ทักษิณ ชินวัตร ความหวังในกระแสคลื่นลูกที่สาม ?
สำหรับเมืองไทยเป็นเรื่องธรรมดาที่เหล่านักธุรกิจผู้ยิ่งยงจะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะลิ้มลองรสชาติชีวิตนักการเมือง
ซึ่งในด้านหนึ่งนับเป็นนิมิตหมายอันดี ที่ประเทศชาติจะมีผู้ทรงภูมิความรู้เข้ามาบริหาร
แต่ขณะเดียวกันมักหนีไม่พ้นเสียงวิพากษ์เรื่องการยึดถือผลประโยชน์ทางธุรกิจตนเอง
หรือพรรคพวกเป็นเรื่องใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เข้ามาโดยอุบัติเหตุทางการเมือง
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2538)
"บ้านกลางเมือง" ชีวิตจำต้องเลือก"
บ้านหลังที่สองหรือคอนโดมิเนียมกลางเมืองกำลังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชนชั้นกลางของกรุงเทพฯ
แม้จะต้องลงทุนเพิ่มเติม และต้องปิดบ้านที่มีอยู่แล้ว แต่ความกดดันจากปัญหาการจราจรทำให้ชีวิตไม่มีทางเลือกที่มากไปกว่านี้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2537)
"โทรคมนาคมเอเชีย : ตลาดที่ยังขยายตัวไม่หยุด"
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมในเอเชียได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
เพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาค ที่มีอัตราการเจริญเติบโตในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2536)
"วิธีคุมยาเสพติดของชวลิต ยอดมณี"
โดยทั่ว ๆ ไปเมื่อกล่าวถึงปัญหายาเสพติด ความสนใจมักจะพุ่งเป้าอยู่ที่เรื่องของการลักลอบค้าขาย
และขนส่งข่าวคราวเกี่ยวกับแก็งค์ค้าหรือการจับกุมผู้ลักลอบขนยาเสพติดมีปรากฏออกมาอย่างสม่ำเสมอ
ในขณะที่เรื่องราวด้านอื่นค่อนข้างได้รับการละเลย
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535)
"คนจีน ชุมชนจีน อำนาจรัฐจีน แต่ประเทศอเมริกา"
คนจีนหากเปรียบเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่ลอยตามกระแสน้ำ พัดพาไปพบแผ่นดินตรงไหน
ดูเหมือนว่าเมล็ดพันธุ์นั้นก็จะงอกขึ้นได้ทุกสถานที่ มีคนจีนไปเปิดร้านขายข้าวหน้าเป็ดในประเทศเปรู
ขายกาแฟอยู่ในสาธารณรัฐโดมินิกัน เปิดร้านขายโชว์ห่วย (GROCERY) อยู่ในประเทศสุรินัม
ในอเมริกาใต้
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535)
"ชนชั้นกลาง : กระฎุมพีใหม่ เป็นใคร มาจากไหน…?"
"คนชั้นกลาง" ดูจะเป็นคำใหม่สำหรับสังคมไทยและไม่ใช่คำที่มีความหมายตายตัวหรือสมบูรณ์ในตัวเอง
คนชั้นกลางของแต่ละสังคมจะมีลักษณะบางอย่างร่วมกันทั่วโลก คือ รักงานสะอาด
ทำงานที่เป็นวิชาชีพ ต้องอาศัยการเรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์ ใช้ทักษะ ไม่ใช่งานที่ใช้แรงงานหนัก
เป็นคนที่มีความปรารถนาในชีวิตไม่รู้จบ สะสมวัตถุตามระบบทุนนิยมที่เกื้อหนุน
เช่น มีบ้านบ้านก็ต้องมีสนามหญ้า มีแอร์ แล้วก็มีรถ เล่นกอล์ฟ เป็นต้น
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535)
"สุดารัตน์ - นักต่อสู้โสเภณีเด็ก"
ในที่สุดการค้าประเวณีก็ได้รับการรับรองโดยกฎหมายไทยให้เป็น "อาชีพ"
ที่ถูกต้องชอบธรรมภายใต้เงื่อนไขหนึ่งไปแล้วหลังจากดำรงอยู่คู่กับสังคมมานานนับศตวรรษ
ตลอดเวลาที่ผ่านมาแม้ว่าคนส่วนใหญ่ของสังคมต่างก็บอกว่าไม่ใช่สิ่งพึงปรารถนา
แต่กิจกรรมนี้ก็ก้าวหน้ารุ่งเรืองขึ้นเรื่อยมาทั้งในด้านปริมาณและ "คุณภาพ"
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2535)
"หนังเปิดโปงสังคมไทย"
เบื้องหลังภาพยนต์ 3 เรื่องสะท้อนปัญหาสังคมไทย THAILAND FOR SALE สำเริง
BOUGHT HAPPNESS สำเร็จสมบูรณ์ขึ้นได้ด้วยจิตสำนักบวกมันสมองคนไทย แต่อยู่ภายใต้ชื่ออำนวยการผลิตและเงินทุนต่างประเทศ
ออกฉายในหลายประเทศเกือบครึ่งค่อนโลกที่ประเทศเจ้าของปัญหาประเทศไทยจะมีโอกาสชม
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2535)