ก่อนถึงจุดแตกหัก
ลำดับเหตุการณ์กรณีการปรับโครงสร้างหนี้ บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย(ทีพีไอ) และสรุปข่าวเหตุการณ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2542
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543)
ส่งแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ เจ้าหนี้-รัฐบาลไทยโล่งอก
กลางเดือนมกราคม 2543 บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมิกัลไทย(ทีพีไอ)
และเจ้าหนี้ของบริษัทได้ยื่นแผนฟื้นฟูกิจการและปรับโครงสร้างหนี้ราว 3.5 พันล้านดอลลาร์ต่อศาลล้มละลาย นับเป็นก้าวสำคัญในการแก้ปัญหาหนี้สินที่ยืดเยื้อมากว่าสองปี และยังเป็นการสะสางปัญหาเงินกู้ที่ไม่ก่อรายได้ครั้งใหญ่ที่สุดของไทยด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543)
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ "Sign or be sued"
หัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของ TPI Group กำลังเกิดขึ้นในเดือนนี้ นั่นคือการปิดฉากเจรจาประนอมหนี้ แต่ผลที่ออกมาจะเป็นการเซ็นสัญญา หรือการฟ้องล้มละลาย ต้องจับตาดูต่อไป
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543)
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ "บัลลังก์สะเทือน"
พฤติกรรมของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ กล้าแกร่งและดุดันที่แสดงออกมาจนล้น แต่ภายใต้เปลือกที่ดูแข็งกร้าว
ประชัย คือ คนที่เต็มไปด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผู้มองการณ์ไกลที่เปลี่ยนโฉมหน้าวงการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
มิใช่เพียงช่องทางการทำมาหากินให้กับตัวเอง แต่ยังมีผลสำคัญต่อผู้คนอย่างมาก
หากเป็นคนอื่น แค่นี้คงเพียงพอ แต่ไม่ใช่ประชัย การเดินทางครั้งแล้วครั้งเล่าทำให้เขาประสบความสำเร็จมากมาย
แต่หลังจากเศรษฐกิจไทยพังทลาย อาณาจักรของเขาก็สั่นสะเทือน คนอย่างประชัย
ถอยหลังแล้วหกล้ม จะชอบหรือเกลียดเขาก็ตาม เขานี่แหละนักสู้ตัวยงขนานแท้คนหนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2542)
กลุ่ม TPI : เจ็บนี้อีกนาน
จากที่เคยผงาดอยู่บนเส้นทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและปูนซีเมนต์ของกลุ่ม TPI
ด้วยกลยุทธ์ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ครบวงจร ปัจจุบันกลับต้องดินรนเพื่อความอยู่รอดเพราะขาดสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้นจึงต้องเร่งเสริมสร้างสภาพคล่อง ไม่ว่าจะเป็นขายธุรกิจปูนซีเมนต์ ขายที่ดินหรือหาผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ เพื่อกลับมาผงาดได้อีกครั้ง !!
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2540)
โรงถลุงเหล็กแห่งแรกของไทยกับข้อเรียกร้องที่แปลกออกไป
มีความมั่นใจกันอย่างมากมาย ทั้งภาครัฐและเอกชนว่า ถ้าประเทศไทยมีอุตสาหกรรมเหล็กในลักษณะพื้นฐานถึงจุดเริ่มต้น
อย่างโรงถลุงแร่เหล็ก เมื่อนั้นอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องต่างๆ จะเติบโตและพัฒนาตามไปอย่างมาก
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540)
"โรงเรียน-โรงงาน" ของทีพีไอ เสริมทัพอุตสาหกรรมของประชัย เลี่ยวไพรัตน์
เพราะการเติบโตแบบก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมไทยด้านปิโตรเคมี, ปูนซีเมนต์,โรงกลั่นน้ำมัน ไปจนถึงโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้เราหนีไม่พ้นปัญหาขาดแคลนบุคลากรเหมือนดั่งได้เกิดกับอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมมาแล้วอย่างวิกฤติ แม้ในระยะสั้นจะแก้ปัญหาได้บ้างโดยใช้แรงงานสาขาใกล้เคียง และแรงงานนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ระยะยาวยังถือว่าน่าเป็นห่วง
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2538)
ทีพีไอพีแอล กับบทเรียนจากตราสารอนุพันธ์
ในระหว่างที่ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย และค่าเงินดอลลาร์ ได้ส่งผลให้เกิดความสับสนวุ่นวายต่อการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกนั้น ความประมาทเลินเล่อจาการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ ( Derivatives) ของอังกฤษอย่างแบริ่ง
บราเธอร์ ก็เข้ามาซ้ำเติมในภาวะการชงทุนที่แย่อยุ่แล้วย่ำแย่ลงไป จนยากที่จะฟื้นได้ในเร็ววัน
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2538)