ไก่กับไข่
"เพราะลูกค้าต้องการอะไรมากกว่าเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ hi-speed internet เพียงอย่างเดียว แต่ต้องการความสะดวกในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในทุกๆ สถานที่แม้จะไม่มีสายโทรศัพท์เข้าถึง" นพปฎล เดชอุดม ผู้อำนวยการและผู้จัดการทั่วไป ด้าน Main-line บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวประโยคขึ้นต้นที่รวมใจความสำคัญของงานแถลงข่าวเปิดตัวบริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือ wi-fi ในห้างสรรพสินค้าเดอะ มอลล์ เมื่อเดือนที่ผ่านมาเอาไว้แทบทั้งหมด
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548)
New era of content
โลกของคนใช้อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนไป เมื่อความเร็วในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นด้วยเทคโนโลยี "บรอดแบนด์" เช่นเดียวกับโฉมหน้าของคอนเทนต์ ที่วันนี้ทำเอาหลายคนแทบจะตั้งตัวและเรียนรู้กันไม่ทันเลยทีเดียว
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548)
Pay less : Get more
"Pay less : Get more" ตัวหนังสือภาษาอังกฤษเพียงไม่กี่ตัวอักษร ที่แปลความหมายได้ตรงตัวและกินใจผู้อ่านได้ไม่แพ้คำอื่นๆ กลาย เป็นชื่อแคมเปญล่าสุดของทรู คอร์ปอเรชั่น พร้อมพันธมิตรค่ายบัตรเครดิต 3 ราย คือค่ายเอชเอสบีซี, กรุงไทย และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน ที่เพิ่งจะผ่านพ้นการเปิดตัวและแถลงข่าวอย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2548)
Coffee at True
ต้องยอมรับว่า หนแรกที่ได้มีโอกาสยลโฉม "True Life Style Shop" ช็อปต้นแบบใหม่เอี่ยมของทรู ที่จัดตกแต่งได้อย่างลงตัวบนพื้นที่ใช้สอย 230 ตารางเมตร ของบ้านไม้สองชั้นหลังเก่าแก่ที่สุดในตรอกข้าวสาร ถึงกับทำให้ "ผู้จัดการ" เกิดความรู้สึกอบอุ่นเหมือนนั่งอยู่ในบ้านของตัวเอง
(นิตยสารผู้จัดการ 5 กรกฎาคม 2548)
Dual Phone
ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เคยสร้างปรากฏการณ์ใหม่ทางการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สายในเมืองไทยมาแล้วหนึ่งครั้งหลายปีก่อนหน้านี้ หลังจากเปิดตัว "พีซีที" โทรศัพท์แบบพกพาที่มีเลขหมายเดียวกันกับโทรศัพท์พื้นฐาน ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานหมายเลขนั้นได้ทั้งในบ้านและนอกสถานที่รอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548)
เมื่อคอมพิวเตอร์กลายเป็นทีวี
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือที่เรียกกันว่า "บรอดแบนด์" กลายเป็นเทคโนโลยีดาวเด่นที่สุดในช่วงปีที่ผ่านมา และนับจากนี้อีกหลายปีติดต่อกัน ค่ายผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือ ISP หลายราย ให้ความสำคัญกับการเปิดตัวโปรโมชั่นและทำตลาดบรอดแบนด์กันอย่างหนัก
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548)
ปีทองของหุ้น TRUE
ต้องยอมรับว่าปีที่ผ่านมาเป็นปีทองของ TRUE อีกปีหนึ่ง หลังพยายามเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่มากมาย พร้อมๆ กับการแถลงข่าวจนทัพสื่อมวลชนตั้งฉายาว่า "TRUE รายวัน" ทำให้ภาพลักษณ์ของ TRUE เกิดขึ้นในเชิงบวกของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548)
Good signal
ปีที่ผ่านมาถือเป็นปีแรกของ TRUE ที่ประสบความสำเร็จในแง่ของผลประกอบการ โดย TRUE สามารถทำรายได้เข้าบริษัทกว่า 30,000 ล้านบาท หลังจากปีก่อนหน้านี้ต้องขาดทุนกว่า 5,000 ล้านบาท
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548)
true The Lifestyle Enabler
การเปลี่ยนชื่อองค์กรและผลิตภัณฑ์จาก TA มาเป็น TRUE มิใช่เพียงแค่การ rebranding ธรรมดา แต่กลับหมายถึงการเปลี่ยนวิสัยทัศน์และเป้าหมายของธุรกิจที่ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ให้ต้องมี TRUE เข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548)
จัดกระบวนทัพ
"True Online" ซับแบรนด์ใหม่ของ True ที่รวมสินค้าที่เกี่ยวกับการออนไลน์เอาไว้ด้วยกัน แม้ในทุกวันนี้ธุรกิจออนไลน์ของกลุ่ม True ทั้งเกมออนไลน์, อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ และธุรกิจการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย อาทิ wi-fi จะสร้างรายได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับธุรกิจทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่อัตราการเติบโตของรายได้ซึ่งเกิดจากธุรกิจนี้กลับมีแนวโน้มที่จะเทียบเท่ากับธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานของบริษัทในอนาคตอันใกล้
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2548)