แบรนด์ใหม่ของพฤกษา
ความท้าทายของพฤกษา เรียลเอสเตท ในอีก 6 ปีข้างหน้าเพื่อสร้างรายได้ให้ได้ 1 แสนล้านบาท จากปัจจุบันมี 2 หมื่นล้านบาท ทำให้องค์กรแห่งนี้เร่งปรับตัวอย่างมาก โดยเฉพาะเปิดแบรนด์ใหม่ๆ เพื่อขยายตลาด
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2554)
ลดต้นทุนด้วย Economy of Scale & Speed
ความแข็งแกร่งที่เด่นที่สุดของพฤกษา เรียลเอสเตท ไม่ได้อยู่ที่แบบบ้านโดดเด่นเตะตาหรือลูกเล่นการตลาดหวือหวาโดนใจผู้บริโภค แต่กลับเป็นเรื่องพื้นฐานง่ายๆ ที่คนอื่นทำตามได้ยาก นั่นคือ ต้นทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทองมาให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ จนถึงกับกำหนดไว้เป็นนโยบายข้อหนึ่งของพฤกษาฯ ที่จะเป็นผู้นำในด้านต้นทุน หรือ Cost Leadership
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2550)
ยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์ "คนที่ทำคอนโดฯ เป็น ผมว่ามีอยู่ไม่เยอะ"
พฤกษา เรียลเอสเตท แถลงข่าวเปิดตัวโครงการไอวี่ รัชดา คอนโดมิเนียมใจกลางเมืองโครงการแรกของพฤกษาฯ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา ภายในงานวันนั้นนอกจากจะมีทีมผู้บริหารของพฤกษาฯ เองแล้ว ยังมีการแนะนำตัว วรรณา ชัยสุพัฒนากุล ผู้ดูแลหน่วยธุรกิจคอนโดมิเนียมของพฤกษาฯ รวมทั้งยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อควาเรียส เอสเตท จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2550)
Dream the (im)Possible Dream
พฤกษาเรียลเอสเตทสร้างความฮือฮาตั้งแต่ต้นปีเมื่อแถลงแผนดำเนินงานขยายตัวครั้งใหญ่ ตั้งเป้าจะขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยภายในปี 2553 บริษัทแห่งนี้มีดีอะไรถึงกล้าประกาศ "สู่ฝันอันยิ่งใหญ่" เช่นนี้
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2550)
ปีทองของพฤกษา
ชายวัยกลางคนพูดน้อยที่ชื่อ ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ เริ่มเป็นที่รู้จักของนักลงทุนมากขึ้นเมื่อนำหุ้นบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท ที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางข้อกังขาถึงอนาคตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภาวะที่ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น จนส่งผลกระทบทั้งต้นทุนวัสดุก่อสร้างและกำลังซื้อของผู้บริโภค
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2549)
ไม่อยากอ้วน
แม้เรื่องของ Business Process Management หรือ BPM จะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับโลกธุรกิจ แต่สำหรับเมืองไทยแล้ว มีเพียงองค์กรขนาดใหญ่ๆ ระดับประเทศเท่านั้นที่สามารถลงเงินไปกับการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานของตนเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคตได้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548)
Developer for real demand
บุคลิกของทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เป็นคนพูดน้อย แต่สิ่งหนึ่งที่เขามักกล่าวถึงด้วยความภาคภูมิใจอยู่เสมอก็คือจุดเด่นของพฤกษาฯ ในการควบคุมต้นทุนที่ทำให้ทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยวของพฤกษาฯ มีราคาต่ำกว่าผู้ประกอบการรายอื่น 10-20% ซึ่งเป็นจุดแข็งของบริษัทมาตั้งแต่ต้น
(นิตยสารผู้จัดการ 5 กรกฎาคม 2548)
พฤกษา Process Improvement
ในการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำนวนนับหมื่นยูนิตต่อปีนั้น การประสานงานระหว่างหน้างานหรือไซต์งานก่อสร้างกับสำนักงาน จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีความรวดเร็วถูกต้อง และไม่ซ้าซ้อน งานจึงจะเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2547)
Success Story ของผู้อยู่รอด
บริษัทแอล.พี.เอ็น., วังทอง กรุ๊ป, บริษัทปริญสิริ และบริษัทพฤกษา เรียลเอสเตท เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ระดับกลางๆ ที่ต่างผ่านประสบการณ์อันเจ็บปวดจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 บทเรียนและการต่อสู้ในช่วงเวลานั้นได้กลายเป็นบทเรียนและประวัติศาสตร์
ของบริษัทที่น่าจดจำ ก่อนจะตกผลึกกลายเป็นวิธีคิดใหม่ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในวงการธุรกิจบ้านจัดสรร
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2547)
ถึงเวลาของ พฤกษา เรียลเอสเตท
ตลอดระยะเวลา 11 ปี พฤกษา เรียลเอสเตท ใช้จุดแข็งในเรื่องของเทคโนโลยีทางด้านการผลิต การบริหารการจัดการ เป็นฐานสำคัญสำหรับกระบวนการลดต้นทุน เพื่อไปสู่บทสรุปในการแข่งขันทางด้านราคา
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2547)