ปัญจพลไฟเบอร์ มาเรียบ และมาแรง
แม้จะเป็นผู้ผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกรายใหญ่สุดของเมืองไทยที่มีอายุยาวนานกว่า
50 ปี แต่ปัญจพลไฟเบอร์ หรือเรียกกันในวงการด้วยชื่อเก่าว่า "เฮี่ยงเซ้ง"
กลับไม่ค่อยมีข่าวคราวออกมาสู่สาธารณชนมากเท่าไรนัก ห้าเสี่ยแห่งตระกูล เตชะวิบูลย์
พอใจที่จะเก็บเนื้อเก็บตัวทำงานกันเงียบ ๆ ไม่ต้องให้ใครมารับรู้เรื่องราวของตัวเอง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532)
รถไฟฟ้าเปลี่ยนเส้นทาง
ถ้าไม่มีเหตุผลบังเอิญว่ากลุ่มลาวาลินอินเตอร์เนชั่นแนลเกิด "พลาด"
ข้อเสนอทางการเงินในโครงการไฟฟ้า 40,000 ล้านบาท ต่อการทางพิษแห่งประเทศไทยว่ารัฐต้องค้ำประกันทางด้านเงินกู้
ซอฟท์โลนจากรัฐแคนาดาแล้ว ป่านนี้โครงการรถไฟฟ้าคงจะเป็นจริงไปแล้วไม่ต้องให้กลุ่มเอเชีย-ยูโร
คอนซอร์เตี้ยมที่ได้อันดับ 2 มานั่งเจรจากันใหม่
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532)
ประกาศิต โออีซีเอฟทุกอย่างต้องญี่ปุ่นเท่านั้น !?
รัฐบาลไทยเริ่มกู้เงินจากญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2512 โดยผ่านองค์กรของรัฐบาล
2 องค์กร คือ หนึ่ง - กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น หรือ
โออีซีเอฟ (OVERSEAS ECONOMIC COOPERATION FUND OF JAPAN) สอง - ธนาคารส่งออก
- นำเข้าของญี่ปุ่น หรือ EXIM BANK (EXPORT - IMPORT BANK OF JAPAN)
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2532)
ชาญชัย ตุลยะเสถียร "ผมรอวันนี้มานานแล้ว"
วันที่ 15 เมษายน 2531! วันที่ชาญชัยมีส่วนสำคัญยิ่งในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของไทยออยล์ ในการกู้เงินบาทครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์จำนวน 5,000 ล้าน และกู้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอีก 100 ล้านบาท โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์อะไรของไทยออยล์ค้ำประกันเลยแม้แต่ชิ้นเดียว
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2531)
แผนหมูสามชั้น ข่าวดีที่แบงก์กลัวเจ็บตัวอีก !?
หลังปล่อยให้วังน้ำฝนมีอิสระในการแก้ไขปัญหาเกือบหนึ่งปีเต็ม แบงก์กรุงเทพก็พอมองออกเลา ๆ แล้วว่า ตัวเองคงหมดความหวังกับวังน้ำฝนเสียแล้ว ดังนั้นจึงได้ยื่นข้อเสนอแบบค่อย ๆ บีบและ ไม่น่าเกลียดจนเกินไปนักรวมทั้งวังน้ำฝนเองก็ไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธ 3 ข้อใหญ่คือ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2531)
ชูศักดิ์ หิมะทองคำ เขาติดกับดักตัวเองแท้ ๆ
เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน ชื่อของชูศักดิ์ หิมะทองคำ เจ้าหน้าที่แบงก์กรุงเทพระดับ VP ดังระเบิดทั่วยุทธจักรการเงินในบ้านเรา เมื่อเขาริเริ่มโครงการสินเชื่อเกษตรครบวงจร "หนองหว้า" ร่วมกับเจริญโภคภัณฑ์ นัยว่าโครงการสินเชื่อชิ้นนี้ประสบผลดียิ่งจนผู้ใหญ่หลายคนในแบงก์ให้การยอมรับในฝีมือชูศักดิ์เป็นอย่างมาก
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2531)
"ธานินทร์อุตสาหกรรม : ลูกหนี้น่ารัก"
ในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กลาดเกลื่อนไปด้วยสินค้าตีตราญี่ปุ่น ธานินทร์นับว่าพอจะเป็นหน้าเป็นตาให้กับอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าไทยได้บ้างในฐานะที่เป็นสินค้าเมดอินไทยแลนด์
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531)