ซี.พี.ลาว เล็กแต่มากโอกาส
คนที่เข้าไปซื้อของตามมินิมาร์ทในนครหลวงเวียงจันทน์ทุกวันนี้ คงได้เห็นไข่ไก่แพ็กตรายี่ห้อ CP วางขายเหมือนกับที่มีอยู่ในร้านเฟรชมาร์ทในไทย ปรากฏการณ์นี้ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเผยแพร่อาหารแบรนด์ CP ใน สปป.ลาวเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2552)
กระบวนการสร้างแบรนด์ "CP"
ภาพโลโกตัวอักษร "CP" สีแดงบนพื้นเหลือง ในวงกลมสีแดงและขาวบนซองแดง บนชั้นในแผนกอาหารของซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ สำหรับคนไทยวันนี้ก็ดูจะเป็นสิ่งที่คุ้นตาไปแล้ว เพราะนอกจากจะมีให้เห็นได้ทั่วไป หาซื้อมารับประทานได้รวดเร็วทันใจ ในคุณภาพดีที่ราคาพอเอื้อมถึงแล้ว เรายังพบเห็นสินค้าเหล่านี้ในโฆษณาอย่างแพร่หลาย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2551)
เป้าหมายที่ท้าทายของ "อดิเรก ศรีประทักษ์"
แม้ว่าจะไม่ค่อยได้ยินคนพูดถึงนโยบาย "Kitchen of the World" กันเหมือนเมื่อครั้งที่ภาครัฐชูประเด็นการยกระดับธุรกิจอาหารของไทยให้ยืนหยัดบนเวทีการค้าในฐานะ "ครัวของโลก" อย่างสง่างาม หากทว่าการเติบโตของ "ซีพีเอฟ" ในวันนี้ มีแรงหนุนส่งมากพอที่จะทำให้เป้าหมายเป็นจริง โดยยังไม่มีผู้ประกอบการอาหารไทยรายใดก้าวตามได้ทัน ซีพีเอฟจึงเป็นอีกโมเดลที่น่าศึกษากลยุทธ์การลงทุน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2551)
จาก Local สู่ International Company
พูดกันมานานหลายปีแล้วว่าเวลานี้ กิจการของคนไทยน่าจะมีโอกาสได้ไปผงาดในต่างประเทศในฐานะผู้เล่นที่แท้จริงเสียที เพราะธุรกิจไทยได้ผ่านประสบการณ์ที่ยาวนานมีพัฒนาการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารจัดการ การเงิน หรือเทคโนโลยี ทัดเทียมได้กับกิจการระดับยักษ์หลายแห่งของโลก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2551)
CPF สร้างมูลค่าเพิ่มในวงจรปิด
CPF บริษัทในเครือของซี.พี. ผู้ผลิตไบโอดีเซลเพื่อใช้ภายในโรงงาน ได้สนองตอบวิสัยทัศน์ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เกี่ยวกับพลังงานทดแทนที่นำน้ำมันพืชที่ใช้แล้วมาสร้างมูลค่าเพิ่มและการสร้างมูลค่าเพิ่มนี้อาจจะสานต่อความฝันของเจ้าสัวคนนี้ให้กลับเข้ามาสู่ธุรกิจน้ำมันอีกครั้งหนึ่งก็ได้ เพราะเขาเชื่อว่า "ประเทศไทยมีน้ำมันบนดิน"
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2551)
ประหยัดพลังงานด้วย "กะลาปาล์ม"
เศษวัสดุเหลือใช้อย่างกะลาปาล์ม ในอดีตแทบจะไม่มีคุณค่าใดๆ นอกจากใช้เป็นเชื้อเพลิงเล็กๆ น้อยๆ ตามบ้านเรือน หรือทิ้งไปอย่างไร้ประโยชน์ แต่ CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านพรุ จังหวัดสงขลา นำกะลาปาล์มกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักเพื่อผลิตอาหารสัตว์เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2551)
สุดคุ้ม!!!
คนส่วนใหญ่ที่คิดว่าสำหรับเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ซึ่งมียอดขายรวมถึงปีละ 1 แสนล้านบาท หากคิดลงทุนติดตั้งระบบอะไรก็ตาม เพื่อประหยัดพลังงาน และควบคุมคุณภาพการผลิต คงต้องลงเงินในหลัก 10 หรือหลัก 100 ล้านบาทขึ้นไป คงต้องคิดผิด
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549)
GPS in car
เมื่อเริ่มแรกที่เจริญโภคภัณฑ์อาหารเลือกใช้อุปกรณ์ระบุพิกัดหรือระบุตำแหน่งผ่านดาวเทียมในรถขนส่งอาหารสัตว์ที่ทำหน้าที่รับส่งอาหารสัตว์จากโรงงานผลิตไปยังฟาร์มในเครือนั้น เพียงเพราะว่าจะแก้ปัญหาปวดเศียรเวียนเกล้าอย่าง "อุบัติเหตุ" ที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละอาทิตย์เพียงเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549)
ประหยัดพลังงานในแบบ CPF
เคยคิดบ้างไหมว่า น้ำมันเหลือทิ้งจากการทอดไก่จะใช้เติมรถยนต์ได้? เคยคิดบ้างไหมว่า หากคุณเปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติจะช่วยให้คุณประหยัดได้ในระยะยาว? เคยคิดบ้างไหมว่าไฟฟ้าในตอนกลางคืนนั้น ถูกกว่ากลางวัน? คุณอาจจะคิดไม่ถึง แต่นี่คือสิ่งที่บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหารรู้และลงมือทำไปแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549)
Long Walk to World Kitchen
ความเคลื่อนไหวของ CPF ในการร่วมลงทุนกับ Yonekyu Corp. บรรษัทผู้ประกอบการผลิตและแปรรูปเนื้อสัตว์ขนาดกลางจากญี่ปุ่น ด้วยการจัดตั้งบริษัท CP-Yonekyu เมื่อช่วงปลายปี 2004 ที่ผ่านมา กำลังเป็นบทพิสูจน์ศักยภาพและความสามารถของ CPF ในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2548)