เป้าหมายสู่ Golden Jubilee
บทบาท 25 ปีแรกของศศินทร์เพื่อป้อนบัณฑิตให้ในประเทศ 100% ปัจจุบันการเข้ามาของโลกาภิวัตน์ทำให้ธุรกิจไม่สามารถอิงกับพื้นที่ตั้งเพียงอย่างเดียว บทบาทของศศินทร์ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป ทั้งศาสตราจารย์เติมศักดิ์ กฤษณามระ, กิตติรัตน์ ณ ระนอง และเหล่าศิษย์เก่าต่างคิดตรงกันว่า นับแต่นี้ไปศศินทร์จะต้องเป็น International Business School ชั้นนำในภูมิภาคนี้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
เติมศักดิ์ กฤษณามระ ผอ. เพียงคนเดียวของศศินทร์
หลายคนคงเกิดคำถามอยู่ในใจว่า เขาทำได้อย่างไรในฐานะนักบริหารการศึกษาไปพร้อมๆ กับการบริหารสายสัมพันธ์กับบุคคลที่มีชื่อเสียง เขาอายุครบ 80 ปี เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่ยังดูแข็งแรงและมีความสุข ในขณะที่นั่งให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการ" กว่า 2 ชั่วโมง เขาบอกว่าครั้งนี้จะเป็นสมัยสุดท้ายที่จะทำงานเป็นผู้อำนวยการศศินทร์ ซึ่งจะครบวาระในอีก 2 ปีข้างหน้า หรือครบวาระดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 7
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
ความสำคัญของ Networking
องอาจ ประภากมล ยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ว่า การตัดสินใจเข้าเรียนต่อ MBA ที่ศศินทร์ของเขา เพราะเขาเห็นความสำคัญของคำว่า Networking องอาจเป็นศิษย์เก่าหลักสูตร MBA รุ่นที่ 8 ปี 2533 ปัจจุบันเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายคอมเมอร์เชียล บริษัททรู วิชั่นส์
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
เรียนตอนเช้า บ่ายเอามาใช้ทันที
ชาญ ศรีวิกรม์ ถือเป็นบทพิสูจน์ได้อย่างหนึ่งว่า การเรียน MBA ในเมืองไทยก็ได้ผลลัพธ์ไม่แตกต่างจากการเดินทางไปเรียนถึงเมืองนอกที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงกว่า
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
จุดเปลี่ยนเส้นทางชีวิตของ ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์
ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ เป็นอีกผู้หนึ่งที่เส้นทางชีวิตเปลี่ยนแปลงไปชนิดที่เรียกได้ว่า 360 องศา เพราะมีโอกาสเข้าเรียนที่ศศินทร์ เขาเป็นศิษย์เก่าหลักสูตร MM (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น EMBA) รุ่นที่ 3 เข้าเรียนในปี 2528
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
บริษัทหลักทรัพย์ภัทรฯ แหล่งรวมศิษย์เก่าศศินทร์
อาจไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่บัญชา ล่ำซำ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดศศินทร์ ทำให้วิโรจน์ นวลแข ตั้งแต่สมัยยังเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ ที่มีเครือธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ตัดสินใจเลือกศศินทร์เป็นสถาบันการศึกษาเป้าหมายแห่งหนึ่งที่ภัทรธนกิจจะให้ทุนกับผู้บริหารไปเรียนต่อปริญญาโทด้านการบริหารจัดการ (MBA) จากที่นี่ ตั้งแต่รุ่นแรกที่เริ่มเปิดการสอนในปี 2526
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
กว่า 40% ของกองทุนรวม บริหารโดยศิษย์เก่าศศินทร์
"เงินออมที่อยู่ในกองทุนรวมทุกวันนี้มีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านบาท คุณอยากให้ฝรั่งมาเป็นผู้บริหารหรือเปล่า ถ้าถามคนลงทุนหรือลูกค้า เขาอาจจะบอกว่าใครก็ได้ขอให้ได้ผลตอบแทนดีที่สุด ผมก็คิดยังงั้น แต่ว่าถ้าดูเทียบกับภาพรวมของประเทศแล้ว เศรษฐกิจเงิน 1 ล้านล้าน อยู่ในมือการจัดการของฝรั่งหรือคนต่างชาติ ซึ่งมุมมองหรือความสนใจของเขาอยู่ที่อื่น ไม่ได้โฟกัสอยู่ในไทย มันเหมาะสมหรือเปล่า แม้ว่าคนเหล่านั้นจะเก่งก็ตาม"
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
25 ปี ศศินทร์ ศาสตร์ของ Business School
"ปัญญาเป็นแสงสว่างรุ่งเรืองในโลก บัณฑิตทั้งหลายย่อมดัดฝึกตน" เป็นคำกล่าวของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่ปรากฏเป็นตัวหนังสือสีทองที่ติดภายในอาคารเรียนด้านหน้าของตึกศศปาฐศาลา (Sasa Patasala) ของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin Graduate Institute of Business Administration of Chulalongkorn University) เพื่อย้ำเตือนให้บัณฑิตศศินทร์ทุกคนได้ตระหนักว่าคุณค่าของการศึกษานั้นสำคัญเพียงใด
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
Sasin A Powerful Business Network
การเรียน MBA มิใช่เพียงแค่การศึกษาวิชาการเกี่ยวกับการบริหารจัดการเท่านั้น สิ่งที่ได้รับจากชั้นเรียนยังมีอีกมาก และจะยิ่งทรงพลังมากขึ้นทุกวัน ตามอายุของสถาบันการศึกษาและการเจริญเติบโตในหน้าที่การงานของศิษย์เก่า ซึ่ง ณ วันนี้ศศินทร์ได้เดินทางมาถึงจุดนี้แล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)