อันดับ 1 บัณฑูร ล่ำซำ
บัณฑูร ล่ำซำ เป็นบุคคลที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้อ่านนิตยสาร "ผู้จัดการฯ" และได้รับการเลือกขึ้นเป็นอันดับ 1 ของ Role Model ต่อเนื่องมาถึงปีนี้เป็นปีที่ 3 แล้ว (2549-2551)
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2552)
บัณฑูร ล่ำซำ ยังแข็งแรงและอารมณ์ดี
บรรยากาศในงานปาฐกถาประจำปีในการพบปะกับสื่อมวลชนของ บัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ยังอารมณ์ดีและสุขภาพแข็งแรงเหมือนเช่นเคย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2551)
ปีหนูของบัณฑูร
เป็นธรรมเนียมทุกปีที่ บัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย หรือที่นักข่าวมักจะเรียกติดปากว่า "คุณปั้น" จะต้องออกมาปาฐกถาให้สื่อมวลชนได้ฟัง และในปีนี้ เขาเลือกวันที่ 31 มกราคม 2551 เป็นวันพบปะสื่อมวลชน ณ สำนักงานใหญ่ ราษฎร์บูรณะ ด้วยการส่งหมายเชิญเป็นอั่งเปาสีแดงรับเทศกาลตรุษจีนที่บอกว่า "สวัสดีปีหนูร่าเริง 2008"
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2551)
ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง
ตลอดระยะเวลา 28 ปี ของการทำงานในธนาคารกสิกรไทยของบัณฑูร ล่ำซำ วัย 54 ปี ในฐานะทายาทของตระกูลล่ำซำรุ่นที่ 4 ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่มีหน้าที่ดูแลทิศทางยุทธศาสตร์แสวงหาโอกาสใหม่ๆ ตลอดจนดูแลทรัพยากรบุคคลเพื่อขับเคลื่อนเครือกสิกรไทยที่มีอายุ 62 ปี ให้ดำเนินธุรกิจประสบผลสำเร็จเฉกเช่นในอดีตที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
ได้เวลา K NOW (อ่านว่าเค-นาว)
การออกมาปรากฏตัวต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี ของบัณฑูร ล่ำซำ ที่ได้ประกาศทิศทางธุรกิจใหม่ของเครือธนาคารกสิกรไทย ซึ่งใช้ชื่อว่า K NOW ย่อมน่าจะมีความหมายมากกว่าแค่การแถลงข่าวธรรมดา
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
ว่าด้วยเครือข่ายธุรกิจจีน
ผมไม่คิดว่าจากจุดนี้ไปในชั่วชีวิตของเราทั้งหลาย และก็พวกเราทั้งหลายในเมืองไทยจะอยู่โดยไม่คำนึงถึงว่ามีจีนอยู่ด้วย เหมือนกับตอนสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คนไทยก็ต้องคิดว่าโลกก็มีอเมริกา นั่นคือมหาอำนาจในช่วงนั้น ทุกคนก็ต้องเตรียมตัวที่จะอยู่กับอเมริกา
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2549)
จากรากเหง้า สู่อนาคต
ห้องทำงานใหม่ของเขาอีกห้องหนึ่งอยู่ที่ชั้น 9 สำนักพหลโยธิน อาคารนี้เคยเป็นสำนักงานใหญ่ยุคก่อนหน้า ซึ่งเขาถือเป็นยุคความเจริญรุ่งเรืองของธนาคารกสิกรไทย ขณะที่อาคารสำนักงานใหญ่ปัจจุบันอยู่ในยุคของการแก้ปัญหา
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2549)
ว่าด้วยจีนกับยุคอาณานิคม
"15 ปีที่ผ่านมา สรุปสั้นๆ ก็คือ เริงร่ากับฟองสบู่ แล้วก็แตก แล้วก็แก้ แก้หนี้เสียอันสืบเนื่องมาจากความหลงระเริงของสังคม คือหมายความว่าทุกอย่างมีแต่ขึ้นๆๆ และไม่มีลง 15 ปีต่อไปสู้กับอาณานิคม ซึ่งก็ยังไม่มีผลที่จะตอบได้ว่าสู้ได้หรือไม่ได้ รอบแรกก็คนที่ฐานแย่จริงๆ ก็พังไปเลย"
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2549)