Green Mirror...ไฟฟ้านิวเคลียร์กับคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ
เมื่อมีผู้ถามขึ้นว่า "ทำไมเราต้องนำพลังงานนิวเคลียร์เข้ามาผลิตไฟฟ้า" ก็จะมีคำตอบซ้ำแล้วซ้ำเล่าที่เราได้รับจากผู้กำหนดนโยบายของประเทศว่า "เราต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น เพราะเรามีประชากรเพิ่มขึ้น มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่เชื้อเพลิงฟอสซิลมีปริมาณจำกัด ทำให้เกิดมลพิษและภาวะโลกร้อน ก็ภาวะโลกร้อนมิใช่หรือที่เป็นสาเหตุแห่งภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและภัยพิบัติต่างๆ ที่เราเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้" คำตอบนี้เป็นความจริงอย่างที่สุด แต่!! เรามีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550)
สมฤดี ชัยมงคล กับโจทย์ที่ท้าทาย CFO
เป็นเรื่องท้าทายสำหรับคนที่เป็น CFO ของบริษัทอย่างบ้านปู ที่ตั้งเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากการหาเงินทุนต้นทุนต่ำเพื่อนำมาใช้ในการขยายงานแล้ว ยังต้องสร้างสมดุลให้ผู้ถือหุ้นระหว่างผู้ที่ต้องการรับเงินปันผลกับผู้ที่ต้องการเห็นการเติบโตของบริษัท ซึ่งมีผลต่อการเติบโตของราคาหุ้น
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2550)
Institutionalizing Banpu
คนส่วนใหญ่ยังอาจติดกับภาพที่ว่ากลุ่มบ้านปู ธุรกิจเล็กๆ ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างคนจาก 2 ตระกูล จนได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลายเป็นบริษัทมหาชน กระจายหุ้นให้นักลงทุนทั้งในกลุ่มสถาบัน กองทุนต่างชาติ และรายย่อยในประเทศอยู่ในปัจจุบัน ยังคงเป็นธุรกิจของตระกูลว่องกุศลกิจ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
พัฒนาการของบ้านปู
พัฒนาการของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
New Source of Revenue
ไม่มีความพยายามครั้งใดของครอบครัวว่องกุศลกิจในการผลักดันธุรกิจของกลุ่มบ้านปูให้เติบโตออกไปได้อย่างรวดเร็วในต่างประเทศ จนกลายมาเป็นผู้เล่นเอกชนรายใหญ่ในธุรกิจถ่านหินระดับภูมิภาคได้อย่างในปัจจุบัน จะมีพละกำลังได้มากมายมหาศาลเท่าความพยายามอันแก่กล้า ซึ่งเกิดขึ้นมาในท่ามกลางเวลาที่ธุรกิจครอบครัวของพวกเขากำลังซวนเซจวนเจียนจะล้มลงในกระแสแห่งวิบากกรรมของค่าเงินครั้งใหญ่เมื่อกลางปี 2540
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
บ้านปู ดอกผลที่ใหญ่เกินคาด
23 ปีก่อน คนในตระกูล "ว่องกุศลกิจ" คงคิดไม่ถึงว่า "เหมืองบ้านปู" ธุรกิจถ่านหินที่ใช้เงินลงทุนตอนนั้นแค่ไม่กี่ล้านบาท จะเติบโตจนกลายมาเป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมพลังงานได้เหมือนอย่างในทุกวันนี้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
จากน้ำตาลสู่พลังงาน
หากเปรียบเทียบว่าช่วงวิกฤติเป็นช่วงที่มืดหม่น ดูเหมือนว่าตอนนี้จะเป็นช่วงที่ฟ้าเปิดและสดใสเป็นพิเศษสำหรับมิตรผล เพราะนอกจากผลผลิตน้ำตาลจะราคาดีเป็นประวัติการณ์แล้ว ยังมีโอกาสใหม่ๆ ที่น่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าน้ำตาลเพิ่มเข้ามาอีกด้วย นั่นคือเอทานอลและโรงไฟฟ้า
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
from Family to be Professional
ตระกูล "ว่องกุศลกิจ" อาจมีจุดเริ่มต้นมาจากชาวไร่อ้อยในจังหวัดราชบุรี และถึงแม้จะอยู่ในธุรกิจการเกษตรที่ถูกมองว่าไม่ทันสมัย แต่ก็สามารถนำเอาความรู้และการจัดการสมัยใหม่มาปรับใช้กับทุกธุรกิจในเครือ จนทุกวันนี้น้ำตาลมิตรผล ดิ เอราวัณ กรุ๊ป และบ้านปู แทบไม่หลงเหลือภาพของธุรกิจครอบครัวอีกแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2549)
กำไรไตรมาสแรกลดลง 10%
หลังแถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ RATCH เพียง 1 สัปดาห์เศษ ณรงค์ สีตสุวรรณ ก็ต้องออกมาแถลงผลดำเนินงานของบริษัทอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2549
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2549)