ไอทีวี : จุดเริ่มต้น-เปลี่ยนแปลง ที่มักมาหลังวิกฤต
เจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ไอทีวี มีที่มาจากวิกฤติการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ในปี 2535 ซึ่งผู้คนในสังคมถูกปิดหูปิดตาจากสื่อของรัฐ ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ ทำให้ไม่สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ที่แท้จริงบนถนนราชดำเนินที่รุนแรงถึงขั้นมีผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2549)
เจ้าหนี้ทำ Hair cut 45% ไทยออยล์ต้องจ่ายไปด้วยราคาสูง
แม้จะโชคร้ายเจออุบัติเหตุถังน้ำมันระเบิด มีค่าเสียหายสูงมากสำหรับไทยออยล์ แต่ก็ยังได้รับความเห็นใจจากเจ้าหนี้อยู่บ้าง การเจรจาซื้อลดหนี้จึงสามารถผ่านไปได้อย่างเรียบร้อย ทำให้ไทยออยล์ลดมูลหนี้ลงได้มาก
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543)
จุลจิตต์ บุณยเกตุ "ภาระกิจผมจบแล้ว"
"ภารกิจผมจบแล้ว"หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม
2542 ได้อนุมัติแผนการปรับโครงสร้างหนี้บริษัทไทยออยล์แล้วนั้น จุลจิตต์
บุณยเกตุ ก็ถือว่าภาระหน้าที่หลักของเขาในการแก้ไขปัญหาหนี้ของไทยออยล์ และปรับโครงสร้างการบริหารงานเพื่อ
กอบกู้กิจการโรงกลั่นน้ำมันที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ยุติลงแล้ว
อย่างไรก็ดี ในส่วนของไทยออยล์นั้นยังมีเรื่องใหญ่ๆ รออยู่เบื้องหน้าคือการควบรวมกิจการเข้ากับหน่วยการตลาดของ
ปตท. ซึ่งจุลจิตต์ก็ค่อยๆ ปรับองค์กรเพื่อรองรับแผนการควบรวมฯ ด้วยแล้ว ในเบื้องต้นอาจจะมีการทำงานร่วมกันในแบบ
alliance ก่อน เพื่อรอให้ผ่านแผนการปรับโครงสร้างหนี้ครั้งนี้ ซึ่งคาดว่าน่าจะรู้ผลได้ภายใน
15 ตุลาคม อันเป็นวันที่เจ้าหนี้ต้องลงมติ ว่าจะรับหรือไม่รับแผนฯ ฉบับนี้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542)
หัวเลี้ยวหัวต่อไทยออยล์ รอพิสูจน์ฝีมือ จุลจิตต์
การประกาศพักการชำระหนี้ของบริษัทไทยออยล์เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2541 ต้องถือเป็นการเสียเครดิตเรื่องการเงินครั้งแรกของบริษัทชั้นนำ
ที่มีประวัติความน่าเชื่อถือทางการเงินดีที่สุดในประเทศไทย บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน
เพียง 20 ล้านบาท แต่สามารถใช้เครดิตกู้เงินมาขยายธุรกิจและสร้างสินทรัพย์มูลค่าสูงถึง
103,369 ล้านบาท และสร้างภาระหนี้สินเป็นจำนวนถึง 73,000 ล้านบาท ผู้คนต่างกล่าวขานว่าเป็น
"เรื่องน่าทึ่งอย่างมาก" อีกเรื่อง หนึ่งในวิกฤติฟองสบู่แตกครั้งนี้
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2542)
จุลจิตต์ บุณยเกตุ THE MAN BEHIND..มีชัย
หลายคนอาจประหลาดใจว่า ทำไมจุลจิตต์ บุณยเกตุหรือ
เจ.เจ.จึงมานั่งตำแหน่ง ที่ปรึกษาประธานบอร์ดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
(ทศท.) ให้กับมีชัย วีระไวทยะ ทั้งๆ ที่ก็มีตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการไทยออยล์
และยังนั่งเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจทางด้านทีวีอีก 2 ตำแหน่ง
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2541)
จุลจิตต์ บุณยเกตุ ถึงเวลาต้องทิ้งสยามทีวี
ชายวัยกลางคนร่างสันทัดมาดเท่ห์ อารมณ์ดี ชอบสูบไปป์เป็นนิจสินเป็นบุคลิกของจุลจิตต์
บุณยเกตุหรือที่ใครต่อใครมักเรียกขานสั้นๆ ว่า เจ.เจ.ที่มักพบเห็นอยูเป็นประจำ
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539)
"จุลจิตต์ บุณยเกตุ มืออาชีพโปร่งใสใน อสมท."
"ผมพร้อมที่จะลาออกจากการเป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดนี้" จุลจิตต์
บุณยเกตุ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยออยล์กล่าวในการประชุมคณะกรรมการ
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) เพื่อแสดงจุดยืนว่า ตนไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับผลประโยชน์ใน
อสมท. ใด ๆ ทั้งสิ้น
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)
จะปล่อยน้ำมันราคาน้ำมันลอยตัว ต้องทำทั้งระบบ
เรื่องราคาน้ำมันลอยตัว เริ่มเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ
ฉบับที่ 6 ซึ่งรัฐบาลต้องการแยกปัญหาเรื่องน้ำมันออกจาการเมือง ให้เอกชนเข้ามาลงทุนขนาดใหญ่มากขึ้น
ขณะเดียวกัน ก็สอดคล้องกับการปกครอง ที่เริ่มเป็นประชาธิปไตยเต็มตัว จนเวลานี้เรามีนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2533)