อนาคตที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขง
ความวิตกกังวลต่อการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงของเวียดนามยังไม่สิ้นสุด ล่าสุดมีการเปิดเผยข้อมูลถึงผลกระทบต่อภาคประมงว่าอาจสูงถึงปีละ 1,000 ล้านดอลลาร์ เงินจำนวนนี้สามารถนำไปสร้างสะพานเกิ่นเทอได้ถึง 3 แห่ง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2554)
ฟื้นคุณภาพน้ำ สร้างสุขสังคมเมือง
ในบทนี้จะกล่าวถึงความสำคัญของแม่น้ำลำคลองในกรุงเทพฯ และบทเรียนที่ดีจากแนวทางการรักษาแม่น้ำลำคลองในเมืองต่างๆ ของบางประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554)
ลงทุน 6 แสน ประหยัดไฟปีละ 6 พัน
กังหันลมของแคนนอน เป็นผลงานการผลิตของคนไทยโดยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตธัญบุรี ความสูงขนาด 12 เมตร ไม่สามารถถอดเพื่อนำไปประกอบ ต้องขนส่งทั้งต้น ทำให้เป็นข้อจำกัดว่าโรงเรียนที่จะติดตั้งแม้จะเน้นโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554)
กระบวนการสีขาว ความหมายที่ต้องเริ่มจากภายใน
“เป็นหน้าที่ที่เราจะต้องสร้างประโยชน์ให้กับสังคม ชุมชน หรือประเทศที่เราเข้ามาดำเนินธุรกิจ” คำตอบของวาตารุ นิชิโอกะ ประธานบริษัทและประธานกรรมการบริหาร บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ที่มีให้กับนักศึกษาฝึกงานชาวญี่ปุ่นที่ร่วมเดินทางไปไกลถึงโรงเรียนบ้านสองคอน จังหวัดอุบลราชธานี ในโครงการพลังงานสีขาว เพื่อโลกสีเขียว ของแคนนอน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554)
งาน “สืบ” ตำนาน “คนรักษ์ป่า”
เดือนกันยายนของทุกปี เป็นช่วงครบรอบการจากไปของสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ผู้สืบสานตำนานคนรักษ์ผืนป่า จัดงานครบรอบกระตุ้นเตือนผู้คนให้เกิดกระแสการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไหลเวียนในความรู้สึกอย่างต่อเนื่องมาปีนี้เป็นปีที่ 21
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554)
ฟาร์มของพระราชินี ห้องเรียนสู่สมดุล 'ชีวิต' และ 'สิ่งแวดล้อม'
“ที่ฉันทำฟาร์มตัวอย่างนี้ เพื่อสอนชาวบ้านให้สะสมอาหารเพิ่มขึ้น จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องอาหารการกิน และทำฟาร์มตัวอย่าง และอย่างที่ 2 คือต้องการให้ทุกๆ คน ที่ข้าพเจ้าพบปะได้มีอาชีพ มีทางทำมาหากิน คือ รับเขาเข้ามาแล้วจ่ายเงินให้เขาเป็นลูกจ้างในฟาร์มฯ เวลาเดียวกันเขาก็เห็นวิธีเลี้ยงเป็ด เลี้ยงแกะ เลี้ยงอะไร ตั้งหลายอย่าง ได้เงินและได้ค่าจ้างทุกวัน ข้าพเจ้าก็บอกว่าต้องการคนงานมากๆ เพื่อให้ชาวเขาเหล่านี้ได้มีงานทำ” พระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2546 ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554)
City of Kitayushu เมืองต้นแบบ Eco-Town
จาก Grey city ที่เคยปกคลุมด้วยควันพิษจากโรงงาน วันนี้เมืองคิตะคิวชูกลายเป็น Green Frontier City แห่งเอเชีย ซึ่งสามารถบริหารจัดการปัญหามลพิษอุตสาหกรรมได้สำเร็จ จนกระทั่งกลายเป็นเมืองต้นแบบ Eco-Town แห่งแรกของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2540 และยังคงพัฒนาต่อเนื่องสู่สังคม Low Carbon Society และ Sustainable Development Society ที่จะเป็นมาตรการทางการค้าใหม่ของโลก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2554)
“เขาวง” มหัศจรรย์ธรรมชาติใกล้เมือง
ภาพแสงแรกแห่งรุ่งอรุณสาดแสงสีส้มทองส่องทะเลหมอกยามเช้าปกคลุมเทือกเขาทอดยาวสุดสายตา มีใครจะรู้บ้างว่าทะเลหมอกยามเช้าที่หลายคนเฝ้าเดินทางตามหา อยู่ใกล้กับเมืองกรุงเพียงแค่ขับรถไม่ถึงสองชั่วโมง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554)
การวางผังเมืองกับปัญหาโลกร้อน
เมืองที่ปลอดรถยนต์และสร้างเพื่อคนเดินเท้าจะทำให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ชุมชนเมืองแห่งแรกเกิดขึ้นเมื่อ 6,000-7,000 ปีก่อน บนดินแดนที่เรียกว่า เมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมอันอุดมสมบูรณ์ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สายของประเทศอิรักปัจจุบัน คือแม่น้ำยูเฟรติส และไทกริส
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554)