"การบุกเบิกต่างประเทศของ BBL"
สาขาต่างประเทศของแบงก์กรุงเทพสามารถสร้างผลกำไรได้ประมาณปีละกว่า 1,000
ล้านบาท หรือคิดเป็น 10% ของผลกำไรรวมของธนาคาร มีการอำนวยสินเชื่อของสาขาในต่างประเทศเมื่อสิ้นปี
2534 รวม 95,192 ล้านบาทหรือคิดเป็น 19% ของตัวเลขการการปล่อยสินเชื่อทั้งหมดของธนาคาร
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536)
"วิชิต สุรพงษ์ชัยมาแทนชาตรี"
ยังไม่ถึงเวลาของโทนี่ที่จะรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพราะเขาต้องเรียนรู้สายงานให้กว้างขวางกว่านี้
" ชาตรี โสภณพนิช บิ๊กบอสส์ แห่งแบงก์กรุงเทพยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวถึง
"ชาติศิริ" ลูกชายวัย 33 ปี ขณะที่ชาตรีอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะลงจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ระหว่างสิ้นปี
2535 หรือสิ้นปี 2536
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535)
"ธนาคารกรุงเทพ"
ธนาคารกรุงเทพสาขาพนมเปญเพิ่งเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา
เป็นกิจการธนาคารพาณิชย์จากประเทศไทยรายล่าสุดที่รุกเข้าไปในกัมพูชา ส่วนทำเลที่ตั้งสำนักงานอยู่ในบริเวณตลาดกลาง ใกล้กับธนาคารกลางของกัมพูชา
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535)
"ทุนเท็กซ์" คว้าโครงการพีทีเอ ชัยชนะของ "แบงก์กรุงเทพ"
หลายคนบอกว่างานนี้เป็นชัยชนะของแบงก์กรุงเทพ วันนั้น 30 กันยายน 2534 บอร์ดใหญ่ของบีโอไอซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่งได้ตัดสินให้บริษัท ทุนเท็กซ์ ไต้หวันเป็นผู้ชนะในโครงการพีทีเอ เฉือนอโมโก้จากสหรัฐอเมริกาไปอย่างลอยลำทั้งที่เดิมอโมโก้เป็นตัวเต็งที่ทุกฝ่ายเห็นว่าเขาจะคว้าชัยชนะในครั้งนี้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534)
แบงก์กรุงเทพยังทำ TRADE FINANCE ข้าวเป็นอันดับหนึ่ง
ข้าวเคยเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของไทยมาเป็นเวลานานและปัจจุบันก็ยังเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าส่งออกที่มีมูลค่าสูงติดอันดับ
1 ใน 5 ของสินค้าเกษตรกรรมส่งออกของไทย ตลาดสำคัญในเวลานี้คือประเทศในแถบตะวันออกกลาง
แต่ตลาดเอเชียนั้นก็ยังเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งอยู่เหมือนเดิม
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534)
โสภณพนิชที่ 3 ในแบงก์กรุงเทพ ?
สิ้นบุญ ชิน โสภณพนิช ยังไม่ถึงปีดี โชติ โสภณพนิช บุตรชายคนที่ 3 ของเขาก็ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการใหญ่แบงก์กรุงเทพได้สำเร็จ
โดยไม่มีใครทัดทานความประสงค์ของเขาอีกต่อไป
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532)
พิพัฒน์ ตันติพิพัฒน์พงศ์ "ซัน ทัค ซุย"
"พิพัฒน์ ตันติพิพัฒน์พงศ์" ทุกวันนี้เขายังชอบที่จะเก็บตัวอยู่อย่างเงียบเชียบ ไม่พอใจอย่างมากหากรับรู้ว่าตังเองต้องตกเป็นข่าวไม่ว่าในเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งที่ความเป็นจริงทุกวันนี้เขาไม่ใช่ซัน ทัค ซุย พ่อค้าจีนไต้หวันกระจอก ๆ คนหนึ่งอีกแล้ว เขาไม่ใช่ผู้ถือหุ้นมากที่สุดในแบงก์กรุงเทพแต่ก็เป็นคนสำคัญที่อาจสามารถชี้อนาคตแบงก์ใหญ่แห่งนี้ได้เป็นอย่างดีและยังไม่นับถึงการเคลื่อนไหวสู่โลกธุรกิจอุตสาหกรรมอีกหลายแขนงที่น่าจับตามองในความสำเร็จเกินคาดคิด และจิตสำนึกทางธุรกิจของเขานับเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง !!!
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2531)