Eco Town มีอยู่จริง...หรือเปล่า
อุตสาหกรรมกับชุมชนอยู่รวมกันได้จริงหรือ ในที่นี้หมายถึงอุตสาหกรรมหนักประเภทโรงกลั่นปิโตรเคมี ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมรีไซเคิล ซึ่งจะสะท้อนโอกาสของการสร้างอีโคทาวน์ (Eco Town) ในไทยว่าจะเป็นไปได้จริงไหม
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2555)
คุณภาพชีวิตชุมชน ตัววัดอุตสาหกรรมสีเขียว
ความสำเร็จที่จะเป็นตัวชี้วัดว่าอุตสาหกรรมแต่ละแห่งมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน ดูเหมือนจะไปลงตัวที่คุณภาพชีวิตชุมชนในพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งหลายบริษัทใช้เป็นกิจกรรมในการสร้างภาพของการเป็นบริษัทที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กันอย่างพร้อมเพรียง ผ่านกิจกรรมซีเอสอาร์และกิจกรรมต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนได้อย่างราบรื่น
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554)
มากกว่างานอดิเรกกับ "ชลณัฐ ญาณารณพ"
งานอดิเรกหมายถึงกิจกรรมที่มักทำในเวลาว่างเพื่อการผ่อนคลาย สำหรับ "ชลณัฐ ญาณารณพ" งานอดิเรกยังเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร นี่จึงเป็นคำตอบว่า ทำไม CEO แห่งธุรกิจเคมีภัณฑ์ของเครือซิเมนต์ไทย ที่เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการเปลี่ยนเม็ดพลาสติกเป็นเม็ดเงินคนนี้ก็ยังต้องหาเวลาสนุกกับงานอดิเรกร่วมกับทีมงาน
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551)
TOL สร้างธุรกิจมากกว่าคำว่าไบโอดีเซล
TOL บริษัทในเครือของบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ที่มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะผู้ผลิตไบโอดีเซลให้กับบริษัทแม่อย่าง ปตท. ที่เปิดตัวอย่างแรงไปเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ TOL จะไม่ทำธุรกิจไบโอดีเซลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น บริษัทแห่งนี้กำลังมองไปถึงธุรกิจเคมิคอลที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์นอกเหนือจากไบโอดีเซล
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2551)
หรือจะเป็นชื่อนี้ เครือเคมีภัณฑ์ไทย
ปัญหาผลกระทบเรื่องราคาน้ำมัน กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้หลายๆ บริษัทต้องปวดหัว เพราะต้นทุนพลังงานทำให้ผลประกอบที่คิดว่าจะดี กลับต้องลดลง เหมือนกับที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ที่แม้ว่าในปี 2549 จะมียอดขายสูงถึง 258,175 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 29,451 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 9%
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550)
ดื่ม Wine ฟังผลประกอบการ
บริษัท เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย มีเอกลักษณ์ในการแถลงผลประกอบการที่เป็นตัวของตัวเองอย่างยิ่ง ฉีกกฎเกณฑ์เดิมๆ ของเครือซิเมนต์ไทยอยู่บ่อยครั้ง จากที่เคยให้ผู้บริหารขับเจ็ตสกีมาจากกลางทะเล เพื่อเปิดงานแถลงข่าวก็เคยทำมาแล้ว และครั้งล่าสุดก็เลือกเอาบรรยากาศไร่องุ่น กรานมอนเต้ เขาใหญ่ ท่ามกลางลมเย็นต้นเดือนพฤศจิกายน เป็นสถานที่บอกเล่าเรื่องราวของบริษัทปีที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2549)
โรงงาน TEA ที่ไม่ผลิตชา
ปตท.ปิโตรเคมีคอล (PTTCH) เพิ่งจะประกาศตั้งบริษัท ไทยเอทานอลเอมีน หรือ TEA เพื่อผลิตสารโมโนเอทานอลเอมีน ไดเอทานอลเอมีน และไตรเอทา นอลเอมีน เมื่อช่วงต้นปีก่อน จนมาถึงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา PTTCH จึงได้ตกลงเลือก Huntsnan Pretrochemical Corporation บริษัทสัญชาติอเมริกันเข้าทำหน้าที่ออกแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับก่อสร้างและการเดินเครื่องในโรงงานให้ TEA โดยงานนี้มีค่าใช้จ่ายประมาณ 35-45 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549)
ถึงเวลาเปิดตัว
หลังจากก่อตั้งและดำเนินการมาเกือบ 26 ปี สุรินทร์ ออมย่า เคมิคอล (ประเทศไทย) เพิ่งแถลงข่าวเปิดตัวอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา เหตุผลสำคัญที่ศศิศ มนต์เสรีนุสรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ออกมาเปิดตัวบริษัทครั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าแคลเซียม คาร์บอเนต สินค้าของบริษัทเริ่มมีการใช้งานในชีวิตประจำวันมากขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2549)