การรอคอยของ LOXBIT
หลังจากใช้เวลารอคอยมาถึง 7 ปีเต็ม บริษัทไอทีเก่าแก่ที่มีอายุ 22 ปีแห่งนี้ ก็ประสบผลสำเร็จในการนำบริษัทเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากพูดถึงบริษัทซี.เอส. ล็อกซอินโฟ หลายคนอาจคุ้นเคยชื่อนี้เป็นอย่างดี เพราะเป็นไอเอสพีรายล่าสุดที่เพิ่งจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปหมาดๆ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2547)
มืออาชีพในยุคทีเอ ไม่บุกไม่ได้แล้ว
ชิตชัย นันทภัทร์ และทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์
เป็นสองมืออาชีพคนล่าสุดของเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น
เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการตามโครงสร้างองค์กรใหม่ของทีเอ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546)
tutor2you.com สื่อเรียนเสริมทางไกลจาก LOXLEY
หากเปรียบเทียบกระบวนการศึกษา เป็นประหนึ่ง
จักรกลในการผลิต โดยมีบุคลากรที่มีคุณภาพ
เป็นผลิตผลที่สำคัญของกระบวนการนี้
ครู ซึ่งถือเป็นหน่วยสำคัญที่สุดในกระบวนการศึกษา ก็คงมีฐานะไม่แตกต่างจากฟันเฟืองที่ทำหน้าที่เคี่ยวกรำให้ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพ
แต่จะเกิดอะไรขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544)
จากตะวันโมบายสู่ "ฮัทชิสัน"
การกลับมาใหม่ของ
ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
ระบบ 1900 ที่เคยได้ชื่อว่า
มีลูกค้าน้อยที่สุด
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544)
โลกส่วนตัวของวสันต์ จาติกวณิช
"ผมชอบคอมพิวเตอร์" ใครจะคิดว่าประโยคสั้นๆ ของวสันต์
จาติกวณิช กรรมการบริหาร บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) จะมีความ หมายมากมายกว่าคำว่าชอบ
ทุกๆ เช้า วสันต์จะตื่นนอนตั้งแต่ตี 4 เริ่มกิจกรรมแรกยามเช้าส่งโจ๊กขำขัน
(Dirty joke) ผ่านอีเมลไปให้กลุ่มสมาชิกที่มีอยู่มากกว่า 500 คน ตามประสาของคนครื้นเครงที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542)
"ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์" คีย์แมนผู้สรรหาพันธมิตรให้แก่ล็อกซเล่ย์
หลังจากใช้ชีวิตอยู่ต่างแดนนาน กว่า 20 ปี ในที่สุดดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์
ได้กลับมาใช้ชีวิตใกล้เกษียณต่อที่เมืองไทย โดยเข้าร่วมงานกันบริษัท ล็อกซเล่ย์
จำกัด (มหาชน) เป็นเวลาร่วม 2 ปีแล้ว ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการรับ
ผิดชอบงานฝ่ายต่างประเทศ
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542)
วสันต์ จาติกวณิช ล็อกซเล่ย์วันนี้ขอเป็นแค่หมูตัวเล็กๆ
แม้จะโดนภาวะเศรษฐกิจขาลงพ่นพิษเข้าให้ แต่ด้วยความที่ยึดนโยบายอนุรักษนิยมมาโดยตลอด
หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าขยายธุรกิจอย่างเชื่องช้าแบบระมัดระวัง ไม่ลงทุนแบบตูมตามเหมือนคนอื่น
ล็อกซเล่ย์จึงยังไม่ออกอาการให้เห็นแบบหนักๆ เหมือนกับกลุ่มธุรกิจตระกูลอื่นๆ
ที่ลงทุนแบบไม่ลืมหูลืมตา
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2541)
"วรัดดา หลีอาภรณ์ แนวรบด้าน "มีเดีย"ของล็อกซเล่ย์"
ที่จริงแล้ว วรัดดา หลีอาภรณ์ จะต้องทำงานเป็นฮาร์ดแวร์เอ็นจิเนียร์ในหน่วยงานวิจัยสักแห่ง
หลังจากคว้าใบปริญญาตรีทางด้านคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ
แทนที่เธอจะต้องคลุกอยู่กับศาสตร์ของการคำนวณ เธอกลับต้องมาใช้ชีวิตในสายวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่ไม่เคยอยู่ในตำราก่อนถึง 7 ปีเต็ม
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
"ล็อกซเล่ย์จัดกระบวนทัพ "ยอมพลาดโอกาสดีกว่าเสี่ยง"
ดูเหมือนจะเป็นธรรมเนียมของแทบทุกองค์กรพอถึงต้นปีก็ต้องมีการปรับโครงสร้างอค์กรใหม่ให้มีความกระฉับเกระเฉงมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะเศรษฐกิจซบเซาเช่นนี้ ทำเอาหลายองค์กรต้องหันมา "รีสตรัคเจอร์"
องค์กรให้มีความกระชับและลดค่าใช้จ่ายลงทุกทาง
เช่นเดียวกับล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) บริษัทเทรดดิ้งเก่าแก่ของเมืองไทย
ที่มีนักธุรกิจมากมายจนได้ชื่อว่าค้าขายตั้งแต่ "ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ"
ก็ถึงคราวต้องปรับองค์กรกันอีกครั้งเพื่อรับมือกับภาวะที่เกิดขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)
4 กลุ่มใหญ่ต้นกำเนิด TT&Tจัสมิน & ล็อกซเล่ย์ ใครใหญ่จริง
หลังจากรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน มีนโยบายให้หั่นโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายที่กลุ่มซีพีเป็นผู้ประมูลได้ให้เหลือเพียง 2 ล้านเลขหมาย และให้ทำเฉพาะในเขตกรุงเทพ ส่วนเหลืออีก 1 ล้านเลขหมายให้เปิดประมูลใหม่และให้ขยายในต่างจังหวัด ซึ่งกลุ่มล็อกซเล่ย์ จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ภัทรธนกิจ อิตาเลี่ยนไทย และกลุ่มเอ็นทีทีเป็นผู้คว้าชัยชนะไปในครั้งนั้น
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539)