SMEs ยุค 2008 ของธนาคารกรุงเทพ
แม้ว่าธนาคารกรุงเทพเริ่มปล่อยเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่ก็เป็นไปในรูปแบบ ลองผิดลองถูก จนกระทั่งสามารถค้นหาวิธีการของตนเองเมื่อไม่นานมานี้ โดยใช้ "กลยุทธ์การจับพื้นที่" และ "กลยุทธ์จับอุตสาหกรรม" ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวลูกค้ามาแล้ว 2 ปีอย่างเงียบๆ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2551)
เทคนิคการกู้เงินของ SMEs
เสรี แฟคตอรี่ แลนด์ ถือเป็น SME ที่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งอยากให้มาเป็นลูกค้า เพราะนอกจากทำธุรกิจรับสร้างโรงงานให้กับเหล่า SMEs ด้วยกันแล้ว บริษัทนี้ยังเป็นที่ปรึกษาให้กับลูกค้าในการกู้เงิน ล่าสุดมีบทบาทสำคัญทำให้ธนาคารกสิกรไทยออกแคมเปญปล่อยกู้ให้ SMEs นาน 10 ปี ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2551)
อยากแต่งงาน สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดช่วยได้
ดูเหมือนว่า ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จะแอคทีฟตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะการให้บริการสินเชื่อรายย่อยที่มียุทธชัย เตยะราชกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายสินเชื่ออุปโภคบริโภคของธนาคารจะขยันขันแข็งเป็นพิเศษ เห็นบอกว่าปีนี้จะรุกสินเชื่อบุคคลอย่างเต็มที่ ซึ่งก็น่าจะเป็นอย่างนั้นเพราะอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ธนาคารก็เปิดบริการเรียกน้ำย่อยตัดหน้าธนาคารหลายแห่งไปเรียบร้อย
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2551)
GE กับเงิน 11 ล้านบาท
ข่าวคราวของจีอี เฟิร์สช้อยส์ คาร์ด ห่างหายไปเป็นพักๆ มีความเคลื่อนไหวที่ไม่ค่อยต่อเนื่องเท่าไรในหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมาเปิดตัวในเมืองไทยอย่างเป็นทางการเมื่อ 13 ปีก่อนก็ตาม ปี 2537 เป็นปีแรกที่จีอี มันนี่ เข้ามาแนะนำตัวเองว่าเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อการผ่อนชำระสินค้าในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกทั่วไป ผ่านบริการที่เรียกว่า "เฟิร์สช้อยส์" แต่ดูเหมือนว่ากิจกรรมการตลาดไม่หวือหวามากนัก
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2551)
ดิ้นเพื่ออยู่รอด
ระยะเพียงสัปดาห์ครึ่งในช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิตถึง 8 แห่ง ได้ชักแถวกันออกแคมเปญกระตุ้นให้มีการใช้บัตรเครดิตชนิดไม่เว้นแต่ละวัน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550)
“KTC เดินมาถูกทางแล้ว”
ข่าวคราวการทวงหนี้โหดของธุรกิจ "บัตรเครดิต" และ "สินเชื่อบุคคล" ที่พาดหัวข่าวตัวใหญ่ๆ บนหน้าหนังสือพิมพ์ และหน้าจอโทรทัศน์ ที่กล่าวถึงการใช้วิธีการต่างๆ นานา ไม่ว่าจะเป็นการใช้วาจาหยาบคายทวงหนี้รายวัน หรือส่งเอกสารแฟกซ์ไปสถานที่ทำงานเพื่อให้ได้รับความอับอาย จนทำให้สถาบันการเงินที่เป็นทั้งธนาคาร และธุรกิจ non-bank ตกอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่าเป็น "ผู้ร้าย"
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550)
ถึงยุคที่ KTC ต้อง Conservative
นิวัตต์ จิตตาลาน ถึงกับออกปากว่า ในอีก 2 ปีข้างหน้า KTC จะต้อง conservative มากขึ้น เพราะยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูได้หมดไปพร้อมกับโจทย์ใหญ่ที่เข้ามา คือการสร้างผลกำไรให้ผู้ถือหุ้นพอใจ นับเป็นความท้าทายที่เขาต้องฝ่าไปอีกครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550)
สินเชื่อรายย่อยเพื่อมหาชน?
"เพียงคุณมีเงิน 2 หมื่นบาท คุณก็สามารถสร้างความบันเทิงภายในอพาร์ตเมนต์ของคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นทีวี ดีวีดี ตู้เย็น พัดลม" อภิชาต นันทเทิม กรรมการบริหาร บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) บอกกล่าวถึงการใช้ชีวิตของคนเมืองปัจจุบันที่หาซื้อสิ่งของเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น โดยผ่านการขอสินเชื่อ
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550)
ไทยเครดิต เพื่อรายย่อยตัวจริง
ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ซึ่งเป็นธนาคารรูปแบบใหม่ตามแผนแม่บทพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้เกิดขึ้นมาแล้ว 3 แห่ง แต่ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ดูเหมือนจะเป็นเพียงแห่งเดียวที่เน้นฐานลูกค้าราย "ย่อย" จริงๆ
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550)
ดุค ฮู เหวียน กรรมการผู้จัดการ "Livesmart เหมือน Visa"
การดำเนินงานของบริษัท Livesmart หัวใจสำคัญอยู่ที่การบริหารจัดการข้อมูลของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาให้เป็นระบบ เพื่อง่ายต่อการติดตาม และตรวจสอบเอกสาร ซึ่งงานส่วนนี้มีผู้ดูแลรับผิดชอบควบคุมทีมงานโดยตรงก็คือกรรมการผู้จัดการ ดุค ฮู เหวียน (Duc Huu Nguyen)
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2549)