"ตั้งโต๊ะกัง" ห้างทอง 140 ปี
ไม่ใช่แค่ยี่ห้อ ตึกเก่า หรือตราครุฑพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 ที่ "ตั้งโต๊ะกัง" รักษาเอาไว้ได้ แต่เหนือสิ่งอื่นใดกลับเป็น "รากเหง้าของตระกูลค้าทอง" ที่ส่งทอดจากรุ่นสู่รุ่นแม้เปลี่ยนผ่านมือมาแล้ว 140 ปี
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2551)
อุตสาหกรรมเพชรกับปัญหาภาพลักษณ์
อุตสาหกรรมเพชรมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์กำลังสั่นสะเทือนด้วยปัญหาภาพลักษณ์ ซึ่งเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ทำให้สินค้าที่หรูหราฟุ่มเฟือยแต่ไม่มีความสำคัญกับชีวิตชนิดนี้ดำรงอยู่ได้
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2550)
โรยัล เจริญกรุงสานงานต่อเนื่องย้ำเป็นศูนย์อัญมณี
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโรยัล เจริญกรุง ซึ่งออกแบบโดยอาจารย์รังสรรค์
ต่อสุวรรณ เพื่อให้เป็นอาคารศูนย์กลางธุรกิจอัญมณีครบวงจรแห่งแรกของเมืองไทยนั้นเริ่มมีความไม่แน่ใจในช่วงที่อาคารหลังนี้ใกล้แล้วเสร็จ เพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยเลวร้ายลงต่อเนื่อง และมีแนวโน้มดิ่งลงเรื่อยๆ
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2540)
"ส่งออกอัญมณีไทย รุ่งหรือดับ!?"
ครั้งหนึ่งนานมาแล้วการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยส่องแสงสว่างไปทั่วโลก
ถือว่าเป็นยุคเบ่งบานของอุตสาหกรรมนี้ แต่ปัจจุบันแสงสว่างค่อยๆ ดับลง อะไรคือปัญหาสำคัญของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย แนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งจากภาครัฐและเอกชนมีมากน้อยแค่ไหน การส่งออกของอุตสาหกรรมนี้จะมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ ประเด็นเหล่านี้น่าจับตามองอย่างยิ่ง!
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)
"เจโมโพลิส จะเป็นศูนย์กลางอัญมณีได้จริงหรือ!?"
เมื่อปี 2533 มีกลุ่มผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของภาครัฐที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีโลก
ดังเช่นศูนย์อัญมณีชั้นนำของโลกซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ กรุงนิวยอร์ก เมืองแอนเวิร์ป ในเบลเยียมและเมืองรามัตกัน ในอิสราเอล ดังนั้นสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ว่าประเทศไทยควรจัดสร้างสูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับขึ้นเพื่อพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมดังกล่าว
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)
สันติ โฮ สร้างคลื่นลูกที่สามให้จิวเวลรี่เทรดเซ็นเตอร์
แม้จะเกิดมาในตระกูลค้าเพชรพลอยที่มีศูนย์ค้าเพชรขนาดใหญ่อย่างจิวเวลรี่
เทรดเซ็นเตอร์ ตั้งตระหง่านริมถนนสีลม แต่สันติ โฮ หนึ่งในทายาทของ ดับบลิว
เค โฮ กลับเลือกที่จะเดินเข้าสู่ธุรกิจอินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี หรือไอที
คลื่นลูกที่สามของธุรกิจในยุคนี้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539)
กู้เกียรติ รัตนพันโทวงษ์ "ทองคำไม่เหมือนรถยนต์ จะได้ดูกันแค่ยี่ห้อ"
หลังจากที่ซุ่มขายสินค้าเงียบๆ มาประมาณ 1 ปี จนกระทั่งมีจุดขายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วกรุงเทพฯ
ทั้งสิ้น 14 แห่งแล้ว บรษัทพีดี เหมืองแร่และอัญมณี จำกัด ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวเครื่องประดับทองคำสวิส
99.99% ภายใต้แบรนด์เนม "โกลด์ เนเจอร์" อย่างเป็นทางการไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2539)
"แพรนด้า...คิดอย่างไร!!จึงทุ่มซื้อมาร์เก็ตติ้งอาร์ม"
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นธุรกิจส่งออกระดับแนวหน้าของไทย ทำรายได้เข้าประเทศปีละหล่นหมื่นล้านบาทในปัจจุบัน
และมีแนวโน้มว่าจะทำรายได้เข้าประเทศได้ถึง 1 แสนล้านในอีก 5 ปีข้างหน้า
แต่ปัญหาใหญ่กำลังรุกคืบเข้ามาคือ อาจจะต้องสูญเสียตลาดให้กับคู่แข่งสำคัญอย่าง
ญี่ปุ่น, อเมริกาในเร็ววันนี้ กลุ่มแพรนด้า จิวเวลรี่ หนึ่งในห้ายักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมอัญมณีเครื่องประดับไทย
จึงจำเป็นต้องตัดสินใจกระโจนออกต่างประเทศวางฐานตลาดในอเมริกา และยุโรป"
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536)
"แคนาเดีย โกลด์ แอนด์ ทรัสต์ คอร์ป"
หากไม่พิจารณาที่ชื่อแล้ว แคนาเดีย โกลด์ แอนด์ ทรัสต์ คอร์ปจัดเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง
แต่มีธุรกิจหลักคือค้าทอง ซึ่งคิดเฉลี่ยได้ถึงราวเดือนละ 600 กิโลกรัม เป็นมูลค่าถึง
6.6 ล้านดอลลาร์
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535)