Rio+20 Earth Summit for Sustainable Development คืออะไร
"Sustainable Development" (SD) มีความหมายอย่างไรกันแน่ แม้จะเป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง เป็นหลักคิดแนวใหม่ในวงการบริหารปกครองและวิชาการ แต่ในสังคมของคนธรรมดาทั่วไปก็มีน้อยคนนักที่จะเข้าใจความหมายอันแท้จริง
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2555)
Eco Town มีอยู่จริง...หรือเปล่า
อุตสาหกรรมกับชุมชนอยู่รวมกันได้จริงหรือ ในที่นี้หมายถึงอุตสาหกรรมหนักประเภทโรงกลั่นปิโตรเคมี ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมรีไซเคิล ซึ่งจะสะท้อนโอกาสของการสร้างอีโคทาวน์ (Eco Town) ในไทยว่าจะเป็นไปได้จริงไหม
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2555)
ดวงอาทิตย์กับความปรวนแปรของโลก
ท่ามกลางภัยพิบัติทางธรรมชาติและความปรวนแปรของภูมิอากาศที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในทศวรรษนี้ ชีวิตคนเดินดินอย่างเราก็มีแต่ความไม่แน่นอนและความสับสนสงสัยว่าต้นสายปลายเหตุมันมาจากอะไรกันแน่ และควรจะปรับตัวไปในทิศทางไหน จึงจะอยู่รอดปลอดภัย ควรจะเชื่อนักวิทยาศาสตร์หรือนักโหราศาสตร์ดี
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2555)
แค่ “ทราย” กับ “ทะเล” ไม่โรแมนติก ยังชีพไม่ได้
“ทรายกับทะเล” เป็นคำพูดที่ชวนให้นึกถึงภาพบรรยากาศสวยงามโรแมนติก แต่สำหรับคนชุมชนบ้านกลาง ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา คือภาพแห่งความทรงจำอันเจ็บปวด เป็นภาพที่คนในชุมชนต้องใช้เวลาเกือบ 20 ปี ลบภาพนั้นทิ้งไป พวกเขาตั้งใจจะไม่ปล่อยให้ภาพนั้นกลับมาเกิดขึ้นอีก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2555)
ขุมทรัพย์ใต้แผ่นน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ
แม้ว่าขั้วโลกเหนือ หรือ North Pole หรือ Arctic Circle จะเป็นผืนแผ่นดินที่อ้างว้าง หนาวเย็น มีพืชปกคลุมอยู่เฉพาะฤดูร้อนเพียงไม่กี่สัปดาห์ มีผู้คนอาศัยอยู่ประปรายกระจายตัวอยู่นับได้เป็นจำนวนแสนเท่านั้น แต่ขั้วโลกเหนือก็มีขุมทรัพย์มูลค่ามหาศาลซ่อนตัวอยู่ภายใต้แผ่นน้ำแข็ง หลายๆ ประเทศตระหนักดี และพยายามที่จะยื่นไม้ยื่นมือเข้ามาอ้างสิทธิ์จับจองผลประโยชน์กันเป็นการใหญ่ โดยเฉพาะประเทศยักษ์ใหญ่มหาอำนาจของโลก เช่น สหรัฐฯ และรัสเซีย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555)
“ฝาย” ที่โตเป็น “โรงไฟฟ้า”
พูดกันจังว่าฝายมีชีวิต วลีนี้เป็นแค่คำเก๋ๆ ที่ดึงความสนใจหรือเป็นเรื่องจริง วันนี้มีบทพิสูจน์จากฝาย สิ่งซึ่งไม่ถาวร สร้างจากไม้ไผ่ ก้อนหิน และกองดิน เจอฝน เจอน้ำไหลผ่านก็ผุพังไปตามเวลา แต่การผุพังของฝาย ให้ความชุ่มชื้น ให้กำเนิดป่ารุ่นใหม่ และรวมหยดน้ำเป็นสายไหลไปให้ประโยชน์กับแปลงไร่นาของชาวบ้าน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555)
ยืดอายุโลกด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ทฤษฎีสำหรับคนจน” “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต” “เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้รังเกียจกำไร” “ปรับชีวิตสู่วิถีพอเพียงคือแนวทางแห่งความยั่งยืน” ฯลฯ “ผมพูดและบรรยายซ้ำซากอย่างนี้มาไม่รู้กี่ครั้ง พูดมา 10 กว่าปี ใครได้ยินแล้วก็ให้ได้ยินอีก” ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิ ชัยพัฒนา กล่าวประโยคนี้ก่อนนำเข้าสู่สาระของเศรษฐกิจพอเพียง...อีกครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555)
Green Top up ในแบบ SCG
“ไปที่ไหนเราก็ทำมาตรฐานเดียวกัน เราเปิด Coal Hub ที่เวียดนาม เราก็ปลูกต้นไม้ทำ Green Belt มีผ้าใบคลุมกองถ่านหิน มีน้ำล้างฝุ่น คนที่นั่นก็ถามว่าเราทำอะไร เพราะไม่มีใครทำแบบที่เราทำ” กลินท์ สารสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี เทรดดิ้ง จำกัด เล่าถึงการเปิด Coal Hub หรือท่าเรือขนถ่ายถ่านหินของเอสซีจี เทรดดิ้ง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555)
เงินทุนเพื่อการกอบกู้โลก
ส่วนที่ 5 ที่ว่าด้วยเรื่องสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศที่เล็งมาที่ไทยเพื่อสนับสนุนด้านเงินทุนที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน รวมทั้งเป็นประเด็นสำคัญในการเริ่มต้นและทำให้กระบวนการของการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนเกิดขึ้นและเป็นจริง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555)
นิวเคลียร์ หรือ ทดแทน แนวทางที่ไทยต้องเลือกให้ถูก
ส่วนที่ 3 นโยบายด้านพลังงานทดแทนของรัฐบาลไทย นโยบายพลังงานของไทยปรากฏอยู่ในเอกสารสำคัญ 3 ฉบับคือ แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า แผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2553-2573 และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 2551-2565 ซึ่งรัฐบาลไทยทั้งชุดก่อนและชุดปัจจุบัน กำลังปฏิบัติตามแผนเหล่านี้เพื่อแก้ปัญหาพลังงานของไทย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555)