ความรุนแรงต่อผู้หญิงในโมร็อกโก
ความรุนแรงต่อผู้หญิงในโมร็อกโกเป็นปัญหาที่ทั่วโลกล้วนให้ความสนใจ รวมถึงองค์การสหประชาชาติด้วย ทั้งๆ ที่โมร็อกโกได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (The Conventional of the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women หรือ CEDAW) ตั้งแต่ปี 2536 แต่จำนวนของผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในโมร็อกโกก็ไม่ได้ลดลงเลย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2554)
เด็กฝรั่งปันรอยยิ้มให้เด็กไทย
หากพูดถึงมูลนิธิ Kids Action for Kids อาจมีเพียงไม่กี่คนที่รู้จัก แต่ถ้าเป็น "ซิคเว่ เบรคเก้" หลายๆ คนยังคงจดจำได้ เพราะเขาเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ดีแทค และมูลนิธินี้เกิดขึ้นได้เป็นเพราะลูกชายของเขา
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554)
แปรรูปหรือ “ขาย” แหล่งน้ำ
กระไอแดดและลมแห้งๆ เป็นสัญญาณของฤดูร้อน ผู้คนมากมายในอินเดียคงรู้สึกขยาดอยู่ในใจ โดยเฉพาะคนยากคนจนที่ไม่มีน้ำประปาส่งตรงถึงบ้าน หนำซ้ำ แหล่งน้ำบางแห่งที่เคยเป็นของสาธารณะก็กลายเป็นสมบัติของเอกชน ชาวชนบทรายหนึ่งเล่าถึงประสบการณ์หน้าร้อนปีก่อนว่าในวันที่ปรอทพุ่งขึ้น 40-45 ํC แม่น้ำในหมู่บ้านของตนแห้งขอดเพราะน้ำถูกทดส่งไปนิคมอุตสาหกรรม “เคยไหมที่ไม่ได้อาบน้ำ หรือแม้แต่ล้างหน้าเป็นอาทิตย์ๆ”
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554)
ซิงเกิ้ลมัม
ซิงเกิ้ลมัมเป็นคำภาษาอังกฤษ ที่บ้านเรานำมาใช้เป็นคำทับศัพท์และคำนี้เริ่มนำมาใช้อย่างแพร่หลายในบ้านเรา ซิงเกิ้ลมัมหมายถึงการที่ผู้หญิงต้องทำหน้าที่ของพ่อและแม่ และต้องดูแลรับผิดชอบลูก ไม่ว่าจะเป็นลูกเพียงแค่คนเดียว หรือหลายคนก็ตาม โดยที่ไม่มีผู้ชายคอยให้ความช่วยเหลือในเรื่องของการเลี้ยงดูบุตร
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2553)
เติบโตจากความทุกข์ยาก
'พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส' คำกล่าวนี้อาจฟังดูเป็นปรัชญาโก้ๆ แต่คนหลายคนก็ทำปรัชญานี้ให้เป็นจริงได้ในชีวิตอินเดียเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยวิกฤติและปัญหามากมาย กระนั้นก็มีผู้คนไม่น้อยที่ฝ่าวิกฤติและเติบโตขึ้นอย่างงดงาม ในที่นี้ขอเล่าถึง ตัวอย่างคลาสสิกต่างรูปแบบธุรกิจไว้สองราย นั่นคือ อามุล (Amul) ธุรกิจผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ของอินเดีย และ Shrujan องค์กรการกุศลที่ช่วยให้ผู้หญิง กว่า 20,000 คนได้พึ่งตนเองจากศิลปะผ้าปักผ้าทอ
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2553)
ทำงานเท่ากันแต่ได้เงินน้อยกว่า
ปัจจุบันผู้หญิงทั่วโลกต่างก็ประสบปัญหาเดียวกันคือเรื่องความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง แม้ว่าจะมีคุณสมบัติทุกอย่างเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับการศึกษา หรือความสามารถในการทำงาน แต่ผู้หญิงจะได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้ชายอยู่ดี
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2553)
คำพิพากษาอโยธยา
ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่อินเดียทั้งประเทศอยู่ในความตึงเครียดที่สุดช่วงหนึ่ง เหตุเพราะจะมีการตัดสินกรณีพิพาท ‘อโยธยา’ ว่าที่ดินผืนเล็กๆ อันเป็นที่ตั้งมัสยิด Babri ซึ่งถูกทุบทำลายโดยชาวฮินดูในปี 1992 ควรจะเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร ฮินดูหรือมุสลิม คนทั่วทั้งประเทศต่างกลั้นใจรอ เพราะเกรงว่าผลของคำพิพากษาอาจนำไปสู่การนองเลือดอีกครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2553)
การข่มขืน อาวุธชนิดใหม่ในสงคราม
ภาพผู้หญิงและเด็กที่ถูกทำร้ายร่างกาย หรือโดนข่มขืนจากทหารหรือผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ที่กำลังมีสงครามหรือมีความขัดแย้งเกิดขึ้น มักเป็นภาพที่เราเห็นกันจนชินตาในภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับสงคราม เช่น General’s Daughter และ the last Samurai เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกได้ถึงความรุนแรง ความน่ากลัว และสะเทือนใจไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553)
ผู้หญิงที่คิดจะนำโลก
หากต้องการเข้าใจบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้หญิงจีน ต้องดูที่ความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Du Lala หญิงสาวที่สามารถไต่เต้าจนประสบความสำเร็จในบริษัท แต่เธอไม่มีตัวตนจริง Du Lala เป็นเพียงนางเอกของนิยายขายดีชื่อ Du Lala’s Rise หนังสือที่ทำสถิติติดอันดับหนังสือขายดีนาน 141 สัปดาห์
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553)