Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article Photo

industry
company
a - e
f - l
m - r
s - z
ก - ง
จ - ฌ
ญ - ฑ
ฒ - ถ
ท - ป
ผ - ภ
ม - ว
ศ - ฮ
0 - 9

people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ25  
Positioning1  
ผู้จัดการรายวัน22  
PR News2  
Web Sites2  
Total 52  

Listed Company
Manager Lists
 
Company > องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย-TOT


นิตยสารผู้จัดการ (11 - 20 of 25 items)
"เลขหมาย 4 หลัก ศึกย่อย ๆ ที่ทศท." สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับบริการออดิโอเท็กซ์ คือเลขหมาย 4 หลัก เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำของลูกค้า หากใครได้เลขหมาย 7 หลักมาให้บริการ คงต้องเสียเปรียบคู่แข่งแน่ เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ก็เหมือนกับธุรกิจวิทยุติดตามตัวที่เคยต้องแย่งชิงหมายเลข 3 หลัก และ 4 หลักกันมาแล้วในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2538)
หมดยุคทหารครองคมนาคม ถนนทุกสายมุ่งสู่การเมือง บริการสื่อสารโทรคมนาคมของไทย จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีหน่วยงานรัฐภายใต้สังกัด 3 แห่ง คือ กรมไปรษณีย์โทรเลข องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ทำหน้าที่ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมประเภทต่างๆ แก่ประชาชน รวมทั้งออกใบอนุญาตให้กับเอกชนเข้ามาลงทุนขยายบริการในลักษณะของสัมปทานในบางโครงการ(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2538)
"ธุรกิจโทรคมนาคมการเคลื่อนย้ายอำนาจจากรัฐสู่เอกชน" ภายใต้กระแสของความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจทั้งภายใน และภายนอกประเทศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ละสังคมปรับเปลี่ยนเป็นสังคมที่ต้องการบริการเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ทำลายพรมแดนเก่า ๆ ลงทั่วทั้งโลก หรือที่เรียกกันว่าเป็นยุคแห่งโลกานุวัตร โดยเฉพาะด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในเทคโนโลยี(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2537)
"สัมปทานสมุดโทรศัพท์เดิมพัน 9,000ล้านบาท" ตลาดสมุดโทรศัพท์มูลค่า 9,000 ล้านบาทจากฐาน 12 ล้านเลขหมาย นับว่าเป็นเดิมพันยิ่งใหญ่ที่ชักชวนให้เอกชนหลายสิบรายต้องกระโจนลงสนามนี้ โดยมีล็อกซเล่ย์ และชินวัตรฯ เป็นคู่แข่งหลักที่สมน้ำ สมเนื้อกันมากที่สุด(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2536)
"อนาคตโทรศัพท์เคลื่อนที่อีก 5 ปีข้างหน้ายังไปได้ดี" "หลังมีโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายแล้ว อนาคตอีก 5 ปีข้างหน้าของโทรศัพท์ระบบเซลลูลาร์ก็ยังไปได้อีก เพราะโทรศัพท์ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ"(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)
"รัฐควรลดการผูกขาดในธุรกิจโทรคมนาคมลงและ ถ้าจะเปิดเสรีควรมีระบบ" ธุรกิจด้านโทรคมนาคมเป็นธุรกิจที่ผูกขาดโดยรัฐบาลมาโดยตลอด การที่มีการกล่าวถึงความเป็นไปได้ในการปล่อยเสรีให้เอกชนรายใดก็ได้ เข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ มีสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงนั่นก็คือผลประโยชน์ของรัฐ นั่นย่อมหมายถึงผลประโยชน์ของประชาชนที่อาจสูญเสีย ไปด้วยในกรณีนี้(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2534)
หากินกับราชการต้องรอบคอบ ประเด็นเรื่องเงินประกันหนี้สิน 9,000 ล้านบาท เป็นเรื่องที่สามารถอธิบายได้ในหลายแง่มุม และหาจะจับโยงใยเข้าสู่ปัญหาทางหลักการก็ยังสามารถทำได้ด้วย(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2534)
ยกแรกสงครามตลาดเพจจิ้งเซอร์วิส สัมปทานให้บริการโฟนลิ้งทั่วประเทศขององค์การโทรศัพท์ได้เริ่มขึ้นแล้ว บริษัท ดิจิตอล เพจจิ้ง เซอร์วิส (ดีพีเอส) ของทักษิณ ชินวัตร เป็นบริษัทแรกที่ให้ผลประโยชน์แก่องค์การโทรศัพท์ 1,302.4 ล้านบาท ตลอดสัญญา 15 ปี ประกันลูกค้าขั้นต่ำ 63,000 ราย(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2533)
ทศท. งัดข้อ กสท. ทั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ต่างก็เป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมด้วยกันทั้งคู่ จึงมีปัญหาระหองระแหงในเรื่องการแบ่งแยกงานกันอยู่เสมอ(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532)
ขายโทรศัพท์ แบบด่วนๆ เร็วกว่า ทศท.ครึ่งปี กิตติศัพท์และความเชื่อที่ว่า การขอโทรศัพท์ไปติดที่บ้านสักเลขหมาหนึ่งเป็นเรื่องยากแสนยาก ต้องตั้งหน้าตั้งหน้าคอยเป็นปีๆ ยังเป็นความเชื่อที่ยังติดตรึงอยู่ในใจคนทั่วไป และก็มากพอที่ "นายหน้า" รับดำเนินเรื่องขอหมายเลขโทรศัพท์จะยึดเป็นอาชีพอย่างเป็นล่ำเป็นสัน(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2532)

Page: 1 | 2 | 3





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us