การเลือกตั้งในนิวซีแลนด์
ช่วงสิบแปดเดือนที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าน่าจะได้ชื่อว่าเป็นช่วงแห่งการเลือกตั้งสากลเพราะมีทั้งการเลือกตั้งในออสเตรเลีย เดนมาร์ก และไทย ในช่วงปลายปี 2007 และช่วงต้นถึงกลางปี 2008 ก็มีการเลือกตั้งของภูฏาน เขมร มาเลเซีย และรัสเซีย ส่วนในช่วงปีนี้กำลังจะมีการเลือกตั้งของอินเดีย ญี่ปุ่น และเยอรมนี
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2552)
Yes We Can! President-elect Barack Obama
ตามกำหนดการ วันอังคารที่ 20 มกราคม 2009 ที่จะถึงนี้จะเป็นวันที่บารัค โอบามา (Barack Obama) เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 44 ที่ชนะการเลือกตั้งอย่างขาดลอย และหน้าประวัติศาสตร์อเมริกันต้องจารึกไว้ว่า เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มีเชื้อสายเป็นแอฟริกัน-อเมริกัน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2551)
กรุงเทพมหานคร เกมบริหารของเซียนเหนือเซียน
ท่ามกลางบรรยากาศการเรียกร้องประชาธิปไตยของภาคประชาชนอันร้อนแรงในช่วงนี้ ได้กลบความสนใจเวทีการเมืองท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครที่เคยมีความสำคัญระดับชาติทุกครั้งในฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าราชการ จนกระทั่งผู้ว่าราชการคนที่ 15 ครบวาระ ก็ยังหาตัวผู้สมัครที่โดดเด่นมาเผยโฉมให้ฮือฮากันไม่ได้
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551)
โอ้.....กรุงเทพฯ ร.ศ.๒๒๗
หากสถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในระดับปกติ ความเคลื่อนไหวเพื่อรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 5 ตุลาคม 2551 คงดำเนินไปด้วยบรรยากาศคึกคักกว่าที่เป็นอยู่
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551)
ผ่าทางตันทางการเมือง
ในฉบับเดือนพฤษภาคม 2550 ผมได้เขียนเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของประเทศนิวซีแลนด์ที่เรียบง่ายเพราะมีเพียง 4 หมวดและ 29 มาตรา โดยมีหัวใจหลักอยู่ที่มาตราว่าด้วยรัฐสภา ซึ่งกำหนดอายุรัฐสภาที่ 3 ปี และมีข้อบังคับว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องมาจากประชาพิจารณ์เกิน 50% หรือต้องได้รับการลงมติเกิน 75% ของ ส.ส.ทั้งหมดเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2551)
ระบบเวสมินสเตอร์ คอร์คัส และรัฐมนตรีเงา
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ข่าวการจัดตั้งรัฐบาลของไทยอาจจะเป็นข่าวที่มีความสำคัญในสายตาของประชาคมโลก แต่สำหรับผมแล้วเชื่อว่าข่าวการจัดตั้งรัฐบาลเงานั้นเป็นแนวโน้มที่ดีเสียยิ่งกว่าการจัดตั้งรัฐบาล เพราะเป็นหนทางที่จะทำให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2551)
Lee Myung-bak กับแผนคืนความยิ่งใหญ่ให้เกาหลีใต้
ประธานาธิบดีคนใหม่ของเกาหลีใต้มุ่งมั่นจะพลิกฟื้นเกาหลีใต้ให้กลับคืนสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้ง ด้วยการโละทิ้งนโยบายซ้ายและกลับไปคืนดีกับสหรัฐฯ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีใครยอมให้ความร่วมมือ
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2551)
บทสุดท้ายของจอห์น โฮเวิร์ด
ขณะที่ผมเขียนบทความนี้ในเมืองไทยยังไม่ถึงวันเลือกตั้ง ผมจึงไม่ทราบว่าผลการเลือกตั้งในบ้านเราจะเป็นอย่างไร แต่ผมเชื่อว่า ท่านผู้อ่านคงทราบผลกันแล้ว แต่ถ้าท่านผู้อ่านสังเกตจะเห็นได้ว่าในบ้านเราถ้าพรรคที่ได้คะแนนมากที่สุดแต่ไม่มากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ พรรคที่ได้ที่สองจะต้องแย่งจัดตั้งรัฐบาลโดยพยายามจับขั้วทางการเมืองแบบสุดชีวิต
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2551)
De-fence the Defense ล้มรั้วเมื่อรั้วโกง?
ข่าวความฉ้อฉลในแวดวงราชการญี่ปุ่นตลอดช่วงปีที่ผ่านมา คงไม่มีข่าวใดส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนได้มากเท่ากรณีความฉ้อฉลของ Takemasa Moriya อดีตเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ซึ่งกลายเป็นข่าวครึกโครมตลอด 3-4 เดือนที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2551)
John Key กับกระแสการเมืองที่ย้อนกลับมาสู่แนวอนุรักษนิยม
กระแสการเมืองโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักการเมืองจากพรรคการเมืองฝ่ายขวาแนวอนุรักษนิยมทั่วโลกได้มีการเปลี่ยนแปลง จากหัวหน้าพรรคที่สูงอายุมาเป็นนักการเมืองหนุ่มไฟแรง อย่างเช่น เดวิด คาเมรอน ของพรรคอนุรักษนิยมในอังกฤษ หรือในเมืองไทยเองก็ยังมีคนหนุ่มอย่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นมานำพรรคประชาธิปัตย์
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550)