และแล้วก็มี "true" นำหน้า
"การทำ convergence ไม่ได้ทำง่ายๆ แค่เพียงควบรวมกิจการ หรือเปลี่ยนชื่อใหม่ที่ดูสวยหรูเพียงเท่านั้น เพราะตั้งแต่กลางปีที่แล้วจนถึงวันนี้ ทรูค่อนข้างชัดเจนว่าอย่างไรก็จะนำเสนอภาพของการรวมเข้าด้วยกันของเทคโนโลยีต่อลูกค้าและผู้ใช้งาน การเปลี่ยนชื่อเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จับต้องได้ และพยายามจะบอกว่าต่อไปนี้ยูบีซี จะให้อะไรมากกว่าที่เคยให้และเคยเป็นก่อนหน้านี้"
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550)
feel like home
พนักงานคอลเซ็นเตอร์ชายหญิงนอนเหยียดยาวบนโซฟาตัวยาวในห้องพักบนตึกญาน ตึกสำนักงานที่ทรู คอร์ปอเรชั่น เพิ่งจะลงทุนซื้อมาด้วยงบประมาณกว่าร้อยล้านบาท เป็นภาพที่ผู้บริหารของทรู บอกว่า "เป็นความพยายามของผู้บริหารเอง"
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550)
It's not just renovation
น้อยคนนักที่มักจะโยงเอาการตกแต่งบ้าน ตกแต่งสถานที่ทำงานให้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ และน้อยคนนักเช่นกันที่จะยอมลงทุนนับร้อยล้านเพียงต้องการสร้างแบรนด์จากความสวยงามของสำนักงานของตน
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550)
มือถือ+เติมเงิน=กระเป๋าเงินในมือถือ
ไม่เพียงแต่เงินสด บัตรเครดิต เอทีเอ็ม และเช็คที่เป็นสัญลักษณ์ของการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการให้กับคนทั่วไป แต่วันนี้...โทรศัพท์มือถือ คืออีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญสำหรับการเป็นกระเป๋าเงินได้ด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
Synergy ของแท้
ตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะบริหาร บริษัททรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือยูบีซี มักใช้คำว่า "convergence" ในการอธิบายให้สื่อมวลชนและผู้คนทั่วไปได้เข้าใจการเข้ามารวมกันของเทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
The "true" TV : ดูเท่าไร จ่ายเท่านั้น
ทำไมต้องทนดูละครบนหน้าจอฟรีทีวีช่วงเวลาสองทุ่มถึงสี่ทุ่ม ทั้งๆ ที่อยากจะดูรายการสารคดีประเทืองสมอง และทำไมต้องพลาดรายการโปรดเพราะยังอยู่บนท้องถนนที่ไม่มีทีท่าว่ารถคันข้างหน้าจะขยับไปทางไหนสักที ในเมื่อวันนี้คุณมีทีวีสั่งได้อยู่ในมือ
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2549)
โทรศัพท์บ้านร้องเพลงได้
ลืมเสียงโทรศัพท์แบบเก่าที่บ้านหลังไหนก็เหมือนกันหมด วันนี้โทรศัพท์บ้านยุคใหม่มีเสียงเรียกเข้าเป็นเพลงดังติดชาร์ต สลับกับเสียงโพลีโพนิกดังไพเราะกว่าที่เคย
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2549)
True Brand Concept Shop
หากหน้าร้านเปรียบเสมือนกับหน้าตาของบริษัทและสินค้าขององค์กร True Brand Concept Shop ก็คงเป็นหน้าร้านแห่งใหม่ที่กำลังทำหน้าที่ของมันในการโปรโมตหน้าตาให้กับ ทรู คอร์ปอเรชั่น เช่นเดียวกันกับการโปรโมตความเป็นทรูที่นำเสนอความเป็นผู้ให้บริการด้านไลฟ์สไตล์หรือ lifestyle enabler อย่างที่พยายามมาตลอด
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2549)
True move
นับตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปีนี้ก็ปาเข้าปีที่ 5 ของแบรนด์ "Orange" แบรนด์ธุรกิจโทรศัพท์มือถือของค่ายทรู คอร์ปอเรชั่น ที่เปิดให้บริการกับคนไทย หลังจากปี 2543 บริษัทเริ่มสนใจและมองหา license แบรนด์โทรศัพท์มือถือมาใช้ และตัดสินใจเลือก "Orange" ในเวลาต่อมา
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2549)
เจ้าของเต็มตัว
ข้อความจากบริษัทที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ของทรู คอร์ปอเรชั่น ถูกส่งมายังโทรศัพท์มือถือ และสำนักงานของสื่อมวลชนหลายแขนงในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 โดยมีใจความระบุว่า ศุภชัย เจียรวนนท์ จะนั่งเป็นประธานในงานแถลงข่าวด่วนของบริษัทในช่วงบ่ายของวันดังกล่าว
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2548)