ใช้โทรศัพท์ทางไกลหรือต่อเน็ตไม่ต้องแพง
เมื่อครั้งที่ได้รับมอบหมายให้ติดตั้ง โครงข่าย IP network ดร.นพรัตน์ เมธาวี
กุลชัย Senior Director IP network office องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
(ทศท.) ก็ไม่มั่นใจว่าบริการที่ว่านี้จะประสบผล สำเร็จเพียงใด
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2545)
โทรมือถือ 1900 เรื่องวุ่นๆ ขององค์การโทรศัพท์
ในที่สุด องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ก็มีกำหนดเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือ
ใช้คลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ในวันที่ 27 มีนาคม 2545 แต่ดูเหมือนว่าเรื่องวุ่นๆ
ก็ยังไม่จบลงง่ายๆ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2545)
จากตู้โทรศัพท์สาธารณะถึงฟรีอินเตอร์เน็ต
สุรศักดิ์ ชินวงศ์วัฒนา เจ้าของกิจการฟรีไอเน็ต ซึ่งได้สัมปทานไอเอสพีจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.) คือเอกชนรายสำคัญในแวดวงธุรกิจสื่อสาร ที่มีความสัมพันธ์กับทศท.ยาวนาน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2543)
แปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ปรึกษากินเรียบ
เกือบ 5 ปีเต็มกับเส้นทางการแปรรูปขององค์การโทรศัพท์ฯ และการสื่อสารฯ สองรัฐวิสาหกิจชั้นนำของไทย
ผลประโยชน์มหาศาลปลิวสะพัด แค่ช่วงปูพื้น เงินก้อนใหญ่สะพัดเข้ากระเป๋าบรรดาที่ปรึกษาไปแล้วไม่ต่ำกว่า
800 ล้านบาท ยังมีงานชิ้นหลักๆ ทั้งขายหุ้นให้พันธมิตรร่วมทุน และเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
ที่ต้องควักเงินจ้างที่ปรึกษาอีกหลายระลอก ศึกการแย่งชิงกันเป็นที่ปรึกษา
งานนี้วัดกันด้วย คอนเนกชั่น อย่างเดียว
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2541)
แปลงสัมปทานเดิมพันครั้งนี้เล่นไม่ยาก
การแปลงสัมปทานเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดของการแปรรูป เพราะต้องเดิมพันกันด้วยผลประโยชน์ก้อนมหึมา
งานนี้อาจทำให้ทุนสื่อสารหลายรายรอดตาย แต่ ทศท.และ กสท.อาจเหลือแต่ตัว เกมนี้จึงลึกลับและซับซ้อนขึ้นทุกทีๆ
อยู่ที่ว่าใครจะถือไพ่ได้เหนือกว่าและแยบยลกว่ากันเท่านั้น!
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2541)
"กสท.-ทศท.-ไอเอสพี ถึงเวลาแก้ไขปัญหาร่วมกัน"
การบูมขึ้นของอินเตอร์เน็ต ทำให้กลุ่มธุรกิจมองดูด้วยอาการของคนตื่นทอง แต่การสื่อสารแห่งประเทศไทย
(กสท.) มีสิทธิ์ขาดเพียงผู้เดียวสำหรับบริการอันน่าตื่นตาตื่นใจนี้ ทั้งสองฝ่ายแสวงหาทางออกด้วยการร่วมทุน
อย่างไรก็ดี การผูกขาดอำนาจการจัดสรรผู้ให้บริการอินเตอร์เนตของ กสท. ก่อปัญหาในการขยายตลาด
และประชาคมดิจิตอลเริ่มกดดัน กสท.ให้ถอยไปอยู่ในจุดที่เหมาะสมกว่าเดิม
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
แก้สัญญา 12 ข้อออกฤทธิ์ เอไอเอสเปิดศึกโทรศัพท์ไร้สาย
แม้ว่าการเดินสู้เส้นทางการเมืองเพื่อปกป้องธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมในมือของ
ดร.ทักษิณ ชินวัตรดูจะไร้ผล เพราะตลอดช่วงอายุของรัฐบาลชุดที่แล้ว กลุ่มชินวัตรต้องเป็นฝ่ายนั่งมองดูเทเลคอมเอเชีย
คอร์ปอเรชั่น หรือ ทีเอกอบโกยสัมปทานสื่อสารมาไว้ในมือเป็นจำนวนมากอย่างไม่สามารถทำอะไรได้
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
ไทม์มิเตอริ่ง อย่าพูดนาน...ของมันแพง
"ไทม์มิเตอริ่ง" กลับมาเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมธุรกิจไทยอีกครั้ง
เมื่อองค์การโทรศัพท์ปัดฝุ่นกลับมาเสนอกระทรวงคมนาคมยุค "พรรคความหวังใหม่"
สนับสนุน แน่นอนย่อมมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผลประโยชน์จะตกกับทีเอจริงหรือ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2539)