เปลี่ยน “มะเร็งปอด” เป็น “เครื่องฟอกอากาศยักษ์”
“ไม่เห็นมีน้ำเลย” เสียงเปรยที่ได้ยินไปทั่วเมื่อมือสร้างฝายสมัครเล่นจากทั่วจังหวัดระยองร่วม 2 พันคนไต่ขึ้นเขาไปยังจุดสร้างฝายบนเขายายดา ที่บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด เตรียมไว้ในงาน “สร้างฝายกับ SCG คืนชีวีให้เขายายดา” เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ขณะที่เสียงตอบกลับของชาวบ้านในพื้นที่ที่เข้ามาร่วมเป็นแรงงานหลักในการสร้างฝายอธิบายกลับไปว่า “นี่ดีกว่าสองปีที่แล้วเยอะแล้วครับ”
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2554)
มากกว่างานอดิเรกกับ "ชลณัฐ ญาณารณพ"
งานอดิเรกหมายถึงกิจกรรมที่มักทำในเวลาว่างเพื่อการผ่อนคลาย สำหรับ "ชลณัฐ ญาณารณพ" งานอดิเรกยังเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร นี่จึงเป็นคำตอบว่า ทำไม CEO แห่งธุรกิจเคมีภัณฑ์ของเครือซิเมนต์ไทย ที่เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการเปลี่ยนเม็ดพลาสติกเป็นเม็ดเงินคนนี้ก็ยังต้องหาเวลาสนุกกับงานอดิเรกร่วมกับทีมงาน
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551)
ดื่ม Wine ฟังผลประกอบการ
บริษัท เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย มีเอกลักษณ์ในการแถลงผลประกอบการที่เป็นตัวของตัวเองอย่างยิ่ง ฉีกกฎเกณฑ์เดิมๆ ของเครือซิเมนต์ไทยอยู่บ่อยครั้ง จากที่เคยให้ผู้บริหารขับเจ็ตสกีมาจากกลางทะเล เพื่อเปิดงานแถลงข่าวก็เคยทำมาแล้ว และครั้งล่าสุดก็เลือกเอาบรรยากาศไร่องุ่น กรานมอนเต้ เขาใหญ่ ท่ามกลางลมเย็นต้นเดือนพฤศจิกายน เป็นสถานที่บอกเล่าเรื่องราวของบริษัทปีที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2549)
บางส่วนของผู้เข้ารอบสุดท้าย
บริษัท เซรามิคอุตสาหกรรมไทย ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศด้วยผลงานกระเบื้องพิมาย ซึ่งเป็นกระเบื้องหินทรายที่นับเป็นนวัตกรรมใหม่ในโลก โดยทีมงานต้องพัฒนาเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตขึ้นใหม่ทั้งหมด
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2549)
ชลณัฐ ญาณารณพ เบอร์ 5 ที่กำลังจะเป็น 1
การแต่งตั้งรองผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจหลักของเครือซิเมนต์ไทยพร้อมกัน 5 คน เมื่อกลางปีก่อน ชลณัฐ ญาณารณพ เป็นคนที่มีอายุน้อยที่สุด เขาจะมีอายุครบ 46 ปี ในเดือนธันวาคมนี้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548)
กลุ่มนี้ไม่มี "นายช่าง"
นอกจากปิโตรเคมีจะเป็นธุรกิจใหม่ที่เครือซิเมนต์ไทยเพิ่งเข้าไปจับได้เพียง 20 ปีเศษแล้ว บุคลากรของกลุ่มนี้ถือว่าเป็นคนรุ่นใหม่ มีวัฒนธรรมและบุคลิกที่แตกต่างไปจากคนปูนซิเมนต์ไทยในอดีต
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548)
Petrochemical Edge
การที่พลาสติกกลายเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่เข้ามาใกล้ชิดชีวิตประจำวันของคนทุกๆ คน ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า หากจะมองการพัฒนาเครือซิเมนต์ไทยนับจากนี้ไปต้องโฟกัสที่กลุ่มปิโตรเคมีเป็นหลัก
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548)
ธุรกิจปิโตรเคมี YOUNG CULTURE
"เราสร้าง Culture ใหม่ คุณเดินมาตึกปิโตรเคมีจะไม่เหมือนสำนักงานใหญ่ คนละ Culture เด็กที่นี่ทำงานลุยกัน เพราะเราเป็น Young Culture เด็กที่นี่อายุเฉลี่ย 25-26 ปี" อภิพร ภาษวัธน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทเคมีภํณฑ์ซิเมนต์ไทย เปิดฉากอรรถาธิบายกับ "ผู้จัดการ" ถึงบุคลิกของธุรกิจปิโตรเคมีของเครือซิเมนต์ไทย อย่างไม่เกรงใจใคร ด้วยความภาคภูมิและบุคลิกความมั่นใจตัวเองสูง
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2542)