Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article Profile Photo

industry
company
a - e
f - l
m - r
s - z
ก - ง
จ - ฌ
ญ - ฑ
ฒ - ถ
ท - ป
ผ - ภ
ม - ว
ศ - ฮ
0 - 9

people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ124  
Positioning9  
ผู้จัดการรายวัน119  
ผู้จัดการรายสัปดาห์6  
PR News186  
Web Sites1  
Total 439  

Listed Company
Manager Lists
 
Company > ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.


นิตยสารผู้จัดการ (31 - 40 of 124 items)
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ "การพัฒนา SMEs ต้องทำครบวงจร" "เงินกู้บัวหลวง เพื่อ SMEs" เป็นโครงการสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) โครงการล่าสุดที่ธนาคารกรุงเทพได้เปิดให้บริการตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้สินเชื่อระยะยาวกับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการลงทุน ขยายกิจการ และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544)
สามแบงก์ยักษ์ใหญ่กับการฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้ธนาคารพาณิชย์แทบสูญพันธุ์ มีเพียงธนาคาร 3 แห่ง ที่เป็นไทยแท้ และบาดแผลจาก การฝ่าฝันกระแสพายุเศรษฐกิจ นับว่าสร้างความเสียหายให้ไม่น้อย(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544)
ธนาคารไทยยุคก่อนล่มสลาย (2505-2540) ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย ศรีนคร ไทยพาณิชย์ เป็นโมเดลตัวอย่างสำคัญในการเข้าใจความสำเร็จ ความล้มเหลว และการปรับตัวของธนาคารไทย เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 จนระบบธนาคารไทยแบบดั้งเดิมต้องสลายตัวลง(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543)
จุดจบแบงเกอร์ไทย โฉมใหม่อุตสาหกรรมธนาคาร 14 สิงหาคม เป็นวันที่หลายคนรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ แม้จะมีข้าวแพลมออกมาเป็นระยะๆ เกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงินที่ไม่สามารถเพิ่มทุนได้ด้วยตัวเอง และแนวทางการดำเนินการธนาคาร 4 แห่ง ที่รัฐบาลประกาศเข้ายึดอำนาจการบริหารและการถือหุ้นเมื่อ 23 ม.ค. (ธ.ศรีนคร) และ 6 ก.พ. 2541 (ธ.นครหลวงไทย, ธ.มหานคร และ ธ.กรุงเทพฯ พาณิชย์การ) แต่ปฏิบัติการจริงๆ เริ่มได้หลังเจรจาปรึกษากับเจ้าที่ไอเอ็มเอฟและเอดีบี - เจ้าของเงินกู้รายใหญ่ของประเทศไทยตอนนี้(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541)
BBL วิ่งสู้ฟัด หันจับลูกค้าคอร์ปอเรท ในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง แม้ยักษ์ใหญ่ในวงการธนาคารพาณิชย์อย่างธนาคารกรุงเทพจะกระเทือนไม่มากนัก ยังต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ Purchasing Card บัตรเครดิตเพื่อตลาดคอร์ปอเรทโดยเฉพาะ เพราะอนาคตภายหน้ายังไม่มีใครทำนายได้ว่าเศรษฐกิจประเทศจะโงหัวขึ้นหรือหักหัวดิ่งลงเหว(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540)
