CEO มืออาชีพคนแรก
4 ทศวรรษของเกียรตินาคิน บริหารงานผ่านตระกูลวัธนเวคินมาตลอด โดยมี “สุพล วัธนเวคิน” นั่งตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด ทว่า ปีนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหลังจากตัดสินใจแต่งตั้ง “ธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล” ในฐานะคนนอก นั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนแรก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2554)
ปีหน้าโตศูนย์เปอร์เซ็นต์
ธนาคารเกียรตินาคินในฐานะธนาคารขนาดเล็กคาดหวังไว้ว่าในปีหน้าธุรกิจของธนาคารคาดจะไม่มีตัวเลขเติบโตหรือโตศูนย์เปอร์เซ็นต์ ภาวะวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงในระยะแรกต่อธนาคารไทยแต่ผลกระทบจะส่งผลทางอ้อมโดยเฉพาะลูกค้าของธนาคารที่ทำธุรกิจท่องเที่ยว ส่งออก และการเกษตร
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2551)
The Realistic Way
Universal Banking เป็นคำนิยามที่หลายๆ แบงก์ให้ความหมายไว้ว่า การให้บริการการเงินแบบครบวงจร มีบริการทุกประเภทให้กับทุกคน ทว่า ความหมายดังกล่าวในมุมความคิดของ "สุพล วัธนเวคิน" ธนาคารเกียรตินาคิน กลับให้คำนิยามนี้ว่า มีผลิตภัณฑ์ทุกประเภท แต่ให้บริการได้เฉพาะบางคน
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2551)
สุพล วัธนเวคิน The Owner
"ผมได้รับคำถามตั้งแต่วันแรกที่ทำงานจนถึงทุกวันนี้ คุณจะอยู่รอดได้อย่างไร แม้คนแบงก์ชาติก็ยังถามผมเลยว่า คุณรอดมาได้อย่างไร ผมบอก ก็เดินไปเฉยๆ เรื่อยๆ เหมือนพนักงานก็จะเดินมาถาม เราจะรอดมั้ย ผมบอกว่าถ้าทั้งวันเราคุยกันแต่คำนี้ ไม่รอดแน่ ฉะนั้นกลับไปทำงานเถอะ ทำดีมันก็รอด ทำไม่ดีมันก็ไม่รอด"
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2551)
"เกียรตินาคิน" กับคำตอบสุดท้ายของสถาบันการเงิน
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เข้ามามีส่วนสำคัญอย่างหลากหลายอยู่ในชีวิตประจำวันของคนทุกคนทุกวันนี้กำลังทำให้หลายคนสับสนแยกไม่ออกว่าผู้ให้บริการ หรือสถาบันการเงินแต่ละแห่ง มีจุดเด่น จุดแข็ง ที่แตกต่างกันอย่างไร นอกจากสีที่แต่ละแห่งนำออกมาใช้ ที่ไม่เหมือนกัน
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2550)
ปรับนโยบายระดมเงินฝาก
ด้วยข้อจำกัดในการทำธุรกิจของธนาคารเกียรตินาคิน (KK) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดเล็กที่มุ่งเน้นการให้บริการในพื้นที่ตลาดที่มีความถนัดเพียงไม่กี่อย่าง เช่น การให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ทั้งมือ 1 และมือ 2 และสินเชื่อโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ประมูลซื้อมาจากองค์การปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) การกำหนดกลยุทธ์เน้นระดมเงินฝากระยะยาว ที่สอดคล้องกับอายุการปล่อยสินเชื่อถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2549)
KK เน้นกลยุทธ์บริหารต้นทุน
เกียรตินาคิน ธนาคารน้องใหม่ที่เปิดดำเนินธุรกิจเป็นรายที่ 2 รองจากธนาคารทิสโก้ ได้เปิดแถลงผลดำเนินงาน รอบปี 2548 เพื่อสะท้อนกลยุทธ์อันสำคัญของการทำธุรกิจ ฐานะผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาด
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2549)
ธนาคารเกียรตินาคิน Niche Player
หลังจากที่ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจมาตั้งแต่ครั้งราชาเงินทุน จนถึงครั้งล่าสุดในปี 2540 ซึ่งเกือบทำให้ชื่อของเกียรตินาคินถูกลบออกจากสารบบสถาบันการเงินของไทย เกียรตินาคินในบทบาทธนาคารพาณิชย์รายใหม่ของประเทศ กำลังเผชิญกับโอกาสและความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์องค์กรแห่งนี้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548)
Niche Bank
หลังจากได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา บง.เกียรตินาคินกำลังเร่งพัฒนาระบบและปรับปรุงสำนักงานที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในฐานะธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ได้โดยเร็ว
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548)