Function และ Emotion ของคันดินที่ริมโขงเวียงจันทน์
“บ่ต้องห่วงว่าพายุจะพัด เพราะว่าลาวเฮามีภูหลวงกั้นกลางระหว่างประเทศลาวกับเวียดนาม เพราะฉะนั้นเวลาพายุเข้าเวียดนาม ลาวจะได้ฮับอิทธิพลลมมรสุมเล็กน้อย” เสียงไกด์สาวที่เคยพูดทีเล่นทีจริงให้ได้ยินเมื่อครั้งที่มีโอกาสไปเยือน สปป.ลาว เป็นการมองโลกในแง่ดีว่า สปป.ลาวเป็นประเทศที่ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยจากการถูกพัดถล่มจากพายุและน้ำท่วมหนัก เมื่อเทียบกับประเทศเวียดนาม หรือแม้แต่ต้องเจอกับสภาพน้ำท่วมขังแบบฝั่งไทย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2554)
สันเขื่อนแม่น้ำแดง ดัชนีความเชื่อมั่นของฮานอย
ฮานอย เมืองหลวงของประเทศเวียดนาม ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศของชาวน้ำ เช่นเดียวกับคนไทยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เลือกตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง เป็นเมืองหลวงที่เพิ่งจะมีอายุครบพันปีไปเมื่อปี 2010 มีชื่อเดิมว่าทังลองในยุคแรก ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นฮานอยจนถึงปัจจุบัน มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 3.5 ล้านคน และมีจำนวนสูง ถึง 70-80% ที่เลือกอาศัยอยู่ในเขตเมืองชั้นใน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2554)
อุโมงค์ยักษ์ กทม. ทางแก้หรือปัญหายั่งยืน
อุโมงค์ยักษ์ กทม.เพิ่งเปิดตัวส่วนอุโมงค์ช่วงพระรามเก้า-รามคำแหง ซึ่งเป็นเฟสแรกของโครงการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ไม่กี่เดือนหลังจากนั้นก็ได้ใช้งานจริงทันที ช่วงที่น้ำเริ่มรุกเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นใน ประชาชนจำนวนหนึ่งหวังเต็มที่ว่า ถึงเวลาแล้วที่อุโมงค์ยักษ์โครงการที่กรุงเทพมหานครภูมิใจเสนอได้เวลาแสดงความสามารถเต็มที่แล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2554)
Malaysia 'SMART' Tunnel Beyond Flood Management
หลายปีมานี้ กัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซียตกอยู่ในอันตรายจากน้ำท่วมไม่ต่างจากหัวเมืองปักษ์ใต้บ้านเรา สาเหตุสำคัญหนีไม่พ้นผลความรุนแรงของธรรมชาติ ปริมาณฝนที่สูงขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าตัวในแต่ละปี อาจจะมากเกินกว่าที่ผู้คนในเมืองจะตั้งรับได้ต่อไป แต่กลับไม่มีข่าวน้ำท่วมจนสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินเหมือนข่าวที่เกิดขึ้นถี่ในช่วง 2-3 ปีนี้ในหลายจังหวัดของไทย เพราะที่กัวลาลัมเปอร์มีสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า SMART Tunnel
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2554)
ทางด่วนสายน้ำที่จันทบุรี
ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ถูกมองว่าเป็นพื้นที่ขาดน้ำ ทั้งที่ภาคตะวันออกของไทยเป็นภาคที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีสูงมาก พอๆ กับภาคใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดจันทบุรีแทบจะเรียกว่าเป็นเมืองฝนแปดแดดสี่ได้เหมือนกัน มีปริมาณฝนแต่ละปีช่วงพฤษภาคมถึงตุลาคมมากกว่า 2,500 มม.ต่อปี จัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุด
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2554)
ปฏิบัติการแก้แล้งแบบอีสาน
สำหรับการแก้ปัญหาภัยแล้งและทำให้อีสานพัฒนาขึ้นได้ด้วยการเข้าไปจัดการพัฒนาแหล่งน้ำ พูดได้ว่าไม่มีโครงการไหนเทียบได้กับโครงการพระราชดำริที่ค่อยๆ พลิกอีสานจากดินแดนแห้งแล้งให้กลับมามีป่ามีน้ำ และทำให้คนอีสานมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการจัดการน้ำ
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2554)
“บางลี่” ที่นี่เคยเป็น “ตลาดเก็บน้ำ”
เมืองไทยมีตลาดน้ำหลายที่ ยิ่งสมัยนี้ไปจังหวัดไหนก็มี ไม่เว้นแม้แต่หัวหิน พัทยา ซึ่งเป็นเมืองชายทะเลก็มีตลาดน้ำกับเขาด้วย แต่ตลาดกลางน้ำนี่สิเคยเห็นกันไหม ไม่ได้ล้อสถานการณ์น้ำท่วม แต่นี่คืออดีตที่เคยเกิดขึ้นจริง ที่ตลาดบางลี่ ตลาดเทศบาลอำเภอ สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่เทศบาลเมืองที่ต้องมีสภาพไม่ต่างจากอ่างเก็บน้ำ ทำให้ตลาดของเทศบาลครึ่งปีต้องค้าขายกันกลางน้ำ ส่วนอีกครึ่งปีเมื่อน้ำแห้งถึงจะขนของลงมาค้าขายกันปกติในบริเวณบ้านชั้นล่าง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2554)
“น้ำ” จัดการได้
แม้จะฝืนธรรมชาติไม่ได้แต่การดูแลและเข้าใจธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ควรละเลย เพราะความเข้าใจจะทำให้มนุษย์ใช้ประโยชน์และอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล เช่นเดียวกับการจัดการน้ำก็ต้องเริ่มจากเข้าใจธรรมชาติของน้ำ เพราะหากปราศจากความเข้าใจ ต่อให้มีเครื่องมือดีแค่ไหนการจัดการใดๆ ก็สำเร็จยาก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2554)