"L & H เดินเกมการเงินล้ำลึก"
แลนด์แอนด์เฮ้าส์ยอมประกาศขาดทุนในครึ่งปีแรกถึง 1,800 ล้านบาท ด้วยเหตุผลทางการเงินที่น่าสนใจ
เป็นเกมการเงินที่ล้ำลึกจนค่ายอื่นเดินตามไม่ทัน ฐานเดิมของบริษัทที่แข็งแกร่งทำให้อนันต์
อัศวโภคิน สามารถยืนหยัดและนำพาบริษัทฟันฝ่าไปได้อีกครั้ง ในขณะที่ภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น
ผู้ประกอบการต่างเจอกับปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงจนมองไม่เห็นทางออก และหลายรายกำลังเริ่มนับถอยหลัง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540)
"ต่อไป…สัญญาคงได้เป็นสัญญา จริงๆ"
ในช่วงที่ค่าเงินบาทลอยตัว กระหน่ำซ้ำด้วยการปิด 58 ไฟแนนซ์ โครงการที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ก็ยิ่งอาการหนักลงไปอีก
เรื่องการเปิดโครงการใหม่ไม่ต้องพูดถึง แม้แต่โครงการเก่า ๆ ก็ขายกันแบบเงียบๆ
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
ศึกโฆษณาบ้านปี 40 ต้องเร่งหากลยุทธ์ใหม่
การกระตุ้นยอดขาย โดยใช้วิธีการอัดโฆษณา จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของโครงการทั้งหลายมองว่า
เป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อระบายสินค้าคงค้างออกไปให้ได้มากที่สุด
ตัวเลขยอดโฆษณาทางด้านที่อยู่อาศัยจากสื่อต่าง ๆ ที่ฝ่ายวิจัยของบริษัทมีเดียโฟกัสทำไว้
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2540)
การบริการหลังการขาย สูตรความสำเร็จที่แท้จริงของแลนด์แอนด์เฮ้าส์
สิ้นสุดไตรมาส 2 ของปี 2539 บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด ( มหาชน ) ก็ยังเป็นผู้นำทางด้านการทำรายได้
และสร้างยอดขายในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยมีรายได้รวม 2,692 ล้านบาท
กำไรสุทธิประมาณ 608 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2538 ไม่มากนัก
และในสถานการณ์อย่างนี้การทำตัวเลขกำไรให้สูงเท่าปีที่แล้วซึ่งมีกำไรสุทธิถึง
2,000 ล้านนับเป็นเรื่องยาก
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539)
"อัศวโภคินของแท้ต้องสร้างบ้าน ปลูกตึกขาย"
"ใครที่ทำให้ผมสลัดภาพของแลนด์ แอนด์เฮ้าส์ออกไปได้ ผมมีรางวัลให้"
อนุพงษ์ อัศวโภคิน น้องชายคนสุดท้องของอนันต์ อัศวโภคิน แห่งบริษัทแลนด์
แอนด์ เฮ้าส์ เปรยออกมาดัง ๆ เพราะการแยกตัวออกมาทำธุรกิจพัฒนาที่ดินด้วยตัวเองของเขานั้น
คนส่วนมากยังคิดและยึดติดว่าแลนด์แอนด์เฮ้าส์เข้ามามีส่วนด้วย ทำให้เขาอึดอัดพอสมควร
ทั้ง ๆ ที่ได้พยายามชี้แจงไปหลายครั้งแล้วก็ตาม
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2537)
"แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จะใหญ่ไปอีกนานแค่ไหน ?"
ฝันร้ายของนักพัฒนาที่ดินเคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2526 จากมาตรการจำกัดสินเชื่อ
18% และลดค่าเงินบาท มันได้สร้างความเจ็บปวดให้เกิดขึ้นกับนักธุรกิจถ้วนหน้าจนกระทั่งปี
2530-2533 เศรษฐกิจของเมืองไทยได้ฟูเฟื่องขึ้นมาอีกครั้ง ธุรกิจการก่อสร้างที่อยู่อาศัยบูมสุดขีดในห้วงเวลานั้น
แต่เป็นยุคทองที่กอบโกยกำไรได้สั้นเหลือเกิน หลังเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย
ปี 2534 เศรษฐกิจภายในประเทศไทยถดถอยลงอย่างต่อเนื่องนักธุรกิจหลายรายที่ตั้งรับไม่ทันต้องเจ็บปวดซ้ำสอง
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2536)
"คนเราไม่ได้เก่งไปทุกอย่าง" ยุทธศาสตร์พันธมิตรธุรกิจ
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ในปีที่ 10 ของการก่อตั้ง ไม่ใช่เป็นบริษัทสร้างและขายบ้านพร้อมที่ดินเพียงอย่างเดียวแล้ว
หากแต่เป็นกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ครบวงจร ตั้งแต่โครงการที่อยู่อาศัยในรูปของบ้านเดี่ยว
ทาวเฮ้าส์ คอนโดมิเนียม โครงการอาคารสำนักงาน เซอร์วิส อพาร์เม้นท์และรับสร้างบ้าน
ซึ่งดำเนินการในนามของบริษัทควลลิตี้ เฮ้าส์และสยามพาณิชย์พัฒนาอุตสาหกรรม
โครงการศูนย์การค้าดิโอลด์ สยามพลาซ่า และแฟชั่นไอส์แลนด์
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2536)
"ดิโอลด์สยาม พลาซ่า บทพิสูจน์ฝีมือสยามพาณิชย์ฯ"
ดิโอลด์สยาม พลาซ่า ศูนย์การค้าล่าสุดของกรุงเทพมหานครเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่
30 เมษายนที่ผ่านมา แต่ภารกิจของบริษัทสยามพาณิชย์พัฒนาอุตสาหกรรม เจ้าของโครงการยังไม่เสร็จสิ้น
แม้ว่าจะสามารถขายพื้นที่จำนวน 300 กว่ายูนิตไปได้หมดแล้วก็ตาม
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2536)
เพียงใจหาญพาณิชย์ พญาหงส์ เสียบปีก
ผู้หญิงคนนี้แต่งงานแล้วมีลูกแล้ว 4 คน สามียังไม่ตายและยังไม่ต้องรบกวนเจ้าหน้าที่เป็นสักขีพยายในใบหย่า
ปีนี้เธอมีอายุครอบ 63 ปี และไม่ว่าตัวเลขอายุจะเพิ่มมากขึ้นไปอีกสักเท่าใด
เธอก็ยังคงรักษาสถานภาพความเป็น "นางสาว" ที่มีสามีแล้วไปได้อีกตลอดกาลยิ่งกว่าเกลือรักษาความเค็ม!!!
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2531)
LAND AND HOUSE IN AMERICA รอหน่อยนะ!ลิลลี่ วี.ลี
บริษัทลิลลี พร็อพเพอตี้ แมนเนจเมนท์ จำกัด และบริษัทลิลลี่ เอนเตอร์ไพรส์
จำกัด เป็นตัวจักรสำคัญของการดูดเงินจากเมืองหลวงประเทศต่างๆ ในเอเชีย ไปร่วมลงทุนในโครงการต่างๆ
ตามย่านไชน่าทาวน์ ลิตเติล โตเกียว มอนเตอรี่ ปาร์ค และเขตใจกลางนครลอสแองเจลีส
สหรัฐอเมริกา
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2531)