BTS ยุคงูกินช้าง
“พูดง่ายแต่ทำยาก” เป็นวลีที่คีรี กาญจนพาสน์ หรือหว่อง ท่ง ซัน ประธานกรรมการบริหาร BTS Group Holding ย้ำให้ฟังอยู่หลายครั้ง เมื่อถูกถามถึงกระบวนทัศน์และศักยภาพการฟื้นฟูกลุ่มธุรกิจ BTS และธนายงกรุ๊ป
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2553)
TYONG return
ช่วงเวลาแห่งความทุกข์ หลายคนเชื่อว่ามักจะผ่านไปอย่างเชื่องช้า ไม่เหมือนช่วงเวลาแห่งความสุขที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วคล้ายลมพัด เวลาของคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัทธนายง ก็คงเดินไปอย่างช้าๆ ตั้งแต่บริษัทธนายงเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูในปี 2540 แต่จากนี้ไปเวลาของเขาก็คงจะเดินเร็วขึ้นเหมือนปกติ เพราะบริษัทธนายงกำลังจะออกมาโลดแล่นเหมือนเดิมแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2550)
มงคล กาญจนพาสน์
ตลอด 20 ปีของนิตยสารผู้จัดการ ได้บันทึกประวัติศาสตร์ชีวิตธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลอย่าง
"อึ้ง จือ เม้ง" หรือ "มงคล กาญจนพาสน์" และลูกๆ ไว้ตลอดในแต่ละความเคลื่อนไหวที่สำคัญของเขา
นับจากครั้งแรกในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 2, 9 และ ฉบับที่ 21 เดือนพฤษภาคม
2528 ในเรื่องปก "ศึกชิงสำนักน่ำไฮ้"
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546)
คีรี กาญจนพาสน์
ด้วยความเป็นลูกชายคนที่ 7 ใน 11 คน ของมงคล และศิริวรรณ กาญจนพาสน์ ซึ่งเป็นตระกูลที่ถือครองที่ดินผืนใหญ่ที่สุดตระกูลหนึ่งของไทย
คีรี หรือ "หว่อง จง ซัน" เป็นลูกชายที่สนิทกับมงคลมากที่สุด เขาจากเมืองไทยตั้งแต่อายุ
13 แล้วเติบใหญ่ในฮ่องกง แต่ตามประสาวัยรุ่นใจร้อน เขาเรียนจบแค่ไฮสกูลจากเกาลูน
แล้วเผชิญชีวิตด้วยลำแข้งของตัวเองแบบ street fighter ตั้งแต่เยาว์วัย
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546)
คีรี กาญจนพาสน์ "นักสู้จำเป็น"
ถึงแม้ว่า ตลอดปี 2543 ที่ผ่านมา คีรี กาญจนพาสน์จะระดมกลยุทธ์ทกรูปแบบในการลดราคาค่าโดยสารเพื่อขนคนขึ้นรถให้ได้มากที่สุด เพื่อสู้กับภาระดอกเบี้ยที่แบกอยู่ถึง 8 ล้านต่อวัน แต่ ณ วันนี้ดูเหมือนว่าทำอย่างไรก็ไม่มีทางถึงเป้า 6 แสนคนต่อวันที่วางไว้
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543)
คีรี กาญจนพาสน์ นักสู้แห่งทศวรรษ
รถไฟฟ้า BTS เปิดใช้มาเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2543 ที่ผ่านมา ดังนั้น วันนี้คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร จึงได้ฟันธงออกมา แล้วว่าตัวเลขของการใช้รถ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2 แสนคนต่อวัน และมีรายได้วันละประมาณ 4-5 ล้านบาทนั้น เป็นตัวเลข ที่แท้จริง
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543)
ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าของ คีรี กาญจนพาสน์
ท่ามกลางซากปรักหักพังของเศรษฐกิจ รถไฟฟ้า BTS กลับฟันฝ่ามาได้โดยไม่ล้มพับลงมา เป็นเรื่องที่น่าคิดว่าปลายทางรถไฟฟ้ายังมีอะไร จนสร้างแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ ทำให้คีรี กาญจนพาสน์ หยุดไม่ได้
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543)
เกษม จาติกวณิช รถไฟฟ้า BTS สุดยอดการทำงาน
บทบาทของเกษม จาติกวณิช มึความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของโครงการรถไฟฟ้าธนายง และประสบการณ์ที่เขาได้รับจากโครงการเป็นความยากลำบากที่สุดในชีวิตการทำงานของเขา
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543)
จุดวิกฤตก่อสร้าง บีทีเอส ปี 2541 หมดวาสนาเห็นรถไพฟ้า
ทันทีที่บีทีเอสตอกเสาเข็มต้นแรก เพื่อวางรากฐานราก โครงการ "รถไฟฟ้าธนายง"
ความวิตกกังวลของคนกรุงเทพฯ ก็คือ การจราจรจะต้องถึงจุดวิกฤตแน่ ไม่เพียงเท่านั้น
ยังมีคำถามตามมามากมาย โดยเฉพาะเส้นทางก่อสร้างที่ต้องผ่านสิ่งปลูกสร้างเดิม
ซึ่งแม้แต่บีทีเอส ก็ยังไม่มีคำตอบ ว่าจุดวิกฤตเหล่านั้นจะแก้ปัญหาอย่างไร?
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)