ชาติศิริ โสภณพนิชรอยต่อรุ่นที่ 3 ของธนาคารกรุงเทพแค่รักษาความเป็นหนึ่งก็ยุ่งน่าดู 10 กว่าปีก่อน ชาตรี โสภณพนิช ได้ทำให้เจ้าสัวชิน ประมุขแห่งตระกูลสามารถวางมือจากธุรกิจอย่างวางใจในอภิชาตบุตรคนนี้ ด้วยตัวเลขความเติบโตอย่างรุดหน้าที่ทำให้แบงก์บัวหลวงยังคงครองความเป็นที่ 1 มาตลอด แต่มาถึงวันนี้ ทายาทรุ่นที่ 3 ของบัวหลวงที่ชื่อว่า ชาติศิริ จะสามารถทำได้อย่างเดียวกันหรือไม่(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539)
รัชนีพรรณ ยุกตะเสวี ผู้จัดการบริหารกองทุนสำรองเลื้ยงชีพของ BBL "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นวิธีการระดมเงินออกเพื่อใช้พัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมได้ทางหนึ่งและประเทศไทยเองก็ยังมีโอกาสที่จะระดมเงินออมในลักษณะนี้ได้อีกมาก เพราะในปีที่ผ่านมายอดคงค้างของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีอยู่แล้วในระบบมีไม่ถึง 1.5% ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยมาก และมีผู้เข้าร่วมกองทุน หรือผู้ร่วมในการออมแบบนี้ประมาณร้อยละ 2 ของแรงงานทั้งหมด"(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539)
"นิตยา วิรัชพันธ์ ผู้เปิดฉาก "ไพรเวทแบงกิ้ง" ด้วยกลยุทธ์ง่าย ๆ "นิตยา วิรัชพันธุ์" สามารถฉ้อโกงแบงก์กรุงเทพมาได้เป็นเงินถึง 266 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ เพียงแต่นิตยานั่งทำงานในส่วนที่ไม่ธรรมดา "ไพรเวทแบงกิ้ง" เป็นธุรกิจที่เป็นหน้าเป็นตาของแบงก์กรุงเทพและเป็นการันตีแห่งความน่าเชื่อถือในตัวนิตยา มาวันนี้นิตยาปิด "ธนาคารส่วนตัว" ของเธอพร้อมกับทำลายความน่าเชื่อถือของไพรเวทแบงกิ้งอย่างยับเยิน นิตยาเป็นใคร เธอทำได้อย่างไร เงินหายไปไหน? ตั๋วบี/อีปลอมระบาดไปแค่ไหน?(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)
"ไพรเวท แบงกิ้ง ทำไมหละหลวมถึงขนาดนี้ ?" "ทำไมนิตยาจึงโกงได้บ่อย ๆ เป็นปี แสดงว่าระบบการตรวจสอบไม่ชัดเจนทั้ง ๆ ที่เรื่องโกงนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2536 คือตั๋วบี/อีของลูกค้ารายหนึ่งเริ่มมีปัญหา แต่ลูกค้าซึ่งเป็นคุณยายรายนั้นไม่ไหวตัว เพราะยังได้รับดอกเบี้ยตามสัญญาทุกเดือนจนกระทั่งแกมารู้จากหนังสือพิมพ์เจอประกาศแจ้งจับ แกจึงมาร่วมแจ้งความด้วย นั่นแสดงว่าถ้าคุณนิตยาหมุนเงินได้ทันเรื่องก็ไม่แดงออกมาและเรื่องนี้อย่าให้คิดเลยว่าจะเสียหายมากมายกว่านี้สักแค่ไหน(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)
"ตั๋วบี/อี มหาภัย ระวังโง่-งก-เงิน" จากตั๋วบี/อีปลอมกระดาษแผ่นเดียวหลายกอปปี้ที่เขียนข้อความว่า "ตั๋วแลกเงิน" (BILL OF EXCHANGE) ของบริษัทปราณบุรี พร๊อพเพอร์ตี้ส์ ที่สุรพงษ์ ใจงาม กรรมการผู้จัดการ เซ็นชื่อเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินและสั่งจ่ายแบบ WITHOUT RECOURSE ที่ไม่ต้องรับผิดชอบกรณีตั๋วเงินถูกปฏิเสธ กลายเป็นเรื่องไฟลามทุ่งที่ขยายไปถึงตลาดซื้อขายตั๋วแลกเงินที่กำลังสะพัดมูลค่าถึง 3-4 แสนล้านบาท(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539)

Page: 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 ..





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us