ทางสองแพ่งของ “รัฐบาลชวน”
การสานต่อข้อตกลงร่วมเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปรากฎว่านโยบายดังกล่าวกลับกลายมาเป็นความกดดันทางการเมืองอย่างหนักต่อการตัดสินใจดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจใน “รัฐบาลชวน” ตั้งแต่วันแรกที่ได้เข้ามารับหน้าที่ในรัฐบาล
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535)
เปิดเสรีวิทยุรัสเซียจุดชนวน สัมพันธ์ญวน-รัสเซีย ชักวุ่น
ปลายปีก่อนรัฐบาลรัสเซียผ่านกฎหมายให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน และยังเปิดโอกาสให้เอกชน จัดตั้งสถานีวิทยุอิสระได้ด้วย “เรดิโอ อิรินา” จึงถือกำเนิดขึ้นภายใต้การเปลี่ยนแปลงนโยบายของอดีตประเทศหลังม่านเหล็กดังกล่าวโดยผู้บุกเบิกสถานีวิทยุแห่งนี้คืออิรินา ซีสแมน สตรีวัย 37 ปี ผู้มีประสบ-การณ์การทำงานในแผนกเวียดนามของเรดิโอ มอสโกมาก่อน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535)
“ตรัง” ยุคที่มี ส.ส. เป็นนายกรัฐมนตรี
คำกล่าวดังกล่าว มีเหตุผลสืบเนื่องมาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดตรัง-จังหวัดเล็ก ๆ จังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ที่มี ชายฝั่งค่อนข้างยาวเหยียดติดทะเลอันดามัน มีความสวยงามในตัวของตัวเอง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535)
"รอยยิ้มแห่งสันติภาพหวนคืนสู่ภาคตะวันตกของกัมพูชา"
"พระตะบองและศรีโสภณ 2 จังหวัดทางภาคตะวันตกของกัมพูชา กลับคืนสู่บรรยากาศของสันติภาพ
หลังสงครามกลางเมืองได้ยุติลงการเข้ามาของทหารกองกำลังรักษาสันติภาพ ความสัมพันธ์ของชีวิตและโครงสร้างต่างๆ
กำลังแปรเปลี่ยนไป"
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2535)
"เปิดเสรีภาพทีวี-วิทยุ อันตราย..?"
การชุมนุมต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนกลางอย่างพลเอกสุจินดา
คราประยูร ได้กลายเป็นชนวนทำลายความเชื่อถือต่อข่าวทีวี-วิทยุซึ่งเป็นเครื่องมือของรัฐอย่างสิ้นเชิง
ทั้งยังเป็นการหักโค้งครั้งสำคัญของธุรกิจสื่อสารมวลชนของสื่อทีวี-วิทยุ เพราะรัฐบาลหลงเข้าใจผิดว่าสื่อของรัฐคือสื่อของรัฐบาล
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535)
"ผลตอบแทนจากการลงทุนเลือกตั้ง ส.ส. ใน กทม."
"การวิจัยเขตเลือกตั้งเพียง 2 เขตใน กทม. พบว่าพรรคที่มีการลงทุนประสิทธิภาพสูงใช้เงินเพียง
1.2 ล้านบาทต่อ ส.ส. 1 คน เทียบกับ 10 ล้านบาท ของอีกพรรคหนึ่งและยังพบว่าบางพรรคลงทุนหาเสียงด้วยค่าใช้จ่ายสูงกว่าคะแนนเสียงที่ได้มามากนัก
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2535)
"จากนักบริหารเอกชนเข้าสู่อาชีพนักการเมือง"
22 มีนาคมเป็นวันเลือกตั้งครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองประเทศไทย
ขณะเดียวกันก็น่าจะเป็นประวัติศาสตร์ที่ควรจดจำของ "พิพัฒ พะเนียงเวทย์"
ด้วยเหมือนกันที่ได้พยายามสานฝันให้เป็นจริงตามที่ใจปรารถนา โดยลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในนามของพรรคความหวังใหม่ หมายเลข 7
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2535)
กรพจน์ อัศวินวิจิตร ติวเข้มงานการเมือง
นักธุรกิจหนุ่มวัย 30 กว่าปีคนนี้ไม่ได้หายหน้าค่าตาไปไหน แต่กำลังขะมักเข้มฝึกฝนบทเรียนทางการเมืองอย่างหนักในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
และ 1 ใน 25 ของคณะกรรมาธิการพิจารณาแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญที่มีโอสถ โกศิน
เป็นประธานฯ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534)
วรรณ ชันซื่อเขาเป็นอะไรกันแน่ ??
นักการเมืองตลอดจนผู้คนทั่วไปมักจะมอง วรรณ ชันซื่อ ว่าเป็นนักธุรกิจ เป็นคนร่ำรวยมหาศาล
และมีเครือข่ายกิจการที่เกี่ยวข้องกว้างขวางสุดหยั่งคาด แต่สำหรับทัศนะโดยทั่ว ๆ ไปของผู้คร่ำหวอดในวงการธุรกิจแล้ว กลับมองว่าวรรณเล่นการเมืองมาโดยตลอด
เพียงแต่ไม่ปรากฏตัวชัดเจนดังเช่นปัจจุบันเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2532)