marimekko ดอกไม้ที่บานในใจคนทั้งโลก
"ประเทศซึ่งไร้อะไรหลายอย่าง แต่มีสิ่งหนึ่งซึ่งยิ่งใหญ่มาก นั่นคือ Orginality" คำปรารภในวันเปิดตัวนิทรรศการ "marimekko แล้ง หนาว...แต่เร้าใจ" โดยพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธาน TCDC ผู้ริเริ่มเปิดตำนานมารีเมกโกะ เจ้าของดอกไม้ที่บานในใจคนทั้งโลกกว่าครึ่งศตวรรษให้มาผลิบานในเมืองไทย
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2549)
fast fashion จากยุโรประบาดถึงอเมริกา
วงการเสื้อผ้าสหรัฐฯ ต้องสะเทือน เมื่อเสื้อผ้าแฟชั่นหรูหราแต่ราคาถูกจากยุโรป เริ่มบุกเข้าไปครองใจลูกค้า ไม่มีฤดูกาลแฟชั่นที่ร้านของ H&M บนถนน Fifth Avenue ในนิวยอร์ก ที่นี่มีเสื้อผ้าแฟชั่นใหม่เอี่ยมอ่องตกมาถึงเกือบทุกวัน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2549)
Dreams of the Orient
ลายผ้าสีสันสดใสทั้งผ้าพื้นและลายผ้ามัดย้อม 2 โทนสี กลายเป็นชุดเครื่องนอนคอลเลกชั่นใหม่ของ Jim Thompson "Dreames of the Orient"
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2549)
Power Marketing
ภาพชาวอเมริกันคนหนึ่งพาดผ้าไหมไทยผืนยาวไว้กับไหล่และท่อนแขนด้วยความทนุถนอม ให้ชาวต่างชาติดูที่โรงแรมโอเรียนเต็ล คือวิธีการขายในยุคแรกๆ ของจิม ทอมป์สัน ที่ยึดตลาดชาวต่างชาติในสังคมชั้นสูงของเมืองไทยเป็นหลัก
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2548)
Design Strategy for Innovation
คอลเลกชั่นของจิม ทอมป์สัน ที่ออกสู่ตลาดโลกในเดือนกันยายนนี้ เป็นนวัตกรรมใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าวันนี้ตลาดผ้าไหมของจิม ทอมป์สัน ไม่จำเป็นต้องเป็นไหมอย่างเดียวต่อไป
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2548)
100 ปี จิม ทอมป์สัน
ผ้าไหมผืนสวยจากฝีมือคนไทยในดินแดนเล็กๆ แห่งซีกโลกตะวันออก คือจุดเริ่มต้นของความประทับใจที่ผู้คนมีต่อแบรนด์ จิม ทอมป์สัน
มาตลอดระยะเวลากว่า 54 ปี
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2548)
สิ่งทอไทยส่อแววฟื้น
สิ่งทอไทยเข้าสู่ยุคมืดมิดเมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ขาดสภาพคล่องจนถูกตัดไฟ
หนทางเยียวยาได้ต้องเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ คาดงบเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่รัฐสนับสนุน 2.5 หมื่นล้านจะช่วยฉุดอุตสาหกรรม 3 แสนล้านนี้ให้ผงกหัวได้อีกครั้ง ก้าวต่อไปคือการลดภาษีเครื่องจักรและวัตถุดิบให้ทันก่อน 1 ม.ค. ค.ศ.2005 ซึ่งอัตราภาษีนำเข้าสิ่งทอจะเป็นศูนย์
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2540)
จับตาทุนเท็กซ์ฯ ครบวงจรสร้างความมั่นคงหรือจะเป็นดาบสองคม
บมจ.ทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) หรือ TUNTEX หนึ่งในอีกหลายบริษัทที่กำลังเจอมรสุมกับการดำเนินธุรกิจ
หนทางออกที่ทุนเท็กซ์ฯ เลือกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ คือแผนการทำธุรกิจอุตสาหกรรมสิ่งทอของตัวเองให้ครบวงจรเร็วที่สุด
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540)
"สัมฤทธิ์ ชูกลิ่น เส้นทางไอเท็มส์สู่ MASS PRODUCT"
การตัดสินใจของสัมฤทธิ์ ชูกลิ่น กรรมการผู้จัดการบริษัท กรุ๊ปโป้ 1991
จำกัดในการปรับคอนเซ็ปต์ของเสื้อผ้าแบรนด์ไอเท็มส์ จากจุดเริ่มต้นที่เน้นความเป็น
"ดีไซน์เนอร์แบรนด์" จับกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ ที่มีรสนิยมสำอาง
ราคาสินค้าอยู่ในระดับสูง สู่สินค้าที่เป็น MASS PRODUCT ด้วยแนวเสื้อเบสิกแฟชั่น
จำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าในอดีตถึงกว่าครึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2538)
"สมชาย ทรงศักดิ์เดชา วิศวกรผู้สร้าง "แอร์โรว์" มา 20 ปี"
"ผมจบวิศวะ แต่มาอยู่โรงงานทำเสื้อเพื่อนผมหัวเราะกันใหญ่ เพราะตอนนั้นไม่มีใครเห็นคุณค่าอุตสาหกรรมเสื้อผ้า
แตกต่างกับตอนนี้ที่มูลค่าการส่งออกปีละเป็นแสนล้านบาท" สมชาย ทรงศักดิ์เดชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด(มหาชน) เจ้าของลิขสิทธิ์ผู้ผลิตเสื้อเชิ๊ตแอร์โรว์ในประเทศไทยเล่าเหตุการณ์เมื่อสมัย 20 ปีก่อนที่เขาถูกมอบหมายให้มารับผิดชอบจัดตั้งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งแรกของธนูลักษณ์ให้ฟัง
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2538)