
เขาเป็นคนที่ได้รับเลือกให้เป็นเบอร์ 1 ของชินคอร์ป ที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับตัวทางธุรกิจอย่างเข้มข้น
ดูเหมือนเขาจะเป็น "สะพานเชื่อม" จากธุรกิจระบบอุปถัมภ์ไปสู่ธุรกิจสมัยใหม่
ที่มีการบริหารมาตรฐานที่สุดในเมืองไทยแห่งหนึ่งได้อย่างราบรื่น ท่ามกลางมืออาชีพชั้นยอดของธุรกิจสื่อสาร
ซึ่งมีประสบการณ์การบริหารอย่างโชกโชน ชนิดที่เขาเทียบไม่ได้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542)
คลังอาวุธสมอง บุญคลี ปลั่งศิริ
"ในวงการโทรคมนาคม ทุกคนใหม่หมด ผมจะถามจากใคร ผมต้องอ่านในตำรา
เหตุผลสั้นๆ ที่ทำให้บุญคลีกลายเป็นหนอนหนังสือตัวยง ที่ให้ความสำคัญกับการหาความรู้ผ่าน
"ตำรา" มากที่สุดคนหนึ่งของชินคอร์ป และเต็มไปด้วยความกระหายใคร่รู้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542)
แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
นับตั้งแต่ เอ็มเว็บตัดสินใจซื้อ sanook.com ฉากใหญ่ของธุรกิจอินเตอร์เน็ตก็ถูกคลี่ออกอย่างเป็นรูปเป็นร่าง ที่แล้วมาตลาด
อินเตอร์เน็ตของไทย ได้ออกจากจุดเริ่มต้นด้วยธุรกิจการเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์ หรือ access provider ที่มีผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ตเป็นตัวขับเคลื่อน
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542)
บุญคลี ปลั่งศิริ บ่มจนได้ที่
เขาเป็นมืออาชีพคนหนึ่งที่เข้ามาสู่องค์กรชินวัตร ในช่วง ของการเสาะแสวงหามืออาชีพ
เพื่อสร้างระบบการจัดการบริหารงานองค์กรอย่างเป็นมาตรฐานในระดับสากล บุญคลีก้าวเข้ามาในชินวัตร
ด้วยตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อย สำหรับคนที่ผ่านชีวิตการทำงานในรัฐวิสาหกิจมาเกือบตลอดชีวิต
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2542)
"เอไอเอสหันกู้บาท ไม่หวั่นดอกเบี้ย 13%"
ช่วง 2-3 ปีก่อนครั้งที่เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในยุคเฟื่องฟู บริษัทเอกชนไทยทั้งหลายแห่กู้เงินนอกเข้ามาขยายการลงทุนกันอย่างเอิกเกริก
ด้วยว่าหาแหล่งเงินกู้ได้ง่ายมากทั้งจากญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐฯ ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกสุด
ๆ ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของบริษัทมหาชนขนาดใหญ่จะอยู่ประมาณ 8-9% เท่านั้น
ทุกวันนี้ยุคสภาพคล่องล้นเหลือเป็นเพียงอดีตไปแล้ว เศรษฐกิจของไทยอยู่ในช่วงปรับตัว
สถาบันการเงินทุกแห่งหันมาระดมเงินฝากในประเทศเป็นหลัก
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
"โซนนิ่งแอร์ไทมมือถือ กับเกมไล่ล่าของแทค"
กรณีที่คณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) อนุมัติให้บริษัทโทเทิ่ล
แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (แทค) เพิ่มวิธีการเก็บอัตราค่าใช้บริการโทรศัพท์มือถือในระบบพีเอ็น
1800 ด้วยวิธีใหม่ โดยแบ่งเป็นแบบโฮมโซน (HOMEZONE) และแบบโซนนิ่ง (ZONING)
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2538)