"เปิดความลับ กฟผ. เข้าตลาดหุ้น"
กฟผ.ไม่โปร่งใส ? EGCO กำลังแทะเนื้อแม่ตัวเอง ? นี่คือข้อสงสัยที่เกิดขึ้น
ท่ามกลางความไม่สมประกอบของหลักเกณฑ์ และตัวบริษัทลูกในการเข้าตลาดหุ้นจากนี้ไปถึงแผนฯ
8 กฟผ.จะต้องลงทุนมากถึง 1,033,163.8 ล้านบาท เงินบีบคั้นให้องค์กรผลิตไฟฟ้าแห่งนี้ต้องพลิกตัวเองไปสู่ฐานะใหม่ในตลาดเสรีที่กำลังจะเปิด
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)
"จากเอกชนสู่รัฐ…..ไฟฟ้ากำลัง หมุนกลับสู่จุดเดิม"
"ราคาไฟฟ้าแพงกว่าก๋วยเตี๋ยว" หากหลับตาลง ย้อนยุคไปสัก 100 ปีคงจะได้ยินเสียงบ่นประโยคข้างต้นตามภาษาราษฎรเต็มขั้นเพราะยุคคุณทวด คุณปู่ยังวัยขบเผาะนั้นราคาก๋วยเตี๋ยวเพียงแค่ชามละ 25-50 สตางค์เท่านั้นแต่ราคาไฟฟ้ากลับมากถึงหน่วยละ 1 บาท 50 สตางค์ถึง 3 บาททีเดียว ทั้งนี้แล้วแต่ผู้รับสัมปทานจะกำหนดเองตามชอบใจ
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)
"เอกชนผู้สนใจจะค้าขายไฟฟ้า.....อ่านตรงนี้ !"
ด้วยที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เป็นผู้ผูกขาดการผลิตและการขายไฟฟ้าในประเทศไทยรายเดียวมาตลอด
เมื่อมีผู้ผลิตรายใหม่อย่าง NPC เกิดขึ้นมาจึงต้องมีระเบียบว่าด้วยการรับซื้อไฟฟ้าเพราะไม่ว่าใครจะเป็นผู้ผลิตก็ตามก็ต้องขายให้ กฟผ. ด้วยกันทั้งนั้น รวมทั้งเอกชนที่คิดผลิตไฟฟ้าอย่าง บริษัทเหมืองบ้านปู และบริษัทผลิตไฟฟ้า ที่ กฟผ. จัดตั้งขึ้นเพื่อจะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็ไม่ได้ยกเว้นเช่นกัน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)
"เหมืองบ้านปูผู้หาญกล้าท้าทายกับ กฟผ."
เมธี เอื้ออภิญญกุล กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทเหมืองบ้านปูผู้นี้กำลังคิดโครงการใหญ่
หาญกล้าจะผลิตไฟฟ้าแข่งกับ กฟผ. แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มีโอกาส จึงต้องเปลี่ยนท่าทีเป็นขอร่วมทุน
ซึ่ง ณ วันนี้ กฟผ. ก็ยังเมินอยู่
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)
"อนาคตไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ?!"
พลังงานนิวเคลียร์เป็นแหล่งเชื่อเพลิงที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ (กฟผ.) ให้ความสนใจมานานถึงขั้นมีดำริสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมื่อสิบกว่าปีก่อน แต่ถูกคัดค้านจนต้องล้มเลิกโครงการ ต่อมามีการระบุในแผนกำลังการผลิตปี 2549 ว่าจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าประเภทนี้ขึ้นใหม่ มีบริษัทผู้ผลิตโรงไฟฟ้าฯ ต่างชาติเสนอตัวเข้ามาเป็นจำนวนมาก กฟผ. กำลังอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมในการสร้างทั้งในเรื่องของการยอมรับจากประชาชนและงบประมาณการก่อสร้าง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2535)
"คนดูแลโรงงานนิวเคลียร์"
"ปัญหาเรื่องนิวเคลียร์คือต้องทำให้ประชาชนเข้าใจ แต่ไหนแต่ไรมาเราก็รู้ว่าพลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็น
การจะเอาโครงการนี้เข้ามาค่อนข้างเป็นอันตรายต่อการยอมรับของประชาชน จะต้องค่อย
ๆ ทำการเผยแพร่ความเข้าใจเพราะนิวเคลียร์การตัดสินใจวันนี้ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้เลย
ของอย่างนี้ไฮเทค ต้องเตรียมคนที่มีคุณภาพ เตรียมโครงสร้างที่รัดกุมพอ"
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535)
กม.อนุรักษ์คุมเข้มโรงงาน ปี '35 ยิ่งประหยัดยิ่งได้โชค
ปีหน้า...จะมีมิติใหม่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมไทย...!
ไพจิตร เอื้อทวีกุล ประธานคณะอนุกรรมการนโยบายพลังงาน กล่าวถึงทิศทางการพัฒนาธุรกิจน้ำมันของไทยเมื่อวันที่
30 ตุลาคมศกนี้ว่า พ.ร.บ.อนุรักษ์พลังงานคงจะนำมาประกาศใช้ได้ในปี 2535
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2534)
เผยสูตรใหม่ค่าไฟเพิ่ม เน้นประหยัดเป็นหลัก
เราต้องยอมรับว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้ใช้ไฟมักจะจ่ายค่าไฟต่ำกว่าความเป็นจริง
ซึ่งทำให้ผู้ใช้ไฟไม่ตระหนักในการใช้อย่างประหยัด ทางปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายพลังงานแห่งชาติ จึงได้ศึกษาและสรุปใช้สูตรค่าไฟใหม่โดยจะเริ่มใช้ในปลายปีนี้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2534)
สมพงศ์ นครศรี ผู้ถือหลัก "จิตว่าง" ในการทำธุรกิจ
ถ้าพนักงานหนุ่มการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) คนนี้ไม่ดิ้นรนที่จะส่งเสียน้องเรียนหนังสือด้วยการเบนเข็มชีวิตตัวเองมาทำธุรกิจผลิตสายไฟฟ้าก็คงจะไม่มีวันนี้
วันซึ่งเขาประสบความสำเร็จทั้งด้านส่วนตัวและธุรกิจอย่างมีความสุข
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2533)
โธ่……เกษมอีกแล้ว
เกษม จาติกวณิช อยู่กับ กฟผ.มา 30 ปี อยู่ ๆ ก็ถูกปลด โดยอำนาจทางการเมืองโดยไม่มีเหตุผลแน่ชัด
พร้อม ๆ กับกรรมการ กฟผ.อีก 4 คน เพราะเหตุไร แม้เรื่องจะสงบ ด้วยการประนีประนอมไปพักหนึ่ง
แต่หลายคนย่อมรู้ว่า ยุทธศาสตร์ครั้งนี้ พรรคชาติไทยชนะไปแล้วครึ่งหนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2532)