e-banking ไร้ขีดจำกัด ธ.ไทยพาณิชย์
หลังจากเอทีเอ็มแล้ว ธนาคารไทยพาณิชย์ ก็ยังไม่เคยรับประโยชน์จากเทคโนโลยีอื่นใด
มากเท่ากับการมาของอินเทอร์เน็ต ตลอดหลายปีมานี้ธนาคารจึงทุ่มเทอย่างหนักกับการลงทุนในเรื่องเหล่านี้
พยายาม ที่จะสร้างการเรียนรู้ในเรื่องของ การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างลึกซึ้ง นำไปสู่การสร้างบริการมากมายออกไป
สู่ตลาด และขยายบทบาทธุรกิจออกไป อย่างไร้ขีดจำกัด
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543)
อิทธิพลของ "ข้อมูล" กับโทรศัพท์มือถือยุคที่สาม
ในโลกของโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 จะประสบความสำเร็จ หรือเป็นที่นิยมในแต่ละประเทศได้หรือไม่นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับ content เป็นสำคัญ นี่คือคำตอบที่ว่า ทำไมโนเกียต้องจับมือกับสนุก.คอม เอไอเอสต้องร่วมมือกับแบงก์ไทยพาณิชย์ กสิกรไทยต้องจับมือกับแทค
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543)
เว็บแบงกิ้ง ธนาคาร 24 ชม. ไทยพาณิชย์
วันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ตัดสินใจเปิดตัวบริการใหม่ซึ่งนับ
ว่าเป็นครั้งแรกที่ธนาคารไทยพาณิชย์จะก้าวไปสู่การเป็นเว็บแบงกิ้ง (web banking) อย่างเต็มตัว
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542)
ดร.วิชิตเริ่มแล้ว "ระเบียบวาระหางานแห่งชาติ"
เชื่อว่า หนุ่มยุคซิกตี้ส์ เช่น ดร.วิชิต อมรวิรัตนสกุล คงจะชื่นชอบเพลง
Bridge over troubled water อยู่บ้าง อย่างน้อยเมื่อเดือนเศษๆ ที่ผ่านมา
พฤติกรรมของเขาก็เป็นไปตามแก่นสารของเพลงนี้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540)
"อิเล็กทรอนิกส์แบงก์พาณิชย์ เกมนี้ใครแพ้คัดออก"
นับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ประตูภาคการเงินจะต้องถูกเปิดกว้างมากขึ้นจากที่เคยปิดตายมานาน
ทำเอาแบงก์พาณิชย์ต้องปรับตัวกันขนานใหญ่เพื่อเตรียมพร้อมรับมือการแข่งขันที่จะถาโถมเข้ามาจากการเปิดแบงก์ใหม่ในประเทศ และการเพิ่มสาขาแบงก์ต่างชาติ กุญแจสำคัญของความอยู่รอดในยุคโลกาภิวัฒน์
จึงอยู่ที่การบริหารต้นทุนและบริการลูกค้า ซึ่งทางออกที่แบงก์ทั้งหลายกำลังมุ่งหน้าไปจึงหนีไม่พ้นการพัฒนาเทคโนโลยี
ใครก็ตามที่เพลี่ยงพล้ำย่ำอยู่กับที่ นั่นอาจหมายถึงความลำเค็ญในภายภาคหน้า
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540)
ก้าวใหม่ไทยพาณิชย์ ปีนี้ต้องเป็น LEARNING
ในปีนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ก็กลับมาชิงตำแหน่งธนาคารแห่งปี 2539 จากการจัดอันดับของวารสารทางการเงินการธนาคาร
และถือได้ว่าเป็นการครองตำแหน่งนี้เป็นสมัยที่ 5 หลังจากที่เคยได้รับตำแหน่งไปเมื่อปี
2531-2534
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540)
"รีเทล แบงกิง หัวใจสำคัญอยู่ที่เทคโนโลยี"
แบงก์ไทยพาณิชย์เคยเป็นผู้จุดชนวนความตื่นตัวขึ้นในตลาดการเงินการธนาคารมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ
9 ปีที่แล้ว ในสมัยที่เป็นเจ้าแรกที่นำเอาเครื่องเอทีเอ็มเข้ามาในเมืองไทย
เพราะครั้งนั้นไม่เพียงแต่ทำให้ไทยพาณิชย์สามารถเพิ่มมาร์เกตแชร์ลูกค้าด้านรีเทลล์
แบงกิงถึง 3 เท่าภายใน 2 ปี ยังเป็นการเปิดแนวรบด้านใหม่ คือการแข่งขันด้านเทคโนโลยีระหว่างแบงก์พาณิชย์ด้วยกันเอง
เพื่อดึงฐานลูกค้าของตัวเองกลับมา
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)