อนันต์ อัศวโภคิน ชื่อนี้ยังขายได้
ในช่วงปี 2541-2542 ที่ผ่านมา อนันต์ อัศวโภคิน ประกาศหยุดการก่อสร้างโครงการใหม่ในเครือของบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์
จำกัด (มหาชน) เกือบ ทั้งหมด เปิดขายเพียงบ้านในโครงการเก่าๆ และบ้านทิ้งดาวน์ของลูกค้าเท่านั้น
ซึ่งลำพังสินค้า 2 ตัวนี้ อนันต์ก็ต้องพลิก ค้นกลเม็ดในการขายอย่างหนักหน่วงมาตลอดเหมือนกัน
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543)
อนันต์ อัศวโภคิน ศรัทธา หรือจะขายบุญ?
ทุกๆ เย็นวันศุกร์ บนชั้น 12 ณ อาคารคิวเฮ้าส์ สีลม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์บัญชาการใหญ่ของบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์
จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีอนันต์ อัศวโภคิน เป็นผุ้กุมบังเหียนคนสำคัญนั้น จะมีกิจกรรมอย่างหนึ่งเกิดขึ้นคือการไปนั่งปฏิบัติธรรมของเหล่าสมาชิกวัดธรรมกายตั้งแต่เวลาประมาณ
5 โมง เย็นจนถึงประมาณ 2 ทุ่ม โดยที่มีอนันต์เข้าร่วมปฏิบัติอยู่ด้วยแทบทุกครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542)
โอฬาร VS อนันต์ พันธมิตร ตลอดกาล
เมื่อมีแหล่งเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์ แลนด์แบงก์ในทำเลดีๆ ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
มันสมองดีๆ จากขุนพลมืออาชีพของบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ พร้อมกับการสยายปีกด้วยการไปร่วมทุนในบริษัทต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกันเป็นการสร้างภาพต่อที่กำลังจะสมบูรณ์ของอนันต์ อัศวโภคิน
และโอฬาร ไชยประวัติ เสียดายภาพนี้ยังไม่ทันเสร็จสิ้น พันธมิตรทั้ง 2 ก็ถูกพายุเศรษฐกิจโหมกระหน่ำอย่างหนัก
แต่ก็ยังคงจับมือกันอย่างเหนียวแน่น
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2541)
อนันต์พลาดเพราะไว้ใจคน
อนันต์ อัศวโภคิน จะอายุครบ 48 ปี ในวันที่ 11 สิงหาคม 2541 นี้ เขาเป็นชาวราศีกรกฎที่มีช่วงชีวิตที่เหนื่อยล้าที่สุดในการทำธุรกิจ
ถึงแม้บริษัทหลักของเขาคือแลนด์แอนด์เฮ้าส์นั้น จะได้แบงก์ไทยพาณิชย์ช่วยโอบอุ้มอยู่อย่างไม่น่าเป็นห่วง
จนยังมีบ้านออกมาขายอยู่ตลอดเวลา แต่เขายังมีปัญหาภาระหนัก ที่เกิดจากการวางยุทธวิธีให้บริษัทแม่สยายปีกไปร่วมทุนกับบริษัทอื่นๆ
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2541)
เวทีนี้ของ อนันต์ อัศวโภคิน ที่นายกฯ บรรหารรับคะแนนไปเต็ม ๆ
เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2539 ที่ผ่านมานั้น กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยได้จัดงานสัมมนา
เรื่อง "ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับเศรษฐกิจ" ขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
และนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีนี้ที่มีผู้มาร่วมงานสัมมนากันอย่างคับคั่งกว่า
1,000 คน และอยู่กันตลอดเวาจนถึงงานเลิกเป็นส่วนใหญ่
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539)
รถขึ้นห้างที่รามอินทราแนวคิดที่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง?
"...คนไทยไม่ชอบซื้อสินค้าจากแคตาล็อก..." คำกล่าวของขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ผู้อำนวยการบริษัท สื่อสากล จำกัด ที่เล่าถึงเหตุผลที่เป็นการจุดประกายความคิด และนำมาซึ่งการเปิด "มอเตอร์ แกลเลอรี่" ศูนย์รวมโชว์รูมรถยนต์ที่ถือว่าสมบูรณ์และมีศักยภาพที่สุดของเมืองไทยในขณะนี้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
"แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จะใหญ่ไปอีกนานแค่ไหน ?"
ฝันร้ายของนักพัฒนาที่ดินเคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2526 จากมาตรการจำกัดสินเชื่อ
18% และลดค่าเงินบาท มันได้สร้างความเจ็บปวดให้เกิดขึ้นกับนักธุรกิจถ้วนหน้าจนกระทั่งปี
2530-2533 เศรษฐกิจของเมืองไทยได้ฟูเฟื่องขึ้นมาอีกครั้ง ธุรกิจการก่อสร้างที่อยู่อาศัยบูมสุดขีดในห้วงเวลานั้น
แต่เป็นยุคทองที่กอบโกยกำไรได้สั้นเหลือเกิน หลังเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย
ปี 2534 เศรษฐกิจภายในประเทศไทยถดถอยลงอย่างต่อเนื่องนักธุรกิจหลายรายที่ตั้งรับไม่ทันต้องเจ็บปวดซ้ำสอง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2536)