โฮ กวงปิง ทำธุรกิจผสานงานอนุรักษ์
ชื่อโฮ กวงปิง บุตรชายคนโตของนายห้าง โฮ ริทวา สร้างอาณาจักรไทยวาไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก อย่างกว้างขวางนักในหมู่สื่อมวลชนไทย แม้ว่ากลุ่มธุรกิจนี้จะเข้ามาลงหลักปักฐานในประเทศไทย เป็นเวลานานถึง 47 ปีแล้วก็ตาม
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535)
"3 ปีที่ผ่านมารัฐลดภาษีนำเข้าอุปกรณ์รักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว609 ล้านบาท"
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สาธารณชนตื่นตัวรวมทั้งความเข้มงวดของรัฐที่มีมากขึ้น
ทำให้อุตสาหกรรมที่ปล่อยของเสียต่อสิ่งแวดล้อมต้องยินยอมที่จะลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม
โดยการติดตั้งระบบเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อมเข้ามาในโรงงาน
อันเป็นต้นทุนที่ถือเป็นภาระใหม่สำหรับธุรกิจที่ละเลยสิ่งเหล่านี้มาเนิ่นนาน
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535)
สมถวิล นักวิชาการสิ่งแวดล้อมของเชลล์
สำหรับนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมระดับประเทศ ชื่อ สมถวิล ปธานวนิช เป็นชื่อที่จะได้ยินผ่านหูเห็นผ่านตาอย่างน้อยที่สุดหนึ่งครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของเนื้อหา และท่าทีของไทยในการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลกของสหประชาชาติ
หรือที่เรียกกันว่า Earth Summit
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2535)
"ความเข้มงวดกฎหมายสิ่งแวดล้อม 2535"
เมื่อ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมพุทธศักราช
2535 ทดแทนกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2518 กฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับนี้เป็นหนึ่งในกฎหมายนับร้อยฉบับที่ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในสมัยอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็นครั้งสำคัญในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทางด้านกฎหมาย
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2535)
"การต่อสู้ของจิระยังยาวไกล"
ปัญหาการระเบิดหินบนเกาะสีชังที่เกิดขึ้นแทบจะทำให้ฝันของบริษัท สีชังทองเทอร์มินัล
จำกัด (สีชังทองฯ) ต้องล่มสลายไปอีกครั้ง เนื่องจากโดนกระแสต่อต้านจากชุมชนอย่างหนัก
...!
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2535)
"กฎหมายสิ่งแวดล้อมทันสมัยขึ้น แต่ปฏิบัติยังไม่รู้"
ประเทศไทยดูเหมือนจะแคบลงเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรและจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้น
การใช้การแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติก็เพิ่มมากขึ้นจนบางครั้งการใช้เป็นการใช้เกินขอบเขตจนกระทั่งเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535)
"การพัฒนาแบบยั่งยืน เรื่องใหญ่ของเอิร์ธ ซัมมิต ที่ริโอ"
การประชุม "U.N. CONFERENCE ON ENVIRONMENT & DEVELOPMENT"
หรือ UNCED ระหว่างตัวแทนจาก 170 ประเทศที่จะมีขึ้นที่ริโอ เดอ จาเนโร ในเดือนมิถุนายนที่กำลังจะมาถึงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการถกเถียงกันอย่างเป็นจริงเป็นจังในประเด็นการพัฒนาแบบยั่งยืนหรือ
SUSTAINABLE DEVELOPMENT
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535)
"ชีวิตพลิกฟื้นที่ดอยสามหมื่น"
จันทร์ สุรามิตรลืมตาดูโลกมาได้ 63 ปีแล้ว แต่ดูเหมือนว่าชีวิตของเขาเพิ่งจะได้เริ่มต้นอย่างแท้จริงเมื่อประมาณ
5 ปีมานี้เอง พร้อม ๆ กับการเข้ามาของโครงการพัฒนาที่สูงสามหมื่นโครงการอันเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกองอนุรักษ์ต้นน้ำ
กรมป่าไม้กับกองควบคุมการใช้ยาในทางที่ผิดแห่งสหประชาชาติ (UNDCP) ซึ่งมีเป้าประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชาวเขา
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2535)
"ขาดแคลนน้ำ ปัญหาระยะยาวที่ต้องเร่งแก้ไข"
ช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนตลอดระยะห้าปีที่ผ่านมา ปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบถึงคนทั้งประเทศหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ รัฐบาลแต่ละรัฐบาลในช่วงเวลานั้น ๆ ทุ่มเทงบประมาณจำนวนไม่น้อยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่ต้องอาศัยน้ำในการเพาะปลูก
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2535)
"อีก 30 ปี คนกรุงเทพฯ นนทบุรีและสมุทรปราการจะมีน้ำใช้พอเพียง"
กปน. วางแผนจัดหาและผลิตน้ำ 8 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันใน 30 ปีข้างหน้า เพื่อป้อนความต้องการของคนกรุงเทพฯ
นนทบุรีและสมุทรปราการ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มเป็น 15.5 ล้านคน แต่ก่อนถึงวันนั้น
คน 3 จังหวัดที่ว่า อาจต้องเผชิญปัญหาน้ำขาดแคลนอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2535)