โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟุคุชิมะแห่งที่ 1 กับค่า INES ที่ระดับ 7
หนึ่งเดือนเต็มหลังเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น* ท่ามกลางข่าวดีและไม่สู้จะดีปนเปกันนั้นกระทรวงเศรษฐกิจ, พาณิชย์และอุตสาหกรรมออกแถลงการณ์ปรับค่าตัวเลข International Nuclear Event Scale (INES) ขึ้นเป็นระดับ 7 ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับอุบัติเหตุเมื่อครั้ง ที่เคยเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ใน Chernobyl
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2554)
“สร้างภาพเรื่อง Green ก็เท่ากับเอาหินทุบขาตัวเอง”
องค์กรไหนที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจโดยอิงการตลาดกับสิ่งแวดล้อม ถ้าไม่ใช่เพราะวิสัยทัศน์ของผู้บริหารก็มักจะเริ่มต้นมาจากการประหยัดเงินในกระเป๋าขององค์กรก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อเห็นผลการดำเนินงานก็จะเริ่มขยายไปสู่ส่วนหน้าหรือการตลาดขององค์กรในการนำเสนอสินค้าและบริการสู่ลูกค้าอีกต่อหนึ่ง อย่างน้อยก็เป็นการยืนยันได้ว่า ตัวองค์กรทำแล้วได้ผลมาก่อน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554)
Greener Enterprise: ต้องเข้าใจโยงใยที่ซ่อนเร้น
ก่อนจะคุยเรื่องอื่น ผมต้องขอเป็นกำลังใจให้กับชาวญี่ปุ่นทุกคนที่ประสบเคราะห์กรรมจากพลังของธรรมชาติ ภาพเหตุการณ์ที่เราเคยเห็นเป็นเพียงฉากหนึ่งในหนังแอนิเมชั่น กลับกลายเป็นเรื่องจริงที่สะเทือนใจคนทั้งโลก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554)
“ตรวจวัดอากาศ” เชื่อได้แค่ไหน
หลังจากเกิดประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่มาบตาพุด โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งพยายามสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนในพื้นที่ด้วยการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของการตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายแบบต่อเนื่อง (VOCs) พร้อมป้ายแสดงผลคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Display Board)
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554)
คุณภาพชีวิตชุมชน ตัววัดอุตสาหกรรมสีเขียว
ความสำเร็จที่จะเป็นตัวชี้วัดว่าอุตสาหกรรมแต่ละแห่งมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน ดูเหมือนจะไปลงตัวที่คุณภาพชีวิตชุมชนในพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งหลายบริษัทใช้เป็นกิจกรรมในการสร้างภาพของการเป็นบริษัทที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กันอย่างพร้อมเพรียง ผ่านกิจกรรมซีเอสอาร์และกิจกรรมต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนได้อย่างราบรื่น
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554)
Aftershocks: ผลกระทบจากแรงสั่นไหว
ความรุนแรงของเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ รวมถึงมหันตภัยจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นผลให้ธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากในเขต Tohoku ต้องปิดทำการหรือหยุดการผลิตลงชั่วคราว ซึ่งการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงเหตุการณ์แผ่นดินไหว และระยะเวลาในการคลี่คลายความเสียหายในบางพื้นที่ ย่อมส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นชะลอตัวไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554)
Renewable Beautiful Japan!
2011 Tohoku Earthquake and Tsunami นอกจากจะสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินแก่ผู้คนอย่างกว้างขวางในทันทีแล้ว ผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ยังส่งผ่านแรงสั่นสะเทือน เสมือนเป็น aftershocks ให้เกิดเป็นแรงตระหนักตื่น ในระดับนานาชาติด้วยเช่นกัน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554)
The Great Lessons จาก Kanto สู่ Hanshin ถึง Tohoku
โศกนาฏกรรมจากเหตุแผ่นดินไหวที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่นหรือเขต Tohoku ด้วยระดับความรุนแรง (Magnitude) 9.0 เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา นับเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นและรุนแรงเป็นอันดับ 5 ของโลก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554)
เที่ยวบินคาร์บอนสมดุล เดินอากาศแบบรักษาสิ่งแวดล้อม
แควนตัสและเจ็ทสตาร์เป็นสายการบินชั้นนำรายแรกที่ได้รับใบรับรองคาร์บอนสมดุล (Carbon neutral) จากการจัดทำโครงการชดเชยคาร์บอนตามมาตรฐานการชดเชยคาร์บอนแห่งชาติ (NCOS) ของรัฐบาลออสเตรเลีย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2554)
Greener Enterprise มีอยู่จริงหรือ
เมื่อ 10 ปีก่อนตอนนำเสนองานวิจัย ผมเคยถูกตั้งคำถามโดยศาสตราจารย์ผู้มีชื่อเสียงทางเศรษฐศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาท่านหนึ่งว่า “คุณเชื่อจริงๆ หรือว่าการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องจริง?” ท่านยักคิ้วหลิ่วตาทำนองเย้ยหยัน ว่าแล้วท่านก็ฟันธงเลย โดยไม่ปล่อยให้ผมได้ตอบคำถามว่า “ทุกๆ อย่างที่ธุรกิจทำ ไม่ว่าเรื่องสังคมหรือสิ่งแวดล้อม ก็เพื่อกำไรสูงสุดของธุรกิจเท่านั้น”
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2554